• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Beer625

#6856


ผู้ว่าฯ เพชรบูรณ์ เผย พยกลุ่มแรงงานต่างด้าว บ.สหฟาร์ม พบติดเชื้อโควิด เร่งควบคุมโรคในพื้นที่ควบเฉพาะแบบมีส่วนร่วม 'บับเบิล แอนด์ ซีล'

รายงานข่าวจากสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ ระบุว่า กรณีการตรวจพบแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ของ บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด (สหฟาร์ม) จ.เพชรบูรณ์ ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับการเปิดเผยจาก นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ระบุว่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ตรวจพบการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด–19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ของ บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด (สหฟาร์ม) ซึ่งพบผู้ติดเชื้อ จำนวน 2 ราย เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564

จากนั้น จังหวัดเพชรบูรณ์ จึงได้แจ้งสั่งการให้พนักงานควบคุมโรคอำเภอบึงสามพัน ร่วมกับบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด (สหฟาร์ม) ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาตามหลักการบริหารจัดการควบคุมโรคในพื้นที่ควบเฉพาะแบบมีส่วนร่วม (Bubble and Seal) และดำเนินการตามมาตรการจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้มีคำสั่งจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ 1649/2564 ให้ บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด (สหฟาร์ม) หยุดกระบวนการผลิตในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นเวลา 4 วัน ตั้งแต่วันที่ 23 – 26 กรกฎาคม 2564 เพื่อคัดกรองกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และดำเนินการดำเนินการบริหารจัดการควบคุมโรคในพื้นที่ควบเฉพาะแบบมีส่วนร่วม (Bubble and Seal)และระหว่างการดำเนินการควบคุมโรค พนักงานควบคุมโรคอำเภอบึงสามพัน ได้แจ้งให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดกับกลุ่มแรงงานดังกล่าวที่อยู่ในชุมชน หมู่บ้านแยกกักตัว เป็นเวลา 14 วัน และให้พนักงานควบคุมโรคในพื้นที่ได้เร่งดำเนินการสุ่มตรวจหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกเพิ่มเติม ด้วยวิธี antigen test kit ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ซึ่งมีจำนวนแรงงานทั้งหมด 7,500 ราย ได้ดำเนินการสุ่มตรวจไปแล้ว จำนวน 2,950 ราย พบผู้ติดเชื้อ (ผลบวก) จำนวน 1,068 ราย และอยู่ในระหว่างตรวจค้นหาเชิงรุกอีก 4,250 ราย ซึ่งจะเร่งดำเนินการตรวจค้นหาผู้ป่วยเชิงรุกให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 24 กรกฎาคม 2564 เพื่อคัดแยกกลุ่มผู้ติดเชื้อและไม่ติดเชื้อออกจากกัน หลังจากนั้นก็จะนำผู้ป่วยที่พบเชื้อเข้าแยกกักในโรงพยาบาลสนามที่จัดเตรียมไว้แล้ว 1,292 เตียง และได้วางแผนขยายจำนวนเตียงได้อีกประมาณ 2,000 เตียง และหากตรวจพบผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง

ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกลุ่มแรงงานต่างด้าวชาวพม่า ของ บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด (สหฟาร์ม) ได้รับการฉีดวัคซีน ครบ 2 เข็มไปแล้ว จำนวน 3,000 ราย และได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 ไปแล้ว 1,500 ราย และบริษัทได้กำหนดแผนการฉีดวัคซีนให้กับแรงงานต่างด้าวและพนักงานของบริษัทให้ครอบคลุม 100% ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2564

ด้านนายสมพงษ์ ทองหนูนุ้ย นายอำเภอบึงสามพัน ได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง งัดมาตรการเข้ม ตั้งด่านสกัด คัดกรอง และห้ามผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าพื้นที่โดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และการแพร่ระบาดเพิ่ม พร้อมเตรียมสั่งปิด 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 2 บ้านเขาเกตุ บ้านหนองปล้อง หมู่ 4 บ้านลำตะคล้อ และ หมู่ 15 บ้านลำตะคล้อใต้ ต.กันจุ อ.บึงสามพัน

ทั้งนี้ หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์และผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ได้ร่วมกันดำเนินการจัดตั้งจุดตรวจคัดกรองเข้มงวดในพื้นที่ควบคุมบริเวณชุมชนโดยรอบบริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด (สหฟาร์ม) จำนวน 7 จุดตรวจ เพื่อลดและจำกัดเคลื่อนย้ายการเดินทางเข้าออกพื้นที่อย่างเข้มงวดไม่ให้มีคนเข้าออกพื้นที่พื้นที่โดยรอบ บริษัท โกลเด้นไลน์ บิสซิเนส จํากัด (สหฟาร์ม) เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโควิด 19

ส่วนเรื่องไก่สดที่ส่งออกมาจำหน่ายนั้น จะมีการตรวจเชื้อจากทางสำนักงานสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัย
#6857


จากยอดผู้ป่วยรายใหม่ในกทม.และปริมณฑล พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เตียง ไอซียูในโรงพยาบาลต่างๆ ไม่เพียงพอรองรับผู้ป่วยได้ 'การนำผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับภูมิลำเนา' จึงเป็นอีกหนึ่งมาตรการของภาครัฐที่ได้ดำเนินการขึ้น เพื่อจัดส่ง ผู้ติดเชื้อโควิด 19 ในกลุ่มที่สามารถเดินทางได้ กลับไปดูแล รักษาใน 'ภูมิลำเนา' ของตนเอง 

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่าด้วยความเป็นห่วงจากรัฐบาล ได้มอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)วางแผนนำผู้ติดเชื้อโควิด 19 กลับภูมิลำเนาด้วยความปลอดภัย ไม่แพร่เชื้อระหว่างทาง เพราะหลายๆ ท่านอาจไม่มีรถส่วนตัว

การไปรถสาธารณะอาจจะไม่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดได้ จึงได้มอบหมายให้ช่วยสร้างระบบที่จะดูแลในเรื่องนี้ ภายใต้การประสานงานร่วมกันระหว่าง (สธ.) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กระทรวงคมนาคม  กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่นๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วทในการดูแลครั้งนี้

'ผู้ป่วยโควิด' เดินทางกลับ 'ภูมิลำเนา' แล้ว 3 หมื่นกว่าราย
จากประชากรในกทม.มีประมาณ 8 ล้านกว่าคน แบ่งเป็น ประชาชนกรที่มาจากภูมิภาคอื่นๆ ประมาณ 2.41 ล้านคน และกทม. 5.59 ล้านคน ซึ่งอัตราการย้ายถิ่นของประชากร สู่กทม. พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 43.6% ภาคกลาง 25.5% ภาคเหนือ 19.9% และภาคใต้ 5.4% ซึ่งจากอัตราการย้ายถิ่นส่วนใหญ่มาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้น กลุ่มนี้น่าจะเป็นกลุ่มที่มีการเดินทางกลับภูมิลำเนามากสุด

ข้อมูลผู้ลงทะเบียนขอเดินทาง กลับภูมิลำเนา เดือนก.ค.ผ่านระบบ ศบค. พบว่า มีทั้งหมด  504,241 ราย แบ่งเป็นวันที่ 19 ก.ค. จำนวน 63,512 ราย วันที่ 20 ก.ค.จำนวน 191,535 ราย วันที่ 21 ก.ค.จำนวน 150,410 ราย และวันที่ 22 ก.ค. จำนวน  98,784 ราย ซึ่งกลุ่มเหล่านี้ได้มีการออกเดินทางกลับภูมิลำเนาไปเองแล้ว และคาดว่าในจำนวนนี้จะมีผู้ติดเชื้อโควิด 19 ร่วมเดินทางไปด้วย ฉะนั้น นโยบายนี้เพื่อความปลอดภัยของทุกคน ให้เดินทางกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย และหากติดเชื้อจะได้รับการรักษาอย่างเร็ว


ทั้งนี้ การส่งผู้ป่วยโควิด กลับภูมิลำเนาช่วงการระบาดระลอกใหม่ มีจำนวน ผู้ป่วยโควิด เดินทางจาก กทม.และปริมณฑล ทั้งสิ้น  31,175 ราย เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว 70.37% ผู้ป่วยกลุ่มสีเหลือง 21.93% และผู้ป่วยกลุ่มสีแดง 7.7%

โดยวิธีการเดินทางกลับของผู้ป่วย จะเดินทางกลับด้วยตนเองและระบบขนส่งสาธารณะ มีการประสานผ่านศูนย์ร้องทุกข์ของหน่วยงานต่างๆ อาทิ ทบ.และมท. ประสานผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด/สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และประสานผ่านระบบ สปสช. สธ. และสพฉ.

สำหรับแนวทางการประสานงาน การส่งต่อ ผู้ป่วยโควิด กลับภูมิลำเนานั้น สามารถประสานได้ ดังนี้

-ประสานไปที่ สปสช. โทร 1330 กด 15  หรือผู้ป่วยติดต่อผ่านศูนย์ COVID -19 จังหวัด/รพ.ปลายทาง ซึ่งจะลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น

-หลังจากนั้น สปสช.จะส่งข้อมูลไปยังทางกระทรวงสาธารณสุข และสาธารณสุขจังหวัด ทำหน้าที่ประสานรับส่งตัว ไปยังจังหวัดปลายทาง

-โดยจะมีทาง สพฉ. ประสานว่าจะมีการเดินทางโดยใช้นำรถยนต์ รถไฟ หรือเครื่องบิน

-จะมีเจ้าหน้าที่บุคลากรทางการแพทย์ทำหน้าที่ประเมินอาการก่อนเดินทาง จัดรถรับส่งถึงปลายทาง และแจ้งข้อมูลกลับไปยังสปสช.

-หลังจากนั้นไปส่งยังจังหวัดปลายทาง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด และสาธารณสุขจังหวัดเป็นผู้ดูแล 


โดยการติดต่อประสาน คาดว่าไม่เกิน 3 วันก็จะเดินทางไปถึง ซึ่งระหว่างที่รอ ผู้ป่วยโควิด  ต้องปฎิบัติต้นตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เพราะเป็นผู้ติดเชื้อ ระวังตัวเอง ไม่นำไปสู่การแพร่ะรบาด แต่ถ้ามีอาการหนักขึ้นให้ประสานไปที่ 1330 หรือ 1668 ทันที 

ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า
ปัจจุบันในพื้นที่กทม.และปริมณฑลมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว จึงมีความจำเป็นที่ต้องเก็บเตียงให้ผู้ป่วยอาการหนัก กลุ่มผู้ป่วยสีเหลือง และสีแดง 

ดังนั้น ผู้ป่วยสีเขียวจะมีมาตรการต่างๆ เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์พักคอย Home Isolation หรือ Community Isolation  การส่งผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา เป้นทางเลือกอีกทางหนึ่ง ให้ผู้ป่วยได้กลับไปดูแลกับพื้นที่ปลายทาง

ปัจจุบัน ประชาชนจะสามารถเข้าทางเว็บไซต์ https://crmdci.nhso.go.th/ ของสปสช.หรือ สแกนQR code เพื่อลงทะเบียนเลือกจังหวัดปลายทาง และวันที่พร้อมเดินทาง  อีกทั้ง สามารถโทรสายด่วน 1330 กด 15 มีเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ และลงทะเบียนให้ ซึ่งอยากให้ทุกคนมั่นใจวิธีการที่ดำเนินการ เพราะเป็นระบบที่มีมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยแก่ทุกคน
#6860
นมอัดเม็ดไทยชอง milk tablet  ชอบหวานน้อย นมเน้นๆ มีแคลเซียม ต้องลอง นมอัดเม็ด milk tablet หลายเจ้าในตลาดมากมาย แต่ทำไมนมอัดเม็ดไทยชอง milk tabletแจ้งเกิดเป็นนมอัดเม็ดดาวรุ่งพุ่งแรง เพราะ ความนัวนม ย้ำว่านัวนมๆจริง และรสชาติหวานน้อย ที่เอาใจคนที่หันมาดูแลตัวเองมากขึ้น รสชาติไม่หวานเลี่ยน การันตีไม่หวานแหลมแสบคอ  นมก็นมแท้ๆแน่นๆ จากนิวซีแลนด์ มี 2 ขนาดให้เลือก 





1.นมอัดเม็ดไทยชอง  milk tablet ขนาด 20 กรัมเป็นรูปซองขวด 1 ซองมี 15 เม็ด ขายปลีกซอง 12 บาท ฮัลโล ไม่แพงน้า รสชาติต้องได้ลอง เลือกคุณภาพ ประโยชน์ และ อร่อยด้วย คุ้มค่า

 

2.นมอัดเม็ดไทยชอง milk tablet ขนาด 27 กรัม ซองสี่เหลี่ยม ตกซองละ 18 บาท 
จะซื้อแบบกล่อง หรือ ซื้อแบบซองก็ได้ แบบกล่องซื้อไปเป็นของขวัญของใกเก๋ไก๋ ดูดีมีราคา เพราะแพคเกจเค้าน่ารักเว่อร์ 
 


นมอัดเม็ด milk tabletเป็นขนมทีมีประโยชน์นะคะ ทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพราะนมอัดเม็ดไทยชอง milk tabletใช้นมแท้ๆ คุณภาพดีมาเป็นส่วนผสมหลักที่เข้มข้น ทำให้คนทานได้ แคลเซียมและวิตามินบี 2  ใครที่เน้นดูแลเรื่องกระดูกและฟัน และ ลดหวานเพื่อสุขภาพ แนะนำมากๆ กับนมอัดเม็ดไทยชอง milk tablet

สั่งซื้อ คลิกเลย >>> https://lin.ee/sSGXFCK 
 
#6863


ร้านอาหารเป็นธุรกิจประเภทหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 อย่างหนักหนาสาหัส แม้เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตมากเพียงใดก็ตาม

หากอยากทราบว่าครึ่งปีที่ผ่านมาธุรกิจร้านอาหารแบรนด์ใหญ่ๆ เป็นอย่างไรกันบ้าง เอาตัวรอดกันด้วยกระบวนท่าไหน เจ้าหนึ่งที่น่าพูดคุยก็คือ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ 'ไมเนอร์ ฟู้ด' ซึ่งประกอบธุรกิจร้านอาหารทั้งคาวและหวานที่คนไทยคุ้นเคยและผูกพันหลายแบรนด์ ทั้ง The Pizza Company, Sizzler, Burger King, Swensen's, Dairy Queen, Bonchon, The Coffee Club และ Benihana ซึ่งรวมๆ แล้วแบรนด์เหล่านี้มีร้านในเมืองไทยเกือบ 1,600 สาขา และในต่างประเทศอีกเกือบ 800 สาขา


ปี 2563 โควิด-19 เล่นงานชาวโลกตั้งแต่ต้นปีจนถึงสิ้นปี นับเป็นปีที่ยากลำบากมากๆ ปีหนึ่งของธุรกิจร้านอาหาร แต่ไมเนอร์ ฟู้ด เป็นบริษัทที่โดดเด่น และทำผลงานได้ดี สามารถทำกำไรสุทธิได้ 1,500 ล้านบาท

สำหรับปี 2564 นี้ สถานการณ์ยากขึ้น แต่ไมเนอร์ ฟู้ด ทำยอดขายในไตรมาสแรกได้ 5,123 ล้านบาท เป็นกำไรสุทธิ 160 ล้านบาท ดีขึ้นกว่าไตรมาส 1 ของปีที่แล้วที่ขาดทุน 97 ล้านบาท ส่วนไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นระลอกที่หนักที่สุดตั้งแต่เกิดการระบาดขึ้นในประเทศไทย ยังไม่ทราบว่าตัวเลขจะออกมาเป็นอย่างไร

ไทยรัฐออนไลน์ชวน ประพัฒน์ เสียงจันทร์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มาพูดคุย ถาม-ตอบ รีวิวครึ่งแรกของปี 2564 ว่ายากลำบากขนาดไหนสำหรับธุรกิจอาหาร ไมเนอร์ ฟู้ด สู้ด้วยอาวุธอะไร ผ่านมาในสภาพแบบไหน และชวนมองไปยังครึ่งปีที่เหลือว่าพอจะมองเห็นแสงสว่างหรือไม่ อย่างไร จะเดินต่อด้วยท่าทีและกลยุทธ์แบบไหน

ปี 2564 ครึ่งปีแรกของไมเนอร์ ฟู้ด เป็นอย่างไร
เป็นครึ่งปีที่เร็วที่สุดในชีวิต ผ่านไปครึ่งปีอย่างรวดเร็ว เพราะไม่มีเวลาหยุดคิดเลย เสร็จเรื่องนี้ต่อเรื่องนี้ เรื่องนี้จบต่อเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ ผลประกอบการครึ่งปีแรก ถือว่าเป็นผลประกอบการที่เซอร์ไพรส์มาก เพราะว่าเราไม่ได้แพลน และไม่ได้เตรียมงบประมาณไว้ว่าจะมีการระบาดระลอกที่ 3 เราจัดทำงบประมาณของปี 2564 โดยคิดว่าตั้งแต่เดือนกรกฎาคมไปถึงสิ้นปี 2564 ทุกอย่างควรจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ แต่มันไม่เป็นไปตามนั้น เนื่องจากเกิดการระบาดระลอกที่ 3 ทำให้ผลประกอบการชะงักไปนิดหนึ่ง บางแบรนด์ทำยอดขายไม่ได้ตามที่ตั้งใจไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบรนด์ที่อยู่ในพื้นที่ท่องเที่ยวคือ Burker King กับ The Coffee Club ยังไม่เปิดร้านประมาณ 30 กว่าสาขา

ใกล้จะหมดไตรมาสที่ 2 แล้ว พอจะเล่าได้ไหมว่าไตรมาสที่ 2 เป็นอย่างไร
ภาพรวมดีขึ้นพร้อมกับยังติดลบอยู่ เพราะว่าในเดือนเดียวกันของปีที่แล้วเคสการติดเชื้อต่ำแล้ว เรานั่งทานในร้านได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ในตอนนี้เรายังมีผู้ติดเชื้อวันละ 3,000 คน เรายังต้องมีการเว้นระยะห่างทางสังคม ความรู้สึกคนถ้าเห็นคนในร้านเยอะก็ยังไม่อยากเข้า กฎนั่งได้ 25 เปอร์เซ็นต์ยังไม่ถูกคลายล็อก บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภาพรวมยังไม่ดีขึ้นเท่าไร

ปีที่แล้วก็เจอโควิด-19 ไมเนอร์ ฟู้ด ทำอย่างไรให้ยังมีกำไร
ปีที่แล้วไมเนอร์ ฟู้ด น่าจะเป็นธุรกิจร้านอาหารบริษัทเดียวที่ perform ดี เพราะว่าเรามีช่องทางการจำหน่ายอาหารที่หลากหลาย เรามี 1.ไดน์อิน (Dine in) นั่งทานในร้าน 2.เดลิเวอรี่ (Delivery) บริการจัดส่ง ซึ่งเรามีแบรนด์ 1112 ของเราเอง และมีช่องทางของพาร์ตเนอร์ 3.เทกอะเวย์ (Take away) อาหารของไมเนอร์ ฟู้ด หลายหลายอย่างซื้อกลับไปกินที่บ้านได้ 4.ไดรฟ์ทรู (Drive through) ของ Burger King ช่องทางการจำหน่ายของเราไม่ได้ยึดติดกับตัวใดตัวหนึ่ง เมื่อมีปัญหานั่งกินในร้านไม่ได้ เราก็ไปขายอีก 3 ช่องทาง เราโชคดีที่วางช่องทางการจำหน่ายไว้หลากหลายและแข็งแกร่งทุกช่องทาง นั่นคือความต่างเมื่อเทียบกับแบรนด์อื่น ก็เลยทำให้ปีที่แล้วผลประกอบการออกมาดีกว่าสถานการณ์ที่เป็นอยู่



สถานการณ์ปีที่แล้วกับปีนี้มีความเหมือน และความต่างอย่างไร สามารถเอากลยุทธ์ที่ใช้ปีที่แล้วมาใช้กับปีนี้ได้ไหม มากน้อยอย่างไร
ใช้ได้ แต่ผลลัพธ์ไม่เท่าเดิม เรายังโฟกัสที่เดลิเวอรี่เหมือนเดิม แต่ปีที่แล้วเราให้โปรโมชั่นได้มาก ปีนี้เราก็ต้องผ่อนๆ ลง เพราะเราจะต้องดูแลเรื่องกำไรมากขึ้นด้วย การให้โปรโมชั่นมากเกินไปก็ไม่ได้แปลว่าดีเสมอไป เพราะทำให้ยอดขายโดยรวมไม่กลับมา

ตอบคำถามก็คือปีนี้กับปีที่แล้วทำคล้ายๆ กัน แต่ต้องหาวิธีการสื่อสารหลายช่องทางมากขึ้น ที่ว่าคล้ายๆ คือเราโฟกัสที่เดลิเวอรี่คล้ายๆ เดิม ปีนี้บริการ 1112 ของเราโตขึ้นมาก ปีที่แล้วเดือนพฤษภาคม 1112 ทำยอดขายได้ 59 ล้านบาท พฤษภาคมปีนี้ยอดขายเพิ่มเป็น 81 ล้านบาท เราโชคดีที่มี 1112 Delivery ของเราเอง แบรนด์อื่นๆ อาจจะต้องพึ่งพา Grab, foodpanda ซึ่งถ้าไปสัมภาษณ์เจ้าอื่นๆ ก็จะรู้ว่าขายดีไม่ได้แปลว่าได้กำไรดีนะ ถ้าพึ่งพาแพลตฟอร์มฟู้ดเดลิเวอรี่มากๆ เพราะค่าจีพีมโหฬาร นี่คือความต่างของเรา ซึ่งความต่างนี้ไม่ได้มาโดยบังเอิญ แต่มาจากการที่เราใส่โปรโมชั่นเข้าไปเยอะพอสมควร

เดลิเวอรี่คือความต่างที่สุดของเรา ปีนี้เราใช้ทรัพยากรไปที่เดลิเวอรี่เยอะขึ้น ความต่างเรื่องที่ 2 คือเรื่องการลงทุน เราตัดค่าใช้จ่ายทุกอย่างลง เรารู้ว่าการเปิดร้านไม่ได้แปลว่าจะมีคนเข้ามากเหมือนเมื่อก่อน ฉะนั้นการลดขนาดพื้นที่ร้านสัก 20 เปอร์เซ็นต์ ค่าใช้จ่ายในการสร้างร้านก็อาจจะลด 30 เปอร์เซ็นต์ นี่เป็นกลยุทธ์ที่จะผลักดันทุกแบรนด์ว่าจะต้องไม่ทำร้านใหญ่ๆ แล้ว ความต่างข้อที่ 3 คือบุคลากรหนึ่งคนจะต้องทำงานหลายงานมากขึ้น เราเพิ่มทักษะให้พนักงานสามารถดูแลงานได้มากขึ้น นี่คือความต่างที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาของไมเนอร์ ฟู้ด

เทียบสถานการณ์ปกติกับในช่วงโควิด-19 สัดส่วนช่องทางการขายเปลี่ยนเยอะไหม อย่างไรบ้าง
เปลี่ยนเยอะมากๆ ช่องทางเดลิเวอรี่เป็นฮีโร่ไปแล้ว แต่ถ้านั่งในร้านได้ไดน์อินก็จะกลับมาเป็นฮีโร่ ถ้าสถานการณ์ปกติยอดขายไดน์อินเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเดลิเวอรี่บวกเทกอะเวย์บวกไดรฟ์ทรูเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ แต่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ไดน์อินตกลงมาเหลือน้อยกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ฝั่งเดลิเวอรี่, เทกอะเวย์ และไดรฟ์ทรู ขึ้นมาเป็น 80 เปอร์เซ็นต์

สัดส่วนการพึ่งพาแพลตฟอร์มเดลิเวอรี่เจ้าอื่นกับ 1112 บริการเองเป็นอย่างไร
พาร์ตเนอร์เรายังมีอัตราส่วนยอดขายค่อนข้างสูง และเรามีหลายเจ้าที่เป็นพาร์ตเนอร์ที่ดีและน่ารักกับเราอยู่ สัดส่วนเป็น 1112 เองสัก 25-30 เปอร์เซ็นต์ ปีที่แล้วมี 5 เปอร์เซ็นต์เอง ตอนนี้หลายๆ แบรนด์ก็กำลังพยายามที่จะโต



ครึ่งปีหลังจะโฟกัสอะไร
เรารอการกลับมาของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากๆ ที่นายกฯ ประกาศว่าอีก 120 วันจะเปิดประเทศ เป็นข่าวดีมากๆ ไม่รู้ว่าจะจริงหรือไม่จริง แต่รู้สึกว่าเป็นวิชั่นที่ดี พอมีกำหนดคนก็เริ่มรู้สึกมีเป้าหมาย 120 วันจะเป็น game changer วิธีคิดของพวกเรา และอีกอย่างหนึ่งที่เรารอก็คือเราอยากให้พนักงานของเราได้ฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดครับ

ระหว่างมีกับไม่มีกำหนดเปิดประเทศ กลยุทธ์ที่เตรียมไว้ต่างกันอย่างไรบ้าง
ต่างกัน เพราะว่าตอนนี้เรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาแพ็กเกจจิ้งเพื่อจัดส่งเดลิเวอรี่ให้ได้ แต่ถ้าจะเปิดประเทศเราต้องไปดูเรื่องการพัฒนาโปรดักต์สำหรับคนต่างชาติ ร้าน 80 กว่าสาขาในสนามบินที่ปิดอยู่ในตอนนี้ก็จะกลับมาเปิด ซึ่งร้านในสนามบินมีโจทย์ที่ต่างจากร้านข้างนอก เพราะลูกค้าเร่งรีบ เมนูอาหารก็ต้องสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว

ในตอนที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะเปิดหรือไม่เปิด เราก็ต้องบาลานซ์ทั้ง 2 ทาง ถึงแม้จะยังไม่มีการคอนเฟิร์มว่าเปิดจริงหรือไม่จริง เราก็ต้องเตรียมไว้ตั้งแต่วันนี้ แต่ต้องเตรียมแบบระวัง ไม่ได้เตรียมแบบมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม เราคงไม่ลงทุนอะไรมากมาย

ครึ่งปีที่ผ่านมาแบรนด์ไหนทำยอดขายดี-เป็นฮีโร่
ก็ยังเป็นแบรนด์ใหญ่ของเรา The Pizza Company ส่วน Bonchon มีการขยายสาขาหลายสาขา และที่ดีในช่วงโควิด-19 ตลอดก็คือ Burger King เพราะมีช่องทางไดรฟ์ทรูที่แข็งแรง และมีเดลิเวอรี่ที่ค่อนข้างแข็งแรง ยอดขายไดน์อินที่หายไปก็เลยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขายรวมมากนัก

การขยายสาขาในช่วงโควิด-19 พิจารณาเลือกทำเลที่ตั้งอย่างไรว่าจะเข้าไปอยู่ตรงไหน
ถ้าในช่วงโควิด-19 ก็เป็นการมองระยะสั้น และคิดว่าการมองระยะสั้นนั้นอาจจะทำให้มันโตอย่างต่อเนื่องก็ได้ โดยที่เราดูว่าพื้นที่ตรงนั้นมีที่อยู่อาศัยหรือเปล่า ต้องดูว่าเดลิเวอรี่สามารถอยู่ตรงนี้ได้ด้วยหรือเปล่า ถ้าจะไปตั้งอยู่ใกล้ทะเล รอบๆ มีแต่นักท่องเที่ยว ไม่ได้เป็นย่านที่อยู่อาศัย ก็ต้องหยุดก่อนจนกว่านักท่องเที่ยวจะกลับมาปกติ

ทั้งภาพรวมตลาดธุรกิจอาหารครึ่งปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
ไม่รู้เลยว่าแบรนด์อื่น-บริษัทอื่นเป็นอย่างไร แต่เท่าที่คุยกับเพื่อนที่ทำธุรกิจอาหารไม่มีแบรนด์ไหนดี ช่วงระลอกที่ 3 หนักกว่ารอบที่ 1 กับ 2 เพราะมันกินเวลานาน เกือบ 3 เดือนแล้วที่ยอดขายของเราค่อนข้างหนัก แต่ต้องถือว่าเป็นความโชคดีของเราคือ ไมเนอร์ ฟู้ด มีธุรกิจในประเทศอื่น ในขณะที่ไมเนอร์ ฟู้ด ที่ไทยกำลังยากลำบาก ไมเนอร์ ฟู้ด ที่จีนกำลังทำยอดขายดีมาก โตขึ้นมาเป็น 3-4 เท่าจากเดิม เพราะตอนนี้จีนกลับมาปกติแล้ว ออสเตรเลียก็เกือบปกติแล้ว ยอดขายจากจีนและออสเตรเลียก็เลยมาช่วยไทย กลับกันกับเมื่อปีที่แล้วยอดขายในไทยช่วยยอดขายประเทศอื่นทั้งโลกเลย แต่อัตราส่วนยอดขายในไทยเป็น 60 เปอร์เซ็นต์ของไมเนอร์ ฟู้ด เพราะฉะนั้นเวลาเราแย่มันก็แย่หนัก


สามารถเรียนรู้จากต่างประเทศมาปรับใช้ได้ไหม มากน้อยแค่ไหน หรือว่าสถานการณ์ต่างกันมากจนไม่สามารถปรับใช้ได้
เรื่องโรคระบาดเราใช้ประเทศจีนเป็นต้นแบบ ช่วยให้เรารู้ว่าเฟส 1 ของการระบาดเป็นอย่างไร เฟส 2 ต้องเตรียมคนอย่างไร เฟส 3 ทำอย่างไร เราใช้โมเดลของจีนมาปรับใช้ แต่ตอนนี้ไม่ค่อยได้คุยกันว่าแต่ละประเทศควรจะทำตามกันหรือเปล่า เราบริหารค่อนข้างเอกเทศ ไม่ได้ใช้โมเดลเดียวกันมากมาย

สิ่งที่ยากที่สุดของไมเนอร์ ฟู้ด ในสถานการณ์โควิด-19 คือการไม่มีนักท่องเที่ยว หรืออะไร
การไม่มีนักท่องเที่ยวไม่เท่าไร เรื่องแรกคือเราอยากได้ความมั่นใจว่าเราจะได้รับวัคซีนครบเมื่อไหร่ ถึงแม้ต่างชาติยังไม่เข้ามา แต่เราจบในประเทศเราให้ได้ก่อน พอเรื่องนี้ผ่านไปแล้วจะเปิดประเทศให้ต่างชาติกลับเข้ามา ก็เป็นสัญญาณที่น่าจะสดใส

คาดหวังว่าการเปิดประเทศตามที่นายกฯ บอกจะส่งผลต่อผลประกอบการปีนี้มากแค่ไหน
อีก 120 วันก็เกือบหมดปีพอดี คิดว่าคงเป็นไปตามเป้า แต่อาจจะไม่ได้บรรลุสิ่งที่เป็นเป้าหมายหลัก เพราะถ้าจะบรรลุเป้าหมายหลักคือเราควรจะเปิดประเทศตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 เป็นต้นไป แต่ท่านนายกฯบอกว่าอีก 4 เดือน ถ้านับไปก็เปิดประเทศเดือนพฤศจิกายน ปีนี้เราก็จะได้ยอดขาย 2 เดือน แต่ความสดใสที่เห็นชัดเจนก็คือปีหน้า

ตั้งเป้ารายได้และกำไรปีนี้ไว้เท่าไร
กำไรก็ยังมั่นใจว่าส่งได้ตามที่ตั้งเอาไว้แน่นอน เป็นตัวเลขที่เราคอมมิทกับบอร์ดบริหารไว้แล้วว่าจะส่งเท่าไรก็คงจะต้องส่งเท่านั้น ส่วนยอดขายอาจจะยากนิดหนึ่ง ก็ต้องมาลดค่าใช้จ่าย ต้องเข้มงวดมากขึ้น ที่อยากได้ที่สุดก็คือเรื่องการลดค่าเช่า เพราะว่าเป็นค่าใช้จ่ายหลักอันหนึ่งของเรา ซึ่งเราก็เจรจาตลอด ยอมรับว่าแลนด์ลอร์ดก็น่ารักกับไมเนอร์ ฟู้ด ช่วยเหลือกันดีมาตั้งแต่รอบแรก ต้องขอบคุณทุกท่าน ถ้าได้มากกว่านี้ก็จะขอบคุณมาก

พอช่องทางการขายหลักอยู่ที่เดลิเวอรี่ปรับเปลี่ยนการมองและนิยาม 'คู่แข่ง' ไหม มองว่าแข่งกับร้านเล็กในชุมชนด้วยหรือเปล่า หรือยังมองแค่เชนใหญ่ด้วยกัน
ไม่ เราอาจจะมีคู่แข่งที่เป็นร้านดังๆ ที่มีอยู่แค่สาขาเดียวหรือ 2 สาขาก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเชนใหญ่เหมือนกัน ไม่ใช่ว่า Bonchon จะแข่งแต่กับไก่เกาหลีเหมือนกัน เราอาจจะแข่งกับไก่ทอดหาดใหญ่คิวยาวๆ ก็ได้ วิธีการมองคู่แข่งก็เปลี่ยนไปหมด Sizzler มีสลัด แต่เดี๋ยวนี้สลัดก็เต็มไปหมด อย่าง Salad Factory และ Jones Salad หรืออย่าง โอ้กะจู๋ นั่นก็คือคู่แข่งรายใหม่ ซึ่งเขามีอยู่ไม่กี่สาขา แต่เราถือว่าเป็นคู่แข่งหมด


แต่แบรนด์ใหญ่น่าจะยังได้เปรียบในแง่ที่มีสาขาเยอะ ครอบคลุมหลายพื้นที่ และมีกำลังในการทำโปรโมชั่น
แต่ความเสี่ยงก็เยอะ ถ้าสถานการณ์ไม่ดีปุ๊บมันก็หนัก เพราะว่าต้นทุนเยอะ แต่พอฟื้นตัวกลับมา มันก็อาจจะเป็นแบรนด์ที่โตขึ้นมาเร็วที่สุดด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากสาขามันกระจายตัว

เทียบกันระหว่างปีที่แล้วกับปีนี้ ปีนี้ยากกว่าและความเปลี่ยนแปลงเยอะกว่าใช่ไหม
ปีนี้ยากกว่าเยอะ แต่ว่าเราก็มีต้นแบบมาจากปีที่แล้ว ปีที่แล้วเราคิดอะไรไม่ออกเลยว่าโควิด-19 คืออะไร จะฉีดวัคซีนเมื่อไหร่ ฉีดแล้วจะเกิดอะไรขึ้นไหม แต่ตอนนี้ทุกอย่างคลี่คลายไปทีละเปลาะๆ ตอนนั้นมืดไปหมด แต่ตอนนี้เราคิดว่าอีก 120 วันก็จบแล้ว

จะนิยามครึ่งปีที่ผ่านมาอย่างไร บรรยากาศมืดมัวประมาณไหน
ตั้งแต่มกราคมก็สะลึมสะลือมา เพราะมีการระบาดอีกระลอกตั้งแต่ปลายปี 2563 แต่มามืดสนิทก็คือตอนเดือนเมษายน ตอนนี้ ณ วันที่ 18 มิถุนายน รู้สึกว่าเริ่มสว่างขึ้น และจากข่าวที่เปิดให้นั่งทานในร้านได้มากขึ้น และขยายเวลาเปิดร้านมากขึ้นก็เป็นข่าวที่ทำให้ทุกอย่างผ่อนคลายขึ้น ก็มีความหวังครับ

ภาพโดย ชุติมน เมืองสุวรรณ
#6864


ช่วงกักตัวอยู่ที่บ้าน รอให้โควิดหายไป ธุรกิจบันเทิงเกี่ยวกับโรงหนัง ได้รับผลกระทบเต็มๆ โดยมีธุรกิจสตรีมมิง Streaming จากหลายค่ายใหญ่ เป็นอีกแหล่งบันเทิงเข้ามาแทนที่ได้พักใหญ่แล้ว กับการดูหนังเด็ดซีรีส์ดังต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เก็บเงินรายเดือน ตามแต่โปรโมชันล่อใจในแต่ละเดือน ลดแลกแจกแถมสุดๆ ได้ดูหนังซีรีส์แบบจุใจ ดูตาแตกคาบ้านไปเลย

วิเคราะห์จากหลายอย่างแล้ว ครึ่งปีหลังอีก 6 เดือน โควิดที่ไทยน่าจะยังไม่จบในเร็วๆ วันนี้ มีคำถามคาใจน่าคิด จริงหรือไม่ ถ้า 6 เดือนต่อจากนี้โควิดยังไม่ดีขึ้น โรงหนังยังฟื้น สตรีมมิง Streaming จะเข้ามาแทนที่โรงหนัง เพราะพฤติกรรมการดูหนังของคนเปลี่ยนไปกับโควิด ไทยรัฐรีเฟรช Thairath Refresh จะพาไปค้นหาคำตอบชัดๆ 

SF เปิดใจโควิดกระทบหนัก ยิ่งกว่าสงครามโลก 
มีโรงหนังเยอะมากๆ ทั่วไทย ต้องไปคุยกับผู้บริหารหมื่นล้าน สุวัฒน์ ทองร่มโพธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสเอฟ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) SF Corporation Public Company Limited ให้สัมภาษณ์พิเศษกับ ไทยรัฐรีเฟรช Thairath Refresh

ธุรกิจโรงภาพยนตร์ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ครั้งนี้ มากน้อยแค่ไหน? "โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงภาพยนตร์โดยตรง อย่างหนักหน่วงและรุนแรงมากที่สุด ในประวัติศาสตร์ธุรกิจโรงภาพยนตร์ เราไม่เคยเห็นโรงภาพยนตร์ทั่วโลก ปิดให้บริการมาก่อน

"ในช่วงสงครามโลกโรงภาพยนตร์ก็ยังเปิดให้บริการได้ แต่วิกฤติโควิด-19 ที่เป็นวิกฤติโลกครั้งนี้ โรงภาพยนตร์ก็เหมือนกับหลายธุรกิจ ที่ต้องขาดรายได้จากการหยุดให้บริการ แต่ในขณะเดียวกัน เรายังคงต้องแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงดูแลพนักงานกว่า 3,000 คน ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

"ช่วงที่สถานการณ์ในต่างประเทศมีความรุนแรง โดยเฉพาะประเทศหลักที่เป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี คอนเทนต์ก็ได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องเลื่อนฉาย แต่สำหรับสถานการณ์ปัจจุบัน ต่างประเทศดีขึ้นแล้ว โรงภาพยนตร์กลับมาเปิดให้บริการ ทำให้เรามีคอนเทนต์ที่พร้อมเข้าฉาย แต่โรงภาพยนตร์ในไทย ยังคงถูกสั่งปิด ต้องรอสถานการณ์ภายในประเทศให้ดีขึ้น จนกว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการ ให้ธุรกิจโรงภาพยนตร์กลับมาเปิดให้บริการได้"


ตอนนี้คนยังกลัวๆ การเข้าโรงหนัง ถึงแม้ว่าจะไม่มีคลัสเตอร์ที่โรงหนังชัดเจน จะปั่นกระแสให้คนกลับมาดูหนังได้ยังไงบ้าง?

"คงต้องเป็นเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่น ว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้ามั่นใจ นับตั้งแต่มีวิกฤติโควิด-19 เอสเอฟ SF ได้เตรียมความพร้อม ในการดูแลพนักงานและลูกค้าทุกคนอย่างดีที่สุด

โดยเฉพาะมาตรการดูแลด้วยใจ ที่ให้ความสำคัญกับความสะอาด ลดการสัมผัส และการจัดผังที่นั่งเว้นระยะห่างอย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะมาเดี่ยวหรือมาคู่ เพราะสำหรับเอสเอฟ SF แล้ว นอกจากเราต้องดูแลความสุขของลูกค้า ความปลอดภัยคือสิ่งสำคัญที่สุด

"จากตัวเลขของผู้ใช้บริการที่เอสเอฟ SF ในช่วงการแพร่ระบาดลดลง เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่า ถ้าเรามีภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ มีคอนเทนต์ดีๆ เข้ามาฉาย มีความพร้อมในการให้บริการ คนก็พร้อมกลับเข้าโรงภาพยนตร์ อย่างปรากฏการณ์วันเดอร์วูเมน Wonder Woman 1984, อีเรียมซิ่ง ในปลายปีที่ผ่านมา และก็อดซิลลา Godzilla VS Kong ในเดือนมีนาคม

และอีกเหตุผลที่ธุรกิจโรงภาพยนตร์ อยากให้ทุกคนมั่นใจ ยังไม่มีคลัสเตอร์ที่เกิดจากโรงภาพยนตร์เลย ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่โรงภาพยนตร์ทั่วโลกก็ไม่เคยเกิดคลัสเตอร์เลย  

"ในส่วนสถานการณ์ของประเทศอื่นๆ ที่โรงภาพยนตร์สามารถกลับมาเปิดให้บริการเป็นปกติได้ ตัวเลขคนเข้าโรงภาพยนตร์ เริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นการยืนยันว่าคนยังต้องการใช้ชีวิตตามปกติ และคนยังคิดถึงโรงภาพยนตร์"

หนังเด็ดดังระดับโลก จ่อรอคิวฉาย
หลังโควิดสงบ จะมีแผนเด็ด ดึงคนดูให้เข้าโรงหนังอย่างไรบ้าง? "ชัดเจนเลยครับ หนังหรือคอนเทนต์ที่จะเข้าฉาย เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ของการดึงดูดให้คนกลับมา เร็วๆ นี้จะมีหนังฟอร์มใหญ่หลายเรื่องรอเข้าฉาย โดยเฉพาะหนังที่น่าจะทำรายได้สูงสุดของปี 2021 อย่างฟาสต์แอนด์ฟิวเรียส Fast & Furious 9 ภาพยนตร์แฟรนไชส์ที่ทำรายได้สูงสุดมาตลอด หรือแฟนมาร์เวล Marvel ก็ต้องรอชมแบล็กวิโดว์ Black Widow, Eternals

มีหนังอีกหลายแนว เช่น Conjuring The Devil Made Me do it, The Suicide Squad, Shang-Chi and the Legend of the Ten Rings, Venom : Let There Be Carnage, Spider-Man: No Way Home, No Time To Die, The Matrix 4, The King's Man ฯลฯ รวมไปถึงหนังไทย ค่าย GDH เช่น บุพเพสันนิวาส 2 เป็นต้นครับ




"อีกส่วนที่ขาดไม่ได้ก็คือ โรงภาพยนตร์ในช่วงโควิด ที่ผ่านมาเรามีการพัฒนาโรงภาพยนตร์ เพื่อให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่หลากหลายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเดอะเบดซีเนมา The Bed Cinema รวมไปถึงกิจกรรมดูหนังในรูปแบบพิเศษ ไดรฟ์อินซีเนมา Drive-in Cinema และมูฟวี่บรันช์ Movie Brunch ในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และลูกค้าอยากให้จัดกิจกรรมพิเศษลักษณะนี้อีก

"สุดท้ายเรามีเตรียมแคมเปญพิเศษ เพื่อต้อนรับทุกคน คัมแบ็กทูซีเนมา "Comeback to Cinema" โปรโมชันและกิจกรรมการตลาดจำนวนมากจากเอสเอฟ SF และพาร์ทเนอร์ของเรา ที่จะมอบให้กับลูกค้า ส่วนรายละเอียดจะเป็นอะไรบ้าง ให้รอติดตามกันนะครับ"

โรงหนังไม่มีวันตาย สตรีมมิงไร้ Cinematic Experience
สตรีมมิงค่ายต่างๆ ตอนนี้กล้าทุ่มจ้างผู้กำกับเก่งๆ ดาราดังๆ มาทำคอนเทนต์ฉายเฉพาะ ซึ่งก็ดึงคนดูได้ดีเลย มองการเติบโตตรงนี้ ที่จะมาแย่งคนดูในโรงหนังได้มากน้อยแค่ไหน ผู้เชี่ยวชาญด้านหนังหลายคนทำนายว่าโรงหนังจะค่อยๆ ตายไปภายใน 5 ปีหลังจากนี้
จริงหรือไม่?

"ผมมองว่า เป็นคำทำนายที่ไม่เป็นความจริง ไม่มีการนำข้อมูลในอดีตมาวิเคราะห์ โดยเฉพาะโรงภาพยนตร์ในเมืองไทย ได้ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหนักกว่านี้เยอะมาก

"หนักสุดน่าจะเป็นยุคเทปผีซีดีเถื่อน ซึ่งคนโหลดมาดูฟรีกันที่บ้าน ก็มีมานานแล้ว แต่โรงภาพยนตร์เป็นเอาต์ออฟโฮม Out of Home ที่ให้ประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป หรือพูดง่ายๆว่า มันเป็นคนละแพลตฟอร์ม Platform หรือจะเรียกว่าบิซิเนสโมเดล Business Model ที่แตกต่างกัน

"สตรีมมิงดูไม่ดูก็ต้องจ่าย โรงภาพยนตร์อยากดูก็ค่อยจ่าย และที่สำคัญโรงภาพยนตร์ยังเป็นเฟิร์สวินโดว์ First Window ในการเข้าฉายของหนังอยู่

เราเชื่อว่าสตูดิโอหรือผู้สร้างรายใหญ่ ยังคงให้ความสำคัญ กับการฉายในโรงภาพยนตร์เป็นลำดับแรก โดยเฉพาะกับหนังฟอร์มยักษ์ ต้องอาศัยระบบภาพและเสียง ที่ช่วยให้คอนเทนต์สมบูรณ์แบบกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆ

เช่น ถ้าคุณดูฟาสต์แอนด์ฟิวเรียส Fast & Furious 9 ดูในโรงภาพยนตร์กับดูผ่านมือถือ คุณภาพไม่เหมือนกันแน่ๆ เพราะซีเนมาติกเอ็กซ์พรีเรนซ์ Cinematic Experience หรือประสบการณ์การชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ เป็นสิ่งที่สตรีมมิงให้ไม่ได้!

"ยกเว้นเหตุสุดวิสัย ที่ทำให้ไม่สามารถฉายในโรงภาพยนตร์ได้จริงๆ เช่น สถานการณ์ในตอนนี้ หรือเป็นหนังฟอร์มกลางไปถึงเล็ก ที่ไม่ได้เน้นรายละเอียด หรือองค์ประกอบของเทคนิคต่างๆ ในขณะเดียวกัน โรงภาพยนตร์เองยังมีการนำคอนเทนต์ใหม่ๆ ที่ไม่ได้จำกัดเพียงแค่หนังมาฉายในโรงภาพยนตร์

"ปีที่ผ่านมาเรามีการจัดคอนเสิร์ต ฉายคอนเสิร์ต ฉายสเปเชียลคอนเทนต์ Special Content ไปจนถึงจัดงานแฟนมีตติ้ง Fan Meeting ศิลปิน ทั้งหมดนี้คือการยืนยันว่า โรงภาพยนตร์เป็นสถานที่สำหรับคอนเทนต์ได้ทุกรูปแบบ


"สตรีมมิงไม่ใช่สิ่งใหม่ ถ้ามองให้ดี สตรีมมิงก็เป็นอีกช่องทางของการดูที่บ้าน เหมือนที่ดูฟรีทีวี จุดแข็งของเขาคือทีวีซีรีส์ ในขณะเดียวกันจุดแข็งของโรงภาพยนตร์ คือภาพยนตร์

สตรีมมิงไม่ได้ถือเป็นคู่แข่งของโรงภาพยนตร์ ส่วนตัวมองว่า สตรีมมิงกำลังแข่งขันกันเองมากกว่า"

เร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ เปิดประเทศ
ฝากถึงหน่วยงานรัฐ ที่จะเข้ามาช่วยเหลือดูแล ธุรกิจบันเทิงโรงหนังหน่อย ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง? "โรงภาพยนตร์เป็นธุรกิจกลุ่มแรกๆ ที่ถูกสั่งปิด และก็เป็นกลุ่มท้ายๆ ที่ได้รับอนุญาตให้กลับมาเปิดเสมอ ทางสมาคมโรงภาพยนตร์ได้ยื่นจดหมาย ไปยังกระทรวงวัฒนธรรม เพื่อสอบถามถึงแนวทางในการช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูธุรกิจ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

"ผมเชื่อว่าตอนนี้ ทุกคน ทุกธุรกิจ มีเป้าหมายเดียวกัน คืออยากให้สถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย เราได้เห็นสัญญาณที่ดี จากการที่รัฐบาลออกมาประกาศ เรื่องการเตรียมเปิดประเทศภายใน 120 วัน ซึ่งจุดชี้วัดคือ การฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรได้มากที่สุด เพื่อเร่งสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ทำให้เศรษฐกิจและสังคม กลับมาขับเคลื่อนได้อีกครั้ง

"หลังจากนี้ อยากฝากไปทางหน่วยงานของภาครัฐฯ ควรมีมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้ธุรกิจยังคงเดินหน้าต่อไป เพื่อขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ ให้เดินไปข้างหน้า

"สุดท้ายนี้ ผมขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านผ่านพ้นวิกฤติครั้งนี้ไปได้ และเมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่สภาวะปกติ พวกเราชาว เอสเอฟ SF พร้อมที่จะต้อนรับทุกท่านสู่โรงภาพยนตร์อีกครั้ง"  


เมเจอร์เจ้าใหญ่รวยเละ แต่รายได้หายเยอะช่วงโควิด
ด้านผู้บริหารใหญ่ ของเครือโรงหนังเมเจอร์ Major วิชา พูลวรลักษณ์ ทางเราพยายามติดต่อสัมภาษณ์นานหลายวัน แต่ยังไม่พร้อมที่จะให้สัมภาษณ์ในช่วงนี้ โควิดระบาดระลอกนี้เจ็บหนักอยู่ จากที่เคยโกยเงินสนั่น แต่ตอนนี้ต้องมีหลายโรง หลายจังหวัดต้องปิดไป แต่ยังพอมีบางโรงบางจังหวัด ก็ยังเปิดบริการตามปกติ ซึ่งต้องลดรอบลดโรงไปเยอะเลย เพราะคนไม่ค่อยเข้าไปดู

เมเจอร์เงินเยอะจริง ไม่ง้อรอหนังจากค่ายอื่นๆ จึงผลิตหนังไทยเองมานานแล้ว ตั้งหลายบริษัทในเครือ เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป เช่น 

- เอ็ม พิคเจอร์ส M PICTURES

- เอ็มเทอร์ตี้ไนน์ M๓๙

- ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม Transformation Film

- ซีเจ เมเจอร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ CJ MAJOR Entertainment

- ไท เมเจอร์ Tai Major นำทัพโดย วิสูตร พูลวรลักษณ์ ที่ปล่อยหนังเรื่องแรกของค่าย บอสฉันขยันเชือด

ส่วน รฤก โปรดักชั่น เน้นการผลิตงานเบื้องหลังมากกว่า หนังหลากหลายแนว จากหลายค่ายของเมเจอร์ Major มีทั้งลงทุนเองหมด แต่ก็มีน้อยนะ ต้องลดอัตราเสี่ยงเจ๊ง ด้วยการไปร่วมทุนกับบริษัทต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

หนังจากค่ายเมเจอร์ช่วยสร้างความคึกคัก ให้กับวงการหนังไทยได้อยู่ โดยหนังส่วนใหญ่ จะทำเสร็จล่วงหน้ามากกว่า 1 ปี เพื่อจะได้มีเวลาเหลือเยอะๆ สำหรับการเก็บแก้ ปรับเปลี่ยนรายละเอียด วางแผนพีอาร์โปรโมตปั่นกระแส หรือวางโปรแกรมฉายล่วงหน้าหลายๆ เดือน วางไทม์มิ่ง Timing เพื่อไม่ให้ชนกับหนังฮอลลีวูดฟอร์มใหญ่ๆ ซึ่งเป็นรายได้หลักของโรงหนัง

การมีค่ายหนังเป็นของตัวเอง มีโรงหนังเป็นของตัวเอง จุดแข็งคือ ถ้าหนังดีมีคุณภาพกระแสแรง ก็เพิ่มโรงเพิ่มรอบโกยเงินได้ง่ายทันทีเลย แต่ถ้าหนังเรื่องไหนกระแสแย่ คนไม่ดู ก็ต้องลดรอบลดโรงเป็นเรื่องธรรมดา ค่ายเมเจอร์ Major ยังได้ขยายโรงหนังไปอีกสาขาแล้วที่ ลาว, กัมพูชา และมีแผนโกยเงินต่อ จะขยายสาขาใหม่เพิ่มอีกเยอะ ทั้งในและต่างประเทศ

โรงหนังทางเลือก ทางรอดที่โตจริง
ธุรกิจโรงหนังสายป่านไม่ยาว รอวันตายได้เลย อุ๋ย ชมศจี เตชะรัตนประเสริฐ ลูกสาวเสี่ยพันล้าน อดีตเจ้าพ่อหนังไทย เสี่ยเจียง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ เงินเยอะจริงได้ร่วมกับ จ๋อง พงศ์นรินทร์ อุลิศ ตั้งใจสร้างโรงหนังทางเลือก House RCA เปิดมานานกว่า 15 ปี เป็นโรงหนังอินดี้ในดวงใจแฟนหนังตัวจริง จน 31 สิงหาคม 2562 ได้ปิดตัวไป แล้วย้ายมาเปิดใหม่ที่ เฮ้าส์สามย่าน House Samyan

โรงหนังลงทุนเยอะหลายสิบล้านบาท ถึงจะมีสาขาเดียว แต่ก็ครองใจคนรักหนังตัวจริงทั้งไทยและต่างประเทศ ไม่อิงหนังกระแสแรง แต่ขยันหาหนังจี๊ดๆ เด็ดๆ มาให้ดูตลอด แต่โควิดช่วงนี้จำใจต้องปิดโรงแล้ว เบื้องต้นประกาศปิดไปยาวจนถึง 30 มิถุนายนก่อน แล้วรอประเมินสถานการณ์ว่าจะเปิดได้อีกเมื่อไหร่

ผู้บริหารสาว อุ๋ย ชมศจี ที่รักหนังสุดจิตใจ ลุยธุรกิจโรงหนัง แบบไม่แคร์เจ๊ง หนังเก่าบ้างใหม่บ้าง สลับสับเปลี่ยนมาให้คนดูเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นหนังเก่าที่ยังขลัง ดูได้ไม่เบื่อ ก่อนจะย้ายมาที่ เฮ้าส์สามย่าน House Samyan แถวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็สั่งลากับหนังชายรักชายระดับโลก คอลมีบายยัวร์เนม Call Me By Your Name รอบสุดท้ายลาโรงที่เฮ้าส์อาร์ซีเอ House RCA 

คนแห่ไปแน่นโรง พิสูจน์ชัดแล้วว่า โรงหนังถ้าฉลาดเลือกหนังดีมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเก่าแค่ไหน หรือใหม่แต่โดนมองเมิน คนดูก็พร้อมสนับสนุนอยู่แล้ว ดังนั้นที่ใครบอกว่า หนังนอกกระแส หนังไม่มีกระแสแรง หนังอินดี้ทุนน้อยนิด ดาราไม่ดัง คนจะไม่ดู ไม่จริง!

เชื่อว่าแฟนหนังตัวจริง ยังต้องการโรงหนังทางเลือกอยู่อีกเยอะ น่าเสียดายที่โรงหนังเล็กๆ แบงค็อกสกรีนนิงรูม Bangkok Screening Room ย่านศาลาแดง ทนพิษโควิดไม่ไหว คนมาดูน้อยลง จนต้องปิดตัวไปแล้วตั้งแต่ 31 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา

หรือไม่ต้องสร้างโรงหนังอินดี้เฉพาะเหมือน เฮ้าส์สามย่าน House Samyan อย่างโรงหนังเอสเอฟ SF ก็ใจกว้างพอ แบ่งโรงฉายเปิดพื้นที่ให้หนังนอกกระแส ดีเด่นโดน เข้าฉายเรื่อยๆ มีคนดูเพิ่มขึ้นตลอด 



ธุรกิจโรงหนัง เสือนอนกิน?
เป็นความจริงส่วนหนึ่ง ที่ว่าโรงหนังเป็นธุรกิจเสือนอนกินสบายๆ รวยจริงจัง มีแต่ได้กับได้ กำไรมากกำไรน้อยเท่านั้น ขาดทุนแทบจะไม่มี เพราะถ้าหนังเรื่องไหน คนไม่ดู กระแสไม่แรง ก็แค่ถอดทิ้งรีบเขี่ยจากโปรแกรมฉาย เอาหนังใหม่ๆ กระแสดีเด่น ดาราดังเล่น คนอยากดูเข้ามาแทนที่เลย

แต่อย่าลืมว่า ต้นทุนการสร้างโรงหนังแต่ละแห่ง ก็แพงมาก ยิ่งในช่วงโควิดระบาดหนัก เราจะเห็นผลกระทบเต็มๆ ของโรงหนังหลายแห่ง ที่จำต้องปิด หรือต้องลดรอบฉายลงต่อวัน ทำให้โรงหนังรายได้ลดหายไปเยอะ

เรื่องเงินเรื่องใหญ่ เปอร์เซ็นต์การแบ่งเงินกัน ระหว่างโรงหนังกับผู้สร้างหนัง ตามแต่ตกลงกันเลย ดีลแต่ละเรื่องจะไม่เท่าไร ขึ้นอยู่ที่ว่าส่งใครมาดีล มีคอนเนกชันมากน้อยแค่ไหน ที่จะต่อรองกัน ถ้าเป็นจากค่ายเล็ก หนังเล็กหนังอินดี้ จะได้ส่วนแบ่งไปแค่ 40-45% ตลอดการฉาย แต่ถ้าเป็นหนังจากค่ายใหญ่ ฟอร์มดี ดาราดังเล่น ก็จะได้ส่วนแบ่ง 50-50% และได้รอบฉายต่อวันต่อโรงเยอะมากๆ


ต่างกันเยอะความรู้สึก ที่ดูจากสตรีมมิง-โรงหนัง
พีอาร์ตัวแม่ตัวจริง โป้ง ปฐมทัศน์ คชาภา ทำงานเกี่ยวกับการดันดังหนังไทย และหนังต่างประเทศจากหลายค่ายใหญ่เพื่อเข้าโรง มานานกว่า 33 ปี เปิดใจดังๆ "ในฐานะคนดู ที่เราก็จ่ายเงินสมัครรายเดือน เพื่อดูหนัง-ซีรีส์กับค่ายสตรีมมิงต่างๆ พูดตรงๆ มันมาแทนที่การไปดูหนังในโรงหนังใหญ่ไม่ได้ จอใหญ่ระบบเสียงกระหึ่มของโรงหนัง เข้าโรงหนังมืดๆ ทำให้เรามีสมาธิตั้งใจดู ในขณะที่เราดูหนังจากสตรีมมิงต่างๆ เราก็มักจะทำอย่างอื่นไปด้วย ทำให้พลาดฉากสำคัญไป หรือจะย้อนกลับมาดู อารมณ์ความรู้สึก มันก็ไม่เหมือนกับดูหนังจอใหญ่ๆ อยู่แล้ว


"ระบบเสียงต่างๆ มันดีกว่าเยอะ ดีกว่าเยอะมากๆ แบบมันเทียบไม่ได้อยู่แล้ว ที่เราจะเพ่งดูจอเล็กๆ ทางทีวี ทางคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ และที่สำคัญ การดูหนังของคนไทยเป็นวัฒนธรรม เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ชวนกันไปดูหนัง จีบกันในโรงหนัง แล้วไปกินข้าว เดินเล่นแล้วไปเที่ยวต่อตามจุดต่างๆ

"ย้อนไปอดีตยุคก่อน ที่มีวิดีโอ video ให้เช่าตามร้านต่างๆ หลายคนก็บอกว่า โรงหนังจะตายแล้ว คนไม่เข้าไปดูในโรง แต่มันก็ไม่ใช่! หรือยุคที่มีหนังแผ่นหนังวีซีดี VCD หลายค่ายก็ทุ่มทุนดึงดาราดังๆ มาเล่นเยอะ เร่งผลิตจนบูมในยุคหนึ่ง แต่คนก็ยังชอบเข้าไปดูหนังในโรงมากกว่า

"หรือยุคถัดมาที่มีหนังดีวีดี DVD คนก็ซื้อไปดูที่บ้านและสะสมกันเยอะ แต่ก็หมดยุคไปแล้ว ตอนนี้ใครจะซื้อดีวีดี DVD ไปดู มันก็น้อยลงๆ เกือบจะไม่มีแล้ว ต้องพ่ายแพ้ให้กับระบบของโรงหนังที่ดีกว่า ยุคนี้เรามีหนัง-ซีรีส์เยอะเลยจากทั่วโลกให้เลือกกดๆ ดูในสตรีมมิงต่างๆ แต่ถึงที่สุด เชื่อเถอะว่ามนตร์เสน่ห์ของโรงหนังก็ยังจับใจ มีพลังดึงดูดมากกว่าการดูผ่านสตรีมมิง  

"โรงหนังจะตาย ลดความนิยมลงเรื่อยๆ เพราะสตรีมมิงจะมาแย่งตลาดเหรอ คงไม่ใช่นะ! สังเกตสิ ห้างใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด โรงหนังก็ต้องมีเยอะตามไปหมด กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของห้าง โรงหนังหรูหราอลังการทั้งนั้น บริษัทใหญ่ๆ ที่ทำโรงหนัง ยังมุ่งเจาะตลาดต่างจังหวัดต่อไป มีแผนจะเปิดโรงหนังทั่วไทยอีกเพียบ นั่นความหมายว่า โรงหนังมีแต่เพิ่มๆ ไม่ได้ลดลงเลย"


ค่ายใหญ่สตรีมมิง ไม่ยอมให้ระบบโรงหนังตายไป
ไปๆ ไปคุยกันต่อกับ นุชี่ อนุชา บุญยวรรธนะ ผู้กำกับปังจริง จากหนังชายรักชายหลายเรื่อง เช่น อนธการ The Blue Hour, มะลิลา Malila The Farewell Flower ล่าสุดค่ายใหญ่ระดับโลก วอร์เนอร์มีเดีย Warner Media ทีวีช่องดังระดับโลก HBO GO ซึ่งเป็นอีกเจ้าใหญ่ และยังมีสตรีมมิงหนัง-ซีรีส์อีกด้วย ก็จ้างให้ นุชี่-จอช คิม Josh Kim มากำกับร่วมซีรีส์สยองแตก 8 ตอนเรื่อง Forbidden ที่นำโดย เจเจ กฤษณภูมิ พิบูลสงคราม

นุชี่ ได้วิเคราะห์ถึงการเติบโตของสตรีมมิง ที่อาจจะเข้ามาแทนที่โรงหนังในอนาคต
"จริงๆ โรงหนังมันไม่หายไปไหน ถึงแม้ค่ายสตรีมมิงต่างๆ จะทำออริจินัลคอนเทนต์ Original Content มากขึ้นก็ตาม ถึงแม้มีการใช้เงินมาก ลงทุนเยอะสร้างดี มีการเติบโตแค่ไหน

แต่การฉายหนังในโรงก่อน จะได้เงินเป็นกอบเป็นกำ มากกว่าที่จะฉายเฉพาะสตรีมมิงทางเดียว รายได้จากโรงหนังเป็นวันต่อวันเห็นชัดๆ ทางบ็อกซ์ออฟฟิศ Box Office แต่รายได้สตรีมมิง คิดเก็บเงินได้เป็นรายเดือน มันอาจจะไม่คุ้มทุนสร้าง โดยเฉพาะโปรเจกต์หนังใหญ่ๆ ลงทุนสูง

"แต่ละค่ายของสตรีมมิงที่ทำหนังออกมาตลอด ใช้เงินทุนสูงมาก บางเรื่องก็ 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าออกฉายเฉพาะทางสตรีมมิงมันไม่คุ้มทุน เช่น ค่ายดิสนีย์ Disney ก็มีสตรีมมิงเขาเอง สร้างหนังลงทุนสูงก็ต้องพึ่งโรงหนัง อยากจะให้หนังเข้าโรง เพราะทำเงินได้มากกว่า

ในอนาคตน่าจะเห็นโมเดล แบบฉายทั้งสองช่องทางมากขึ้น อย่างเรื่องโรมา Roma (หนังขาวดำของผู้กำกับ อัลฟอนโซ กัวรอน) ที่เน็ตฟลิกซ์ Netflix ซื้อไปเป็นออริจินัลคอนเทนต์ Original Content นำไปฉายทั้งโรงหนังและสตรีมมิงด้วย ก็ได้กระแสดี ได้เงินสองช่องทางเลย และได้รางวัลจากสถาบันต่างๆ อีกเยอะด้วย

"อนาคตค่ายสตรีมมิงต่างๆ อาจจะฉายพร้อมกันทั้งทางสตรีมมิงและโรงหนัง ก็เป็นไปได้ ยังไงสตูดิโอใหญ่ต่างๆ เขาไม่ยอมให้ระบบโรงหนังตาย หายไปไหนหรอก เพราะมันเป็นแหล่งทำเงินให้พวกเขา มากกว่าที่ฉายเฉพาะสตรีมมิง"


สตรีมมิงแย่งตลาด คนดูหนังในโรงไม่ได้
อีกหนึ่งผู้กำกับหนังตัวพ่อของเมืองไทย ต้องยกให้ ต้อม ยุทธเลิศ สิปปภาค เขาบอกกับเราว่าสตรีมมิงแย่งตลาด คนดูหนังในโรงไม่ได้


"สตรีมมิงมันมาแย่งตลาดคนดูหนัง ที่ชอบบรรยากาศของโรงหนังไม่ได้หรอกครับ ก็ได้แค่ช่วงโควิดนี้แหละ เพราะถ้าโรงหนังกลับมาเปิดเต็มที่อีกครั้ง หลังโควิดเลิกระบาดแล้ว คนก็ยังพร้อมจะเข้าไปดูหนังในโรงหนังกันอยู่ การดูหนังในโรง มันเป็นวัฒนธรรมที่แข็งแรง เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย และคนทั่วโลกไปแล้ว

"รายได้จากการนำหนังไปฉายที่ค่ายสตรีมมิง มันก็จำกัดตายตัว ต่างกับการฉายโรง ถ้าหนังเกิดโดนขึ้นมา มันจะทำเงินให้คนทำหนัง มากกว่าเก็บค่าลิขสิทธิ์จากสตรีมมิง แต่ตอนนี้เมื่อโรงหนังถูกปิด แน่นอนการดูหนังอยู่บ้านจึงเป็นทางเลือก แค่เลือกเข้ามาเพียงเพื่อขั้นเวลา แต่ปัญหาคือ มันเป็นการขั้นเวลา ที่กินเวลาปีครึ่งเข้าไปแล้ว และที่สำคัญมันไม่มีใครรู้ว่า เจ้าของโรงที่ทำเงินของคนทำหนัง จะยืนต่อได้นานแค่ไหน

"ค่ายสตรีมมิงอย่างเน็ตฟลิกซ์ Netflix เริ่มบุกตลาดเมืองไทยตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็คงได้เรียนรู้รสนิยมของการดูหนัง ดูซีรีส์ของคนไทยไปแล้ว ว่าแตกต่างจากคนชาติอื่นอย่างไร ตอนนี้คงตกใจอยู่ว่า ทำไมคนไทยชอบดูหนังดูซีรีส์เกาหลี มากกว่าดูหนังไทยของชาติตัวเอง


"ตอนนี้เน็ตฟลิกซ์ Netflix คงอยู่ในช่วงปรับเปลี่ยนคนดูแลคอนเทนต์ content พวกเขาคงต้องค้นหา คนที่เข้าใจรสนิยมของคนดูคนไทย และเป็นคนที่เข้าใจโปรดักชั่นและวิถีการทำงานแห่งไทย ที่ไม่เหมือนชาติใดในโลก เข้ามาดูแลให้ได้".
#6867


 
การตรวจเลือด เป็นวิธีหนึ่งสำหรับในการตรวจสอบและก็บ่งชี้ถึงลักษณะการทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกาย ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรครวมทั้งสภาวะผิดปกติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นข้างในตัวเราได้ง่ายมากขึ้น เนื่องมาจากเลือดเป็นตัวกลางของการลำเลียงสารต่างๆทั้งน้ำ อาหาร เชื้อโรค ไวรัส รวมทั้งสิ่งแปลกปลอมอื่นๆไปทั่วร่างกายพวกเรา การตรวจเลือดก็เลยเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถหาสิ่งแปลกปลอมในร่างกายพวกเราได้อย่างแม่นยำรวมทั้งรวดเร็ว อย่างไรก็แล้วแต่การตรวจเลือดเพียงอย่างเดียวไม่สามารถที่จะฟันธงถึงความผิดปกติแล้วก็โรคที่เป็นได้ ด้วยเหตุว่ายังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่นำมาซึ่งการทำให้ผลตรวจเลือดอยู่ในเกณฑ์ผิดปกติ อาทิเช่น อาหารที่ทาน ประจำเดือน การออกกำลังกาย แอลกอฮอล์ที่ดื่ม หรือการใช้ยาบางชนิด ดังนั้นจึงควรมีการซักประวัติพร้อมกันกับการตรวจสอบเพิ่มเติมอีก อย่างเช่น ตรวจฉี่แล้วก็อื่นๆตามดุลยพินิจของหมอ แล้วก็เนื่องจากสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญรวมถึงการที่ในสมัยปัจจุบันนี้การแพทย์ต่างเจริญก้าวหน้า องค์ประกอบส่งเสริมสอดคล้องกันขนาดนี้ เราก็ควรที่จะเอาใจใส่ตนเองด้วยการหมั่นดูแลร่างกายอยู่เสมอ การรับประทานอาหารที่ดีแล้วก็การบริหารร่างกายอาจทำให้พวกเราสามารถมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงได้ แต่ภายในร่างกายพวกเราก็อาจมีความผิดปกติ โรคแฝง หรือโรคแทรกซ้อนต่างๆที่ไม่มีการแสดงอาการ ซึ่งอาจส่งผลในชีวิตประจำวันทั้งต่อตัวเองและคนอื่นๆ ทั้งในตอนนี้แล้วก็ในอนาคต การตรวจเลือดและการตรวจร่างกายประจำปีก็จะสามารถช่วยให้เราสามารถทราบแล้วก็คิดหาวิธีป้องกัน แก้ไข รักษาหรือแนวทางที่พวกเราจะอยู่ร่วมกับความผิดปกตินั้นๆได้
 



การตรวจผ่านแล็บก็นับว่าเป็นอีกช่องทางสำหรับบุคคลทั่วไปอย่างพวกเราที่ไม่อยากไปเบียดเสียดในโรงพยาบาลนานนัก ลดความแออัดในพื้นที่โรงพยาบาลที่มีมาก การตรวจผ่านแล็บนั้นเราจะทราบผลอย่างรวดเร็ว ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรอใบสั่งจากหมอ แค่เราโทรศัพท์หาแล็บเพื่อขอคำแนะนำการรับบริการแล้วก็แนวทางเตรียมความพร้อม ต่อไปก็สามารถเข้าไปตรวจเลือดได้เลย สะดวกอย่างยิ่งสำหรับชาวไทยในปัจจุบันที่มีความประพฤติเสี่ยงเกี่ยวกับการติดเชื้อ HIV ไม่น้อยเลยทีเดียว จากการร่วมเพศโดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยหรือไม่ป้องกัน ในอีกกรณีหนึ่งก็มีคนบางกรุ๊ปที่เข้ารับการตรวจเพื่อดูผลเองเฉยๆโดยไม่มีความรู้ความชำนาญเพียงพอก็เลยไม่เข้าใจว่าผลตรวจเลือดแต่ละจุดแต่ละค่าหมายความว่าอะไร และก็อาจนำไปสู่มิได้ป้องกันอย่างถูกต้อง เพราะฉะนั้นการตรวจเลือดด้วยตนเองก่อนไปโรงพยาบาล ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็วไม่อยากอยู่แออัดในโรงพยาบาล แต่ว่าก็ยังอยากได้รับคำแนะนำรวมทั้งวินิจฉัยจากหมอ 





สำหรับชาวเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนพิษณุโลก พวกเรามีที่ตรวจเลือดพิษณุโลกแนะนำ มันก็คือ พิษณุโลกเซ็นทรัลแล็บ สถานปฏิบัติการรวมทั้งตรวจวิเคราะห์ เน้นให้บริการด้านการตรวจเลือด แล้วก็ตรวจสุขภาพ ซึ่งมีเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ที่ล้ำสมัย แล้วก็น้ำยาที่ใช้ตรวจจากประเทศอเมริกา ดำเนินการโดยนักเทคนิคการแพทย์ผู้มีความชำนาญซึ่งสามารถให้คำแนะนำทางการตรวจแก่ผู้รับบริการ แล้วก็ที่สำคัญที่สุดการควบคุมคุณภาพทางห้องปฏิบัติการแล้วก็การทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคพื้นที่ที่ให้บริการตามมาตรฐาน ยึดหลักความปลอดภัยแล้วก็ความลับของคนไข้เป็นหลัก ทำให้ผู้รับบริการเชื่อมั่นได้ว่าจะได้รับผลของการตรวจที่ถูกต้อง แม่นยำ รวมทั้งมีความปลอดภัยในการรับบริการ ถ้าเกิดสนใจอยากเข้ารับบริการกับทางพิษณุโลกเซ็นทรัลแล็บ สามารถโทรปรึกษาการให้บริการ-การเตรียมตัวเพื่อตรวจได้ในเวลาทำการเปิดบริการ : วันจันทร์-วันศุกร์ 07.00 - 20.00 น.แล้วก็วันเสาร์-วันอาทิตย์ 07.00 - 17.00 น.โทรศัพท์ 05525958