• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Beer625

#6872


โฆษกรัฐบาล เผย ครม.ปรับโครงการเยียวยา ม.33 เพิ่มกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น 17,050 ล้านบาท ครอบคลุม 29 จังหวัดแดงเข้ม อนุมัติวงเงิน 33,471 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตน ม.39 และ ม.40 ในพื้นที่ 29 จังหวัดสีแดงเข้ม

วันนี้ (10 ส.ค.) นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงรายละเอียดสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้

(1) เปลี่ยนชื่อโครงการ เป็น โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จากเดิม โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง

(2) ขยายพื้นที่ดำเนินการจาก 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด โดยเพิ่มเติม 16 จังหวัด (กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง)

(3) กรอบวงเงินโครงการ จากเดิม 15,027.6860 ล้านบาท เป็น 17,050.4145 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2,022.7285 ล้านบาท
(4) ขยายระยะเวลาให้นายจ้างในพื้นที่ 3 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 28) และ 16 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 30) สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ได้ โดยสำนักงานประกันสังคมจะตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 นี้

นายอนุชา ยังเปิดเผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้เห็นชอบกรอบวงเงิน 33,471.0050 ล้านบาท เยียวยาผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในพื้นที่ 29 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดฯ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด โดยช่วยเหลือค่าครองชีพคนละ 5,000 บาท รวมทั้งสิ้น 6,694,201 คน โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้

1. พื้นที่ดำเนินการ 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ระยอง ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี ตาก อ่างทอง นครนายก สมุทรสงคราม และสิงห์บุรี

2. กลุ่มเป้าหมายรวมประมาณ 6,694,201 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จำนวน 1,436,171 คน และมาตรา 40 จำนวน 5,258,030 คน

3. คุณสมบัติของกลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่มีสัญชาติไทย สถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะ A (Active) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 13 จังหวัด) หรือ ณ วันที่ 3 สิงหาคม 2564 (พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 16 จังหวัด) กรณีเป็นผู้สมัครเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในฐานทะเบียนประกันสังคมที่มีสถานะรอชำระเงิน W (Wait) ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต้องไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ต้องไม่เป็นข้าราชการหรือผู้รับบำนาญของกรมบัญชีกลาง

4. วิธีการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 จะโอนเงินให้กับผู้ประกันตนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ (PromptPay) เฉพาะที่ผูกบัญชีกับเลขประจำตัวประชาชน

โฆษกรัฐบาลยังกล่าวเพิ่มเติมว่า ครม.ยังให้กระทรวงแรงงาน เร่งตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือตามเป้าหมายเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน รวมทั้งขอให้โอนเงินให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนตาม ม.39 และ ม.40 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดใน 10 จังหวัด ก่อนระยะเวลาที่กำหนด ภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่อยู่ในพื้นที่ที่มีสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงและได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนดฯ ก่อนพื้นที่อื่นๆ อีกทั้งกำหนดให้ผู้ที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 เพิ่มเติมในพื้นที่ 10 จังหวัด ต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2564 และในพื้นที่ 19 จังหวัดต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนและจ่ายเงินสมทบงวดแรกภายในวันที่ 24 สิงหาคม 2564

นอกจากนี้ ได้ให้กระทรวงแรงงานจัดทำข้อเสนอขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ 13 จังหวัดเพิ่มเติม อีกจำนวน 1 เดือน ซึ่งจะช่วยให้การให้ความช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
#6876


ความเคลื่อนไหว "ตลาดหุ้นไทย" วันนี้ (9 ส.ค.) ปิดตลาดดัชนี SET INDEX อยู่ที่ 1,540.19 จุด เพิ่มขึ้น 18.47 จุด หรือ 1.21% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 69,879.20 ล้านบาท ระหว่างวันเคลื่อนไหว "สูงสุด" แตะระดับ 1,543.71 จุด และต่ำสุด 1,525.29 จุด โดยเป็นการปรับขึ้นต่อเนื่องตลอดทั้งวัน

นายณัฐพล คำถาเครือ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) หยวนต้า (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ปรับขึ้นจาก แรงซื้อกลุ่มหุ้นเปิดเมือง (Reopening Play) นำโดยขนส่ง AOT บวก 4.48% ธนาคาร KBANK 3.83% และ SCB 2.90% จากความคาดหวังของนักลงทุนภายหลังตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศปรับลดลงเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี ไม่แนะนำลงทุนกลุ่ม Reopening ในระยะกลาง-ยาว โดยแนะนำซื้อขายทำกำไร (เทรดดิ้ง) เท่านั้น เพราะยังมีความเสี่ยงจากจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศที่ยังสูง รวมถึงยังต้องติดตามจำนวนผู้รักษาหายและจำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนในระยะต่อจากนี้ ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ปี 2564 คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้ราคาหุ้นผันผวน

"มุมมองตลาดสัปดาห์นี้ เราคาดดัชนีแกว่งตัวที่แนวรับ 1,500-1,520 จุด และแนวต้าน 1,550-1,567 จุด โดยการลงทุนแนะนำกลุ่มที่มีความทนทาน-ปลอดภัย (Defensive Play) ได้แก่ สื่อสาร ADVANC โรงไฟฟ้า BCPG รวมถึงหุ้นงบดี INOX และ UV"
#6878


"ยูเอซี โกล." อวดครึ่งปีแรก EBITDA รวม 219.88 ล้านบาท นับเป็น 62.82% ของแผนปี 64 และกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 133.85 ล้านบาท ชี้ธุรกิจเทรดดิ้งฟื้นตัว และบุ๊กกำไรเงินปันผลบริษัทร่วมทุน BBF อีก 119.92 ล้านบาท ผู้บริหารเดินหน้าลงทุนธุรกิจพลังงานทั้งโรงไฟฟ้าชุมชน และโรงไฟฟ้าขยะใน สปป.ลาว ควบคู่กับการให้บริการ Consulting Service และเร่งพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ 

นายชัชพล ประสพโชค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเอซี โกล. จำกัด (มหาชน) หรือ UAC เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนแรกของปี 2564 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ว่า บริษัทฯ มีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 133.85 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.93% เมื่อเทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรส่วนที่เป็นของบริษัท 131.32 ล้านบาท โดย Gross Margin อยู่ที่ระดับ 18.61% ขณะที่ EBITDA งวด 6 เดือนแรกปี 2564 อยู่ที่ 219.88 ล้านบาท คิดเป็น 62.82% จากเป้าหมายปี 2564 ที่ 350 ล้านบาท

สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายและการให้บริการ จำนวน 374.92 ล้านบาท โดยกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 68.34 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.56% มากกว่างวดเดียวกันของปีที่แล้ว โดยรักษาความคงที่ของ Gross Margin ไว้ได้ใกล้เคียงกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วที่ 18.23% ทั้งนี้ เป็นผลจากการฟื้นตัวของธุรกิจเทรดดิ้ง ตามภาพรวมเศรษฐกิจในช่วงต้นปีที่ยังคงเป็นปัจจัยเชิงบวก ส่งผลให้มีการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้นจาก Backlog ของธุรกิจเทรดดิ้งที่มีเข้ามาในช่วงครึ่งปีแรกกว่า 250 ล้านบาท และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกราว 230 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีหลังนี้

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังรับรู้ส่วนแบ่งกำไรสุทธิ และการเงินปันผลปันผลงวดครึ่งปีหลัง 2563 จากบริษัทร่วมทุน บจ.บางจากไบโอฟูเอล (BBF) จำนวน 119.92 ล้านบาท ซึ่งได้ประโยชน์จากการส่งเสริมการใช้ไบโอดีเซลของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง ทำให้การจำหน่ายและราคาขายเฉลี่ยปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการใช้นำมันดีเซลในภาคการขนส่งภาคการเกษตร ประกอบกับความสามารถในการบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบในช่วงที่ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับสูงขึ้น

นอกจากนี้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ UAC ยังได้กล่าวถึงภาพรวมธุรกิจครึ่งปีหลัง 2564 ว่า บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าสร้างโอกาสทางธุรกิจ โดยการนำ Business model ใหม่ เช่น การทำ Consulting Service พร้อมทั้งพยายามรักษาการให้บริการและฐานะลูกค้าให้ดีอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งพิจารณาการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ภายใต้นโยบายการลงทุนด้าน Energy Efficiency และ Bio Circular Economy ทั้งในประเทศ และกลุ่มประเทศ CLMV

ส่วนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนของบริษัทฯ ขณะนี้ได้ผ่านคุณสมบัติและข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านเทคนิคของการไฟฟ้าภูมิภาคแล้ว จำนวน 2 โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมราว 6 เมกะวัตต์ และยังรอการพิจารณาอีก 4 โครงการ ประมาณ 12 เมกะวัตต์ หลังจากที่บริษัทฯ ได้ยื่นอุทธรณ์ไปก่อนนี้ ซึ่งคาดว่าจะทราบผลชัดเจนภายในเดือนกันยายนนี้

สำหรับแผนความคืบหน้าโครงการจัดการขยะ เพื่อผลิตพลังงานทดแทนและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ที่นครเวียงจันทน์ สปป.ลาว นั้น การลงทุนในเฟสแรกในโครงการบริหารจัดการขยะได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้วกว่า 98% ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จได้ตามแผนที่วางไว้ในปี 2564 นี้ และหลังจากนั้นบริษัทฯ จะเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงไฟฟ้าขยะ ขนาด 6 เมกะวัตต์ในเฟสที่ 2 เป็นลำดับต่อไป ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้บริษัทฯ เชื่อมั่นใจว่าจะรักษาระดับอัตราการเติบโตรายได้ในปีนี้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ขณะที่ EBITDA คาดว่าไม่ต่ำกว่า 20% ของรายได้อย่างแน่นอน
#6879


นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ ศัลยแพทย์หัวใจและผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์ครอบครัว โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 7 ส.ค.64 ระบุ จำเป็นต้องมีการวิจัยรักษาโควิด-19 ด้วยฟ้าทะลายโจรซ้ำด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น โดยว่า "เมื่อวานนี้ ทีมผู้วิจัย (ชาวไทย) ซึ่งได้ทำวิจัยแบบสุ่มตัวอย่างแบ่งกลุ่มเปรียบเทียบ (RCT) ที่สรุปผลได้ว่าฟ้าทะลายโจรใช้รักษาโควิด19แล้วมีผลดีลดการเกิดปอดอักเสบได้ ได้ขอถอนนิพนธ์ต้นฉบับของตนเองที่รอตีพิมพ์กลับคืนจากคลังวารสารรอตีพิมพ์ (medRxiv) ด้วยเหตุผลว่ามีความผิดพลาดในการคำนวณค่านัยสำคัญของความแตกต่าง (p-value) จึงของดการเผยแพร่ไว้ก่อนเพื่อป้องกันการนำผลวิจัยไปใช้ด้วยสำคัญผิด

เจาะลึกลงไปอีกหน่อยก็คือในงานวิจัยนั้นรายงานว่า กลุ่มผู้ใช้ฟ้าทะลายโจร 29 คน เป็นปอดอักเสบ 0 คน กลุ่มที่ใช้ยาหลอก 28 เป็นปอดอักเสบ 3 คน คำนวณนัยสำคัญของความแตกต่างได้ p=<0.039 ซึ่งเป็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ (ตัดกันที่ p=<0.05)

แต่หากคำนวณอย่างถูกต้องแท้จริงแล้วค่านัยสำคัญจริงๆคือ p=0.1 แปลไทยให้เป็นไทยก็คือจะต้องเปลี่ยนคำสรุปผลวิจัยเป็น "การใช้ฟ้าทะลายโจรลดปอดบวมได้ไม่แตกต่างจากใช้ยาหลอก"

ระหว่างที่งานวิจัยใหม่นี้ยังไม่ออกมา ชาวไทยเราก็ต้องอาศัยข้อสรุปใหม่ล่าสุดที่ว่า "ฟ้าทะลายโจรลดปอดบวมในคนไข้โควิด-19ได้ไม่แตกต่างจากยาหลอก" ไปพลางๆ ก่อนนะครับ และที่หมอสันต์เคยบอกว่าหลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทลายโจรรักษาโควิดตอนนี้พอแล้วนั้น ก็ต้องถอนคำพูด และขอใช้คำพูดใหม่ว่า

"หลักฐานวิทยาศาสตร์สนับสนุนการใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิดตอนนี้ยังมีไม่พอ ต้องรอการวิจัยซ้ำด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น"
#6882


นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า  ได้เรียกประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 5/2564 เป็นวาระพิเศษ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) โดยได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลิตผลการเกษตร ระดับจังหวัด (คพจ.) ซึ่งเป็นกลไกการทำงานระดับจังหวัดเข้าร่วมประชุมด้วย

 เพื่อร่วมกันประเมินสถานการณ์ปริมาณและราคาของมังคุดในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ รวมทั้งผลสำเร็จของมาตรการเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหามังคุดราคาตกต่ำที่ได้ดำเนินการไปแล้วของหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ การกระจายผลผลิตภายในประเทศผ่านช่องทางปกติ ช่องทาง e - Commerce และช่องทางอื่นๆ ซึ่งดำเนินการโดยกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมการค้าภายใน บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด เช่น การแลกเปลี่ยนมังคุดกับสินค้าข้าวของสถาบันเกษตรกรภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

โดยในเบื้องต้น พบว่าราคามังคุดเริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว รวมทั้งพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหามังคุดราคาตกต่ำ ปี 2564 แบบเร่งด่วนฉับพลัน โดยวิธีการแทรกแซงราคาตลาด และการสนับสนุนเงินค่าชดเชยดอกเบี้ย โดยกรมการค้าภายใน และการเคลื่อนย้ายผลผลิตอย่างเร่งด่วนในช่วงผลผลิตกระจุกตัว โดยกรมส่งเสริมการเกษตร นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มอบหมายกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ ศึกษาและวิเคราะห์แนวทางความเป็นไปได้ของ "การเยียวยาเกษตรกรชาวสวนมังคุด" ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ในโอกาสต่อไป

ด้าน นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า จากแผนการบริหารจัดการผลผลิตมังคุดในฤดูดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 155,614 ตัน (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 4 สิงหาคม 2564) พบว่า มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว จำนวน 72,643.73 ตัน คิดเป็นร้อยละ 46.68 ยังไม่ได้เก็บเกี่ยว จำนวน 82,970.27 ตัน คิดเป็นร้อยละ 53.32 ทั้งนี้ในเดือนสิงหาคมจะมีมังคุดออกกระจุกตัวในปริมาณมาก (Peak) จำนวนประมาณ 60,000 ตัน

 


ซึ่งที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบแนวทางการกระจายผลผลิตมังคุดช่วงกระจุกตัว (Peak) ที่กรมส่งเสริมการเกษตรเสนอ โดยได้กำหนดแนวทางการกระจายผลผลิตมังคุด 4 แนวทาง ได้แก่ 1. กลไกตลาดปกติ จำนวน 20,000 ตัน 2. การกระจายผลผลิต จำนวน 40,000 ตัน ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และภาคเอกชน โดยมอบหมายให้ คพจ. ต้นทาง 14 จังหวัด บริหารจัดการผลผลิตอย่างเร่งด่วนโดยมีพาณิชย์จังหวัดในฐานะเลขานุการ เป็น "แม่แรง" สำคัญที่จะประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานข้างต้น

ส่งเสริมให้มีการจัดการผลผลิตต่อเนื่อง เช่น การแปรรูปมังคุดเพื่อเพิ่มมูลค่า และ 4. จัดทำแคมเปญพิเศษ "ช่วยมังคุดใต้ เกษตรกรไทย Happy" "8.8 Sales" จะเริ่มดีเดย์จำหน่ายผลผลิตมังคุดแบบส่งให้ถึงบ้าน ตั้งแต่วันที่ 8 - 31 สิงหาคม 2564 โดยเปิดให้ผู้สนใจทั่วประเทศสามารถสั่งซื้อมังคุดล่วงหน้าในราคา 4 กิโล 100 บาท
สำหรับมังคุดคละเกรด คุณภาพดี สดอร่อย ภายใต้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เช่น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สมาคมขนส่งโลจิสติกส์ บริษัท Grab และภาคเอกชนอื่นๆ โดยจะมีการคิกออฟแคมเปญในวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม 2564 เวลา 08.08 น. ณ ห้างสรรพสินค้าในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร

                นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่า ตามที่นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ขยายโครงการ "เกษตรกรแฮปปี้" โดยจะจัดแคมเปญใหญ่ใน วันที่ 8 เดือน 8 (สิงหาคม) ผ่านระบบออนไลน์ โดยใช้สถานที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม9  เป็นจุดคิกออฟกระจายสินค้า ภายใต้มาตรการควบคุมโรคของ ศบค. เพื่อให้ทุกภาคส่วนทั่วประเทศสั่งซื้อมังคุดล่วงหน้าในราคา 4 โล 100 สำหรับมังคุดคละเกรดคุณภาพสดอร่อยภายใต้ความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เช่น บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด (ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์)  บริษัท ไปรษณีย์ไทย สมาคมขนส่งโลจิสติกส์ บริษัทแกร็บ ประเทศไทย ร้านธงฟ้า ฯลฯ

                โดยนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหัวหน้าทีมพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เฉพาะกิจ ที่มีคณะทำงานเป็นตัวแทนมาจากหลายภาคส่วน กล่าวว่า ขณะนี้มีความพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะรับออร์เดอร์มังคุดภายใต้แคมเปญดังกล่าว โดยจะใช้ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พระราม 9 และเซ็นทรัล เวสต์เกต เป็นจุด Drop off เพื่อกระจายสินค้า ขณะนี้เป็นที่น่ายินดีว่าหลังจากเริ่มเปิดรับพรีออร์เดอร์มาเป็นเวลา 2 วัน ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่สั่งซื้อกันเข้ามาในจำนวนเกิน 100 ตันแล้ว และจะเริ่มจัดส่งตรงถึงบ้านเริ่มตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป


                "ท่านรัฐมนตรีเฉลิมชัยย้ำว่า เราต้องดูแลชาวสวนทุกจังหวัดในภาคใต้พาฝ่าวิกฤตโควิดไปด้วยกัน แม้วันนี้จะมีสัญญาณที่ดีว่าราคามังคุดทั้งหน้าแผงและหน้าล้งปรับตัวสูงขึ้น แต่ยังมีความไม่แน่นอนของเสถียรภาพราคา จึงต้องมีมาตรการเสริมเพื่อช่วยกระตุ้นการบริโภค โดยเฉพาะกลุ่มผู้บริโภคในประเทศที่เป็นส่วนที่สำคัญในภาวะที่การส่งออกยังมีอุปสรรคจากสถานการณ์โควิด-19" นายอลงกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้คณะทำงานฟรุ้ทบอร์ดเฉพาะกิจมีผู้แทนมาจากหลายภาคส่วน ที่มาร่วมผนึกกำลังกันแก้ไขปัญหาราคามังคุด รวมถึงผลไม้อื่น ๆ เช่นลำไย เงาะ ลองกอง ทุเรียนที่กำประสบปัญหาล้นตลาดอาทิ นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ รับผิดชอบการขายแบบ B to G นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ ประธานคณะอนุกรรมการธุรกิจการเกษตร นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานอนุกรรมการ         อีคอมเมิร์ซ กระทรวงเกษตรฯ.รับผิดชอบการขายแบบ B to B รวมถึงการขายผ่านเครือข่ายสภาอุตสาหกรรม หอการค้า การขายตรงถึงผู้บริโภครวมถึงช่องทางอื่น ๆ ในขณะที่นางดรุณวรรณจะรับผิดชอบการขายและประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย โดยมีนายณฐกร สุวรรณธาดา และนายวิเชียร สุขพันธ์ คณะทำงานที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ รับผิดชอบแหล่งผลิตผลไม้และจุดกระจายผลไม้

"มังคุดภายใต้แคมเปญนี้เป็นมังคุดดี สดจากต้น อร่อย ส่งตรงจากสวนเมืองใต้ ที่ตั้งใจปลูกโดยชาวสวนแท้ ๆ รับประกันคุณภาพโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การซื้อมังคุดครั้งนี้รับทันทีสองต่อคือได้ทานมังคุดดี และยังมีส่วนช่วยสร้างรอยยิ้ม และส่งกำลังใจให้ชาวสวนมังคุดด้วย ภายใต้แนวคิด "คนกินยิ้มได้ เกษตรกรไทย Happy" สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ตามที่ได้แจ้งไว้ในช่วงต้น"

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้รัฐมนตรีเกษตรฯ ในฐานะประธาน Fruit Board ได้สั่งการล่วงหน้าให้ทุกส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ช่วยกันซื้อมังคุด เช่น กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำให้ช่วยระบายมังคุดออกจากแหล่งผลิตหลายร้อยตัน และขอให้ภาครัฐภาคเอกชนช่วยกันซื้อมังคุดให้มากที่สุด และนายเฉลิมชัยจะเป็นผู้นำในการคิกออฟแคมเปญด้วยตัวเอง