• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Ailie662

#2881


เกิดเรื่องฮือฮากับการแข่งขันโอลิมปิก 2020 อีกครั้ง เมื่อ ฉวน หง ฉาน สาวน้อยวัย 15 ปี นักกีฬากระโดดน้ำทีมชาติจีน คว้าเหรียญทองแบบเซอร์ไพรส์

โดยสาวน้อยรายนี้ มีรูปร่างที่เล็กเหมือนเด็กประถม สร้างปรากฎการณ์คว้า 1 เหรียญทอง จากการแข่งขันกระโดดน้ำ "โตเกียวเกมส์"

ซึ่งเธอกลับทำผลงานได้อย่างสุดยอด โดยเฉพาะจากการแข่งขันกระโดดน้ำ 10 เมตรหญิง รอบสุดท้ายด้วยการทำคะแนน perfect tens (10/10/10) ถึง 2 รอบจากการกระโดด 5 ครั้ง ทำคะแนนรวม 466.20

อีกทั้งยังเอาชนะนักกระโดดน้ำรุ่นร่วมทีมชาติอย่าง เฉิน หยูซี ที่ได้ 425.40 คะแนนแบบขาดลอย ทั้งนี้ยังมีการระบุว่าสาวน้อยรายนี้มีประสบการณ์แข่งขันภายในประเทศเพียงแค่ 5 ครั้ง อีกทั้งยังลงแข่งขันรายการระดับชาติเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ขณะที่สาวน้อยรายนี้ได้รับการยกย่องเป็นอย่างมากในสื่อสังคมออนไลน์ ว่าเป็นเด็กสาวที่เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ และที่สำคัญภายหลังการแข่งขัน เธอออกมายอมรับว่า แรงผลักดันที่ทำให้เธอมาถึงจุดนี้ เกิดจากฐานะอันยากจนของครอบครัว และต้องการเงินไปรักษาอาการป่วยของคุณแม่นั่นเอง
#2883


ขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือกับสถานการณ์วิกฤตครั้งนี้ สำหรับคู่รักมาราธอนอย่างหนุ่ม "แดน วรเวช ดานุวงศ์" กับแฟนสาว "แพตตี้ อังศุมาลิน สิรภัทรศักดิ์เมธา" ที่ล่าสุดทั้งคู่ก็ขอส่งต่อกำลังใจเล็กๆ ผ่านถุงยังชีพให้ผู้ที่เดือดร้อน

โดยสาว "แพทตี้" ได้โพสต์ภาพคู่ "แดน" ที่รายล้อมไปด้วยถุงยังชีพสีชมพูและสีฟ้า พร้อมแคปชั่น "ถุงยังชีพ ep3 แพคเสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจเล็กๆจากอังนะคะ

และขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมสนับสนุนด้วยนะคะ ขอบคุณชวนป๋วยปี่แปกอ ขอบคุณโรซ่า ขอบคุณไมโล ขอบคุณข้าวแสนดี ขอบคุณยาสีฟันเทพไทย ขอบคุณถุงผ้าเพิ่มพูนอินเตอร์เทรด ด้วยการบริจาค"
#2884


ส่งเสริมการบูรณาการเชื่อมโยงร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยงานผู้ผลิตองค์ความรู้การวิจัย หน่วยงานภาคปฏิบัติที่ทำหน้าที่ส่งต่อองค์ความรู้ และกลุ่มเป้าหมายในการนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงในพื้นที่ โดยมี พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี และ ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีลงนามฯ พร้อมด้วย ผศ. ดร.ดวงฤทธิ์ เบญจาธิกุล เลขานุการ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมในพิธีฯ

การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว นำโดยผู้บริหารของ วช.และมหาวิทยาลัยราชภัฏ 11 แห่ง ได้แก่ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ดร.วิรัตน์ ปิ่นแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไชยรัตน์ ปราณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประยูร ลิ้มสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวัฒน์ โพธิเวชกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา รัตนพรหม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือวิศวกรสังคมสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบออนไลน์ (ระบบ ZOOM)

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ได้กล่าวว่า วิศวกรสังคม เป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยสร้างชุมชนเข้มแข็งและสร้างเสริมสมรรถนะผู้เรียนให้สมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะ 4 ประการ ได้แก่ การมีทัศนคติที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง การมีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี ซึ่งวิศวกรสังคมที่ได้รับการพัฒนาทักษะ จะสามารถเป็นสื่อกลางในการประสานประโยชน์ของทุกภาคส่วนเพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการพัฒนา ให้นักศึกษามีความสามารถและทักษะเพื่อการดำรงชีวิตและการทำงานในอนาคต สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนได้และเกิดการสร้างนวัตกรรมตามมา มหาวิทยาลัยราชภัฎ ทั้ง 11 แห่ง ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก วช. คงจะนำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส เรากำลังเดินตามพระบรมราโชบายด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ว่าการศึกษาต้องสร้างคนไทยที่มีทัศนคติที่ดี สร้างพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง เข้มแข็ง เป็นพลเมืองดี มีวินัย จะเกิดเป็นรูปธรรมขึ้นได้ภายใต้โครงการนี้

ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวว่า บัณฑิตกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศล้วนผลิตโดยมหาวิทยาลัยราชภัฎ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราโชบายในด้านการศึกษา โดยเฉพาะในส่วนมหาวิทยาลัยราชภัฎ คือให้มุ่งเน้นในการพัฒนาคนและพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎก็ทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดี เช่นในสถานการณ์โควิด -19 มหาวิทยาลัยราชภัฎยังร่วมกับ อว. ทำโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศ เป็นกำลังของจังหวัด และวันนี้ยังมีเรื่องที่ยังความปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นจำนวน 18.9 ล้านบาทแก่ อว. เพื่อจัดทำโรงพยาบาลสนาม ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฎก็จะต้องเป็นกำลังหลักในการจัดทำอยู่แล้ว

รมว.อว. กล่าวต่อว่า การลงนามความร่วมมือ "วิศวกรสังคมสร้างชุมชนเข้มแข็งด้วยวิจัยและนวัตกรรม" ครั้งนี้ ถือเป็นการสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่มหาวิทยาลัยราชภัฎทั้ง 11 แห่ง โดย วช. จะมอบให้แห่งละ 750,000 บาท และขอยืนยันว่า อว. จะดูแลมหาวิทยาลัยราชภัฎให้เป็นพิเศษ เพราะเราตระหนักว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงให้ความสำคัญกับมหาวิทยาลัยราชภัฎ
#2885


ดัชนีดาวโจนส์ ปิดวันพุธ(4ส.ค.)ดิ่งลง 323 จุด หลังสหรัฐเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนที่น่าผิดหวังในเดือนก.ค.
นอกจากนี้ ตลาดยังถูกกดดันจากการเปิดเผยผลประกอบการที่ต่ำกว่าคาดของบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) ซึ่งเป็นบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ร่วงลง 323.73 จุด หรือ 0.92% ปิดที่ 34,792.67 จุด ดัชนีเอสแอนด์พี 500 ร่วง 20.49 จุด หรือ 0.46% ปิดที่ 4,402.66 จุด และดัชนีแนสแด็ก ปรับตัวขึ้น 19.24 จุด หรือ 0.13% ปิดที่ 14,780.53 จุด

ราคาหุ้นจีเอ็มดิ่งลง 6% ในการซื้อขายวันนี้ หลังบริษัทเปิดเผยผลประกอบการไตรมาส 2 ที่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ออโตเมติก ดาต้า โพรเซสซิ่ง อิงค์ (เอดีพี) และมูดี้ส์ อนาลิติกส์ เปิดเผยว่า การจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐเพิ่มขึ้นเพียง 330,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 653,000 ตำแหน่ง

นอกจากนี้ เอดีพียังปรับลดตัวเลขการจ้างงานของภาคเอกชนในเดือนมิ.ย.สู่ระดับ 680,000 ตำแหน่ง จากเดิมรายงานที่ระดับ 692,000 ตำแหน่ง

ภาคบริการมีการจ้างงาน 318,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. ขณะที่ภาคการผลิตมีการจ้างงานเพียง 12,000 ตำแหน่ง

การจ้างงานที่ชะลอตัวในเดือนก.ค.ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา

ขณะเดียวกัน นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันศุกร์นี้ โดยตัวเลขดังกล่าวถือเป็นตัวเลขจ้างงานตัวสุดท้าย ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะจัดการประชุมประจำปีที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 26-28 ส.ค.

'นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ในวันศุกร์นี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐจะรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรพุ่งขึ้น 926,000 ตำแหน่งในเดือนก.ค. สูงกว่าที่เพิ่มขึ้น 850,000 ตำแหน่งในเดือนมิ.ย.

หากตัวเลขการจ้างงานออกมาแข็งแกร่ง ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เฟดเริ่มปรับลดวงเงินในการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี)

นักลงทุนคาดว่าเฟดจะส่งสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ย รวมทั้งแนวโน้มการปรับลดวงเงินคิวอีในการประชุมที่เมืองแจ็กสัน โฮล
#2887


แม้ไลน์ (LINE) แอปพลิเคชันส่งข้อความแชตยอดฮิตจะไม่ได้ประกาศตรงไปตรงมาว่า วางเป้าหมายของธุรกิจ LINE for Business ปี 2564-2565 ไว้ที่การผลักดันตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศไทย แต่ LINE ก็มั่นใจว่าทิศทางธุรกิจที่จะเกิดในปีนี้ จะเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเข้าใจ และเห็นเทรนด์ที่ 'มากพอ' จนให้ธุรกิจไทยเข้ามาประสานพลังเป็นองค์รวม ติดปีกให้ไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้นในยุคนิวนอร์มัล

ถามว่าทำได้อย่างไร? เรื่องนี้ประเมินเบื้องต้นได้จากกองทัพแบรนด์และหน่วยงานที่มาเปิดบัญชีทางการบน LINE หรือที่เรียกว่า LINE OA (LINE Official Account) LINE เชื่อว่าด้วยศักยภาพของแพลตฟอร์ม LINE ที่เข้าถึงคนไทยกว่า 49 ล้านคน บริการ LINE OA จึงมีโอกาสกลายเป็นตัวกลางสำคัญให้บริษัทและองค์กรภาครัฐสามารถให้ข้อมูลหรือให้บริการบางส่วนได้โดยที่คนไทยไม่ต้องเดินทางมายังสถานที่ให้บริการ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโลกธุรกิจวันนี้

LINE ยืนยันว่า LINE OA มียอดใช้งานสูงผิดปกติ ย้อนไปช่วง พ.ค. ปีที่แล้ว LINE ประกาศว่าจำนวนหน่วยงานที่มาเปิดบัญชีทางการเป็น LINE OA เพิ่มขึ้นมาเป็น 4 ล้านราย ขยายขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มี 3 ล้านราย มาปี 64 ดาวรุ่งอย่าง LINE ยังคงยึดตัวเลขเดิมคือ 4 ล้านรายไว้ พร้อมกับย้ำว่าในสถานการณ์ที่ไม่มีโควิด-19 ยอด LINE OA ไม่ได้เติบโตปีละ 1 ล้านราย แต่มักต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะทำได้

ภาวะนี้สะท้อนโอกาสของ LINE OA โดยเฉพาะปี 64-65 ที่ LINE วางโฟกัสไปที่ธุรกิจร้านอาหารและค้าปลีก ผ่านบริการชื่อมายช็อป (MyShop) และมายเรสเตอรอง (MyRestaurant) ที่เปิดพื้นที่ให้ร้านค้ารับออเดอร์และบริการลูกค้าได้ฟรีในขณะนี้ ก่อนที่จะมีการออกแบบให้บริการมีความคุ้มค่าต่อธุรกิจมากขึ้น เพื่อปูทางสู่การพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ที่จะเริ่มเก็บค่าบริการในช่วงปี 65

***ไม่ใช่เก็บเงินจากของที่เคยฟรี

นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ LINE ประเทศไทย กล่าวถึงแนวทางพัฒนาบริการ MyShop และ MyRestaurant ในปีหน้าว่าจะไม่มีการเปลี่ยนฟีเจอร์ให้บริการฟรีมาเป็นเก็บค่าบริการ แต่ LINE จะมีคุณสมบัติที่ดีขึ้นกว่าเดิมแล้วจึงค่อยเก็บค่าบริการ 

'เราอาจจะต้องขอเงินเป็นรายได้เราด้วย' นรสิทธิ์ระบุ 'เป้าหมายของ LINE คือการพัฒนาโซลูชันให้ใช้ง่าย เน้นให้ธุรกิจใช้ LINE OA ในการบริหารธุรกิจได้มากขึ้น ปัจจุบัน LINE ทำงานร่วมกับพันธมิตรหลายราย มีการเอา API มาปรับใช้เพื่อให้ธุรกิจใช้ LINE เป็นหน้าร้านได้ง่ายขึ้น เจาะกลุ่มคนไทยได้ทุกอายุ เรียกว่าถ้าใครหรือแบรนด์ใด ต้องการเข้าถึงคนไทยมากขึ้น ก็จะมาที่ LINE OA เชื่อว่าจะเป็นก้าวที่พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ'

ผลดีของเศรษฐกิจ จะไปอยู่ที่กระเป๋าเงินของ LINE ด้วย
ผลดีของเศรษฐกิจ จะไปอยู่ที่กระเป๋าเงินของ LINE ด้วย

LINE OA เป็นโซลูชันหลักที่ LINE ให้บริการลูกค้าธุรกิจและ SME ภายใต้แบรนด์ LINE for Business ธุรกิจนี้ต่อยอดไปมากจากที่ LINE เคยเป็นเพียงแอปพลิเคชันแชตที่ใช้เพื่อรับส่งความช่วยเหลือในช่วงวิกฤตแผ่นดินไหวใหญ่ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 2554 แล้วจึงเข้าสู่เมืองไทยช่วง 9 ปีที่แล้วที่โซเชียลมีเดียกำลังบูม สำหรับไทย เชื่อกันว่าคนไทยเริ่มทดลองใช้ LINE เพราะว่ามีสติกเกอร์น่ารัก ปูทางให้ LINE เริ่มพาธุรกิจมาสู่บริการ LINE OA ซึ่งกลืน 'LINE@' ที่ให้บริการ SME ก่อนหน้านี้เอาไว้ด้วย

LINE เปิดให้บริการ LINE Pay ในช่วง 2 ปีหลังจากนั้น พร้อมกับเริ่มทำธุรกิจคอนเทนต์ เช่น LINE Today จนมีการเปิดบริการ LINE MAN ราว 2-3 ปีต่อมามีการผลักดันธุรกิจ LINE ไปสู่วงการดิจิทัลไฟแนนซ์ มีการร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยเปิดเป็น LINE BK แล้วขยายไปเปิดธุรกิจอีคอมเมิร์ซผ่าน LINE Shopping ที่เข้าถึงผู้บริโภคตรงๆ ร่วมกับการขยายธุรกิจสติกเกอร์ให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น และการทำโอเพ่นแชต ซึ่งสร้างเป็นชุมชนที่สมาชิกสามารถพูดคุยได้แบบไม่เปิดเผยตัวตน

สิ่งที่ไลน์มองต่อจากนี้คือการปิดช่องว่าง LINE มองตัวเองเป็นแพลตฟอร์มที่ปิดช่องว่างระหว่างวัยหรือ generation จากตอนนี้ที่คิดว่ามีแต่ผู้ใช้วัยรุ่น แต่ขณะนี้ย่ายายก็หันมาใช้งาน LINE ทุกคนสามารถมาพบเจอกันบน LINE

'วันนี้ทุกคนมีกลุ่ม LINE ครอบครัว, LINE หมู่บ้านและ LINE เครือญาติ ภารกิจที่มองก็คือการทำให้ LINE ใช้งานง่ายมากขึ้นและดีมากขึ้น เราต้องรับผิดชอบมากขึ้น เพราะว่าประเทศไทยใช้ social ไม่เหมือนตะวันตก คนประเทศอื่นไม่ให้แชตส่วนตัวในการทำงาน แต่คนไทยไม่ถือสา และใช้ LINE ส่วนตัวในการทำงาน'

ในเมื่อทุกคนใช้ชีวิตบน LINE บริษัทจึงวางแผนใหม่ต่อยอดจากปีที่ผ่านมา LINE มองตัวเองเป็น Mass adapter enabler เพราะทั้งกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มผู้สูงวัยทั้งกรุงเทพฯและต่างจังหวัดล้วนสามารถใช้งานได้เร็วเมื่อมี LINE เป็นสื่อกลาง เรียกว่าเป็นตัวช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงผู้บริโภคได้เร็วขึ้น และเข้าใจการใช้งานได้มากขึ้น

ปีนี้ เชื่อว่าจะมีการใช้บริการการเงินใน LINE มากขึ้น ทะลุ 1 พันล้านทรานเซกชัน
ปีนี้ เชื่อว่าจะมีการใช้บริการการเงินใน LINE มากขึ้น ทะลุ 1 พันล้านทรานเซกชัน

LINE อธิบายว่าที่ผ่านมา บริษัทเน้นให้หน่วยงานที่ต้องการเข้าถึงคอนซูเมอร์มากขึ้น ได้ใช้งาน open API ซึ่งเป็นเหมือนปลั๊กที่เชื่อมทุกเทคโนโลยีให้ต่อติดกับ LINE และสามารถใช้ LINE เป็นหน้าบ้านให้คนทั้งประเทศใช้งานได้

ปรากฏว่าปีที่ผ่านมา หลายธนาคารไทยหันมาใช้งาน LINE มากขึ้น และในขณะที่แบรนด์ทั่วไปมักใช้ LINE แค่สื่อสารกับลูกค้า แต่กลุ่มธนาคารเป็นเซกเมนต์แรกที่ให้บริการ 'ง่ายๆ' บน LINE เลย ผลคือ LINE พบยอดเติบโตของการใช้งาน Digital Banking ผ่าน LINE API ตั้งแต่ปี 2562 มาจนถึงต้นปี 2564 ในรายเดือน (Monthly API Message) เพิ่มขึ้นถึง 80% การให้บริการ Digital Banking service ก้าวกระโดดมากขึ้นถึง 2.8 เท่า แปลว่ามีผู้เข้ามาใช้งานบริการการเงินจริงจังบน LINE ไม่ใช่แค่รับข่าวสารเท่านั้น

ตัวอย่างน่าสนใจคือ ธนาคารกสิกรไทยเปิดให้ผู้ใช้ LINE เปลี่ยนวงเงินบัตรโดยไม่ต้องไปที่สาขา สามารถยืนยันตัวตนได้โดยไม่ต้องโทรศัพท์ติดต่อเจ้าหน้าที่ ขณะที่ธนาคารกรุงไทยเปิดให้เช็คยอดเงินในบัญชีได้เลย ด้านธนาคารกรุงศรีอยุธยาก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปิดให้เลือกวางแผนการลงทุนและซื้อกองทุนได้บน LINE เช่นเดียวกับธนาคารไทยพาณิชย์ที่เป็นเจ้าแรกซึ่งใช้ API ของ LINE ยังมี ธกส. ที่ตรวจผลสลากผ่าน LINE ได้เลย

'ในขณะที่ทั่วโลกพบว่าประชากรไทยใช้ mobile banking มากที่สุดในโลก ปีนี้เชื่อว่าจะมีการใช้บริการการเงินใน LINE มากขึ้น ทะลุ 1 พันล้านทรานเซกชัน'

***ปี 65 ขอเป็นส่วนเสริม

จาก Mass adapter enabler บทบาทของ LINE จะถูกเปลี่ยนเป็นส่วนเสริมเพื่อให้ประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลมากขึ้น โดย LINE มองว่าจะรองรับทั้งส่วนเวิร์กฟอร์มโฮม การประชุมออนไลน์ และการรับวัคซีน

นรสิทธิ์อธิบายว่าการแพร่ระบาดทำให้เกิดวิกฤตจริง แต่ก็มีโอกาสแฝงอยู่ เบื้องต้นพบว่าแบรนด์หรูที่เป็น luxury segment ซึ่งมีมานานแต่ไม่ได้เร่งการขายบนออนไลน์มาก เพราะสินค้ากลุ่มนี้คือกลุ่มที่ลูกค้ามักไปซื้อที่ต่างประเทศหรือร้าน duty free แต่เมื่อการท่องเที่ยวหยุดชะงัก แบรนด์กลุ่มนี้จึงมองว่าเป็นโอกาสที่จะขายบนออนไลน์ โดยตั้งแต่ปี 62 พบว่าใน luxury segment มี LINE OA เพิ่มขึ้น 60% ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเครื่องสำอาง รองลงมาเป็นแฟชั่น และกลุ่มยานยนต์

'จุดที่น่าแปลกใจ คือก่อนนี้กลุ่ม luxury ยังไม่กล้าลองขายออนไลน์ แต่ตอนนี้ทุกแบรนด์มี LINE OA กันหมด ตรงนี้ไทยถือเป็นประเทศแรกที่มีการขายสินค้ากลุ่มนี้ผ่านแชต ที่น่าสนใจคือคนไทยแชตเพื่อซื้อสินค้า luxury จริงจัง พบว่าคนไทยมากกว่า 8 แสนคนเป็นเพื่อนผู้ติดตามแบรนด์เครื่องสำอาง ขณะที่ 2 แสนคนเป็นเพื่อนกับค่ายรถ และ 9 หมื่นคนเป็นเพื่อนกับแบรนด์แฟชั่นหรูอย่างชาแนลและดิออร์ จำนวนการแชตแบบ 1 ต่อ 1 มีมากกว่า 5,000 แชตต่อวัน เชื่อว่ากลางปี 65 แบรนด์หรูจะขยับมาให้บริการลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 บนออนไลน์ได้สมบูรณ์'

ธุรกิจร้านอาหาร และค้าปลีก เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมากซึ่งได้รับผลกระทบหนักและมีส่งผลต่อ GDP ค่อนข้างสูง ในปีนี้ถึงปีหน้า LINE ตั้งเป้าผลักดัน 2 กลุ่มนี้เพื่อสนับสนุน GDP ไทยให้ไปต่อได้ในช่วงวิกฤต
ธุรกิจร้านอาหาร และค้าปลีก เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมากซึ่งได้รับผลกระทบหนักและมีส่งผลต่อ GDP ค่อนข้างสูง ในปีนี้ถึงปีหน้า LINE ตั้งเป้าผลักดัน 2 กลุ่มนี้เพื่อสนับสนุน GDP ไทยให้ไปต่อได้ในช่วงวิกฤต

ในภาพรวม LINE ย้ำว่าต้องการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยผ่านการระบาดไปได้ และสามารถปรับตัวเรียนรู้เพื่อแข่งขันได้บนเวทีโลกในช่วงหลังโควิด-19 ปัญหาคือขณะนี้ไทยกำลังอยู่ในวิกฤตสูญเสียตำแหน่งผู้นำตลาดโลกในหลายด้าน

'ขณะนี้ไทยต้องรู้ตัวและปรับตัวเอง ศักยภาพคนไทยมีมาก SME ไทยก็ไม่ธรรมดา มีการใช้เทคโนโลยีปรับตัวดีกว่าหลายประเทศ แต่ไทยก็ยังต้องทำหลายเรื่องในปีนี้'

ผู้บริหารย้ำว่า SME ไทยเป็นส่วนสำคัญเพราะเป็นเซกเมนต์ที่มีผลกับ GDP ไทยสูงมากคิดเป็นสัดส่วน 45% ในกลุ่มนี้ LINE พบว่ากลุ่มธุรกิจ SME ที่ได้รับผลกระทบหนักสุดในช่วงวิกฤตโควิด-19 คือ ธุรกิจอาหาร ซึ่งส่งผลต่อ GDP ลดลงถึง 37% รองลงมาคือ ธุรกิจขนส่ง และค้าปลีก ในอัตราส่วนที่ลดลง 21% และ 3.7% ตามลำดับ

ท่ามกลางวิกฤตนี้ LINE พบว่าอัตราการเติบโตของ LINE OA โดยธุรกิจกลุ่มร้านอาหารมีอัตราการเปิดใช้งาน LINE OA เพิ่มขึ้น (YoY) สูงสุดถึง 212% รองลงมาคือธุรกิจกลุ่มค้าปลีกที่ 191% ดังนั้น LINE จึงเน้นเรื่องการเปลี่ยนเพื่อให้ธุรกิจไปต่อได้
'LINE มีวิศวกรไทย 100% ไม่มีคนต่างชาติ ทุกคนพัฒนาโซลูชันจากสิ่งที่คนไทยต้องการ วันนี้ LINE มองเห็นว่าอุตสาหกรรมที่เดือดร้อนมากที่สุดคืออาหาร จึงพัฒนาเป็นบริการที่ตอบโจทย์เมืองไทยโดยเฉพาะ'

ตัวอย่างบริการสำหรับประเทศไทยคือ LINE MyShop ซึ่งผู้บริหารการันตีว่าเป็นบริการที่เปิดให้คนไทยสามารถเปิดหน้าร้านออนไลน์ได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับค่ายโซเชียลมีเดียอื่น เช่นเดียวกับ MyRestaurant ที่ง่ายและมีการปรับเปลี่ยนตลอดเพื่อให้ธุรกิจก้าวทัน จุดนี้เป็นผลจากความร่วมมือกับ 'LINE วงใน' ที่เปิดการสื่อสารให้ลูกค้าและร้านติดต่อกันได้ง่ายขึ้น และลูกค้าไม่จำเป็นต้องเข้าไปหารายการอาหารในแอป LINE MAN แก้ปัญหาค้นร้านไม่พบ ซึ่งไทยมีร้านอาหารจำนวนมากติดอันดับโลก
'การที่ร้านอาหารสามารถเปิดขายผ่าน LINE OA จะทำให้สามารถบอกต่อลูกค้าย่านใกล้เคียง สามารถนำ LINE OA ไปเผยแพร่เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้ ซึ่งง่ายกว่าในการเข้าไปหาใน LINE MAN'

นอกเหนือจากนี้ ผู้บริหารมองว่าการใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยมีหลากหลาย แต่การใช้ดิจิทัลที่มีมูลค่ากลับไปที่ GDP ของประเทศไทยนั้นยังมีไม่มาก จุดนี้ LINE จึงวางบทบาทว่าต้องให้ความรู้ ให้ร้านทราบว่าไม่ใช่แค่การให้ความสำคัญกับความสะอาดหรืออร่อย แต่แท้จริงแล้ว จะต้องใช้ข้อมูล

'การจัดการร้านที่ดีควรให้ความสำคัญเรื่องการจัดการเวลา ต้นทุน และสินค้าคงคลัง จุดนี้หลายร้านในเมืองไทยยังไม่รู้ LINE จึงหวังว่าจะเพิ่มช่องทางเพื่อให้ร้านค้าสามารถคลิกอ่านเพิ่มความรู้ว่าการจัดการร้านแบบครบวงจรด้วยข้อมูลในระดับสากลนั้นเป็นอย่างไร หากทำได้สิ่งนี้จะกระทบไปที่ GDP' นรสิทธิ์ระบุ 'ไม่ใช่แค่ว่า คนไทยใช้งานอินเทอร์เน็ตมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก แต่เรายังพัฒนาได้อีกมากในเรื่องของเศรษฐกิจ เราอยากให้ทุกคนได้รู้ว่า จะใช้บริการนี้ได้อย่างไร'

LINE มีแผนจะเน้นที่ผู้ค้าที่เป็นแบรนด์ เหตุผลคือร้านค้ากลุ่มที่อยู่ในประเภท 'ซื้อมาขายไป' เป็นธุรกิจที่ไม่มีผลต่อ GDP มากนัก เนื่องจากจะต้องซื้อสินค้าราคาต่ำกว่า เพื่อนำมาขายในราคาสูง ทำให้เกิดภาวะที่สินค้าเหมือนกันต้องตัดราคากัน สุดท้ายลูกค้าก็ต้องหาสินค้าที่ถูกกว่าแม้จะคุณภาพไม่เท่ากัน

นอกจากภาคธุรกิจแล้ว กลุ่มองค์กรที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศไทย คือ กลุ่มบริการสาธารณะต่างๆ Public sector เหล่านี้ใช้ LINE OA ในอัตราเติบโต 30% สถิติชี้ว่ามีผู้ติดตามหน่วยงานอย่างการไฟฟ้านครหลวงจำนวนมากเกิน 1.7 ล้านคน

เชื่อว่ากลางปี 65 แบรนด์หรูจะขยับมาให้บริการลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 บนออนไลน์ได้สมบูรณ์
เชื่อว่ากลางปี 65 แบรนด์หรูจะขยับมาให้บริการลูกค้าแบบ 1 ต่อ 1 บนออนไลน์ได้สมบูรณ์

ที่สุดแล้ว นรสิทธิ์ไม่มองว่าการเน้นที่อาหารและค้าปลีกจะเป็นนโยบายเดิมที่ทำให้ LINE ย่ำอยู่กับที่ เพราะธุรกิจร้านอาหาร และค้าปลีก เป็นกลุ่มธุรกิจที่มีจำนวนมากซึ่งได้รับผลกระทบหนักและมีส่งผลต่อ GDP ค่อนข้างสูง ในปีนี้ LINE จึงคิดว่า 2 กลุ่มธุรกิจนี้แม้จะไม่ใช่กลุ่มเซกเมนต์ใหม่ แต่ยังคงมีน้ำหนักความสำคัญต่อภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่มาก การผลักดัน 2 กลุ่มนี้จึงเป็นการผลักดันและสนับสนุน GDP ให้ไปต่อได้ในช่วงวิกฤตนี้

'สิ่งที่จะมาเปลี่ยนการใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายด้านของคนไทยให้มีผลต่อ GDP คือการแก้ปัญหาผู้ประกอบการที่วันนี้ไม่ได้รับข้อมูลเพียงพอ หลายคนเข้าใจว่าแค่โพสต์-เปิดร้าน หรือซื้อโฆษณาก็สามารถทำ e-commerce ได้แล้ว หลายคนบ่นว่าทำไมขายไม่ได้ แต่วันนี้ LINE มีการพูดคุยมากขึ้น ทำให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น เชื่อว่าจะเป็นไกด์ไลน์ให้คนไทย ผู้ประกอบการไทยมีข้อมูล และมีมุมมองการใช้ออนไลน์ให้ประสิทธิภาพกับธุรกิจ และธุรกิจมีกำไรมากขึ้น จุดนี้จะสำคัญมากกว่า GDP และจะสู้กับสินค้าระดับโลกได้'

ปัญหานี้ถือว่าสำคัญ นรสิทธิ์อธิบายว่าเพราะขณะนี้ทุกคนสามารถซื้อสินค้าจากต่างประเทศได้เลยโดยตรง ไม่ต้องผ่านคนไทย มีเพียงกำแพงภาษีที่กั้นไว้ จุดนี้คนไทยจึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือและได้รับการผลักดัน แม้จะยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนักในปี 65 เนื่องจากวิกฤติกำลังซื้อไทยหดตัว อุตสาหกรรมได้รับผลกระทบทั้งหมด

'สิ่งที่หวังว่าจะเกิดในปีนี้คือ การเป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยเข้าใจ และเห็นเทรนด์ที่มากพอ ให้ธุรกิจเข้ามาร่วมกัน ประสานกันเป็นองค์รวม จะได้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น'

แน่นอนว่าผลดีจะไปอยู่ที่กระเป๋าเงินของ LINE ด้วย ในขณะที่หลายธุรกิจติดลบ สถิติรายได้ของ LINE Corp. ย้อนหลัง 5 ไตรมาสถือว่าน่าประทับใจ ด้วยอายุ 10 ขวบ ปัจจุบัน LINE มีผู้ใช้งานมากกว่า 186 ล้านคนต่อเดือนทั่วโลก (สถิติธันวาคม 2020)

ในภาพรวม LINE Corp. ทำรายได้รวม 62,900 ล้านเยน (18,861 ล้านบาท) ในไตรมาส 3 ปี 63 เพิ่มขึ้นเกิน 12.4% รายได้จากธุรกิจหลักมาจากการแสดงโฆษณาผ่านบริการบนแอปโดยเฉพาะ LINE OA และ Sponsored Stickers รวมถึงการโฆษณาบน LINE Part Time Job ขณะที่รายได้จากธุรกิจสื่อสารมาจากธุรกิจสติกเกอร์ และธุรกิจคอนเทนต์มีแหล่งรายได้สำคัญคือบริการ LINE Game

ไฮไลท์ของ LINE ยังอยู่ที่รายได้ในธุรกิจเสริม หรือที่ LINE เรียกเป็นธุรกิจกลยุทธ์ (strategy) ธุรกิจนี้ประกอบด้วยบริการฟินเทคเช่น LINE Pay รวมถึงบริการ AI, LINE Friends และ e-commerce ธุรกิจส่วนนี้เองที่มีอัตราเติบโตเป็นเลข 2 หลักทุกปี สวนทางกับธุรกิจหลักที่เติบโต 1 หลักเท่านั้น

LINE มองไกลแล้ว ขอให้คนไทย (และ GDP ไทย) ไปได้ไกลด้วยเช่นกัน.
#2888


วันนี้( 4 สิงหาคม 2564) นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนสิงหาคม 2564 โดยมีนายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เป็นประธาน กกร. และนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นประธานร่วมในการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (Video Conference) โดยมีวาระสำคัญดังนี้

กกร. ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยเสี่ยงเข้าสู่ภาวะถดถอยอีกปี จากโควิด-19 ระลอกใหม่ที่ส่งผลกระทบตลอดครึ่งปีหลัง การควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ยังไม่ประสบความสำเร็จ จำนวนผู้ติดเชื้อรายวัน รวมถึงจำนวนผู้ป่วยสะสมในโรงพยาบาลยังเพิ่มขึ้นในอัตราสูง แม้จะมีการใช้มาตรการ Lockdown มา 14 วันแล้วก็ตาม ทำให้ภาครัฐต้องขยายมาตรการ Lockdown ณ ขณะนี้ออกไปอีกจนถึงสิ้นเดือนสิงหาคม และขยายวงกว้างออกไปหลายจังหวัด ทั้งนี้ หากการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้กับประชาชนทั่งประเทศยังทำได้ช้า ประเมินว่ามีความเสี่ยงสูงที่ยังต้องจำกัดกิจกรรมเศรษฐกิจตลอดไตรมาสที่ 4 รวมถึงลดทอนความเป็นไปได้หรือประโยชน์ของแผนการเปิดประเทศ ดังนั้น เศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีจึงอยู่ในภาวะที่ฟื้นตัวได้ยาก และเป็นไปได้สูงที่เศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีจะหดตัวเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งอาจจะทำให้เศรษฐกิจไทยปี 2564 เข้าสู่ภาวะถดถอยต่อเนื่องเป็นปีที่สองแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งก็ตาม

อีกทั้ง ธุรกิจทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบจากการระบาดที่ทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ภาคการส่งออก ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซายาวนานจากมาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs และลูกจ้างแรงงาน สะท้อนจากลูกหนี้ที่อยู่ในการดูแลช่วยเหลือของธนาคารต่างๆ ภายใต้มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 1.89 ล้านบัญชี หรือเป็นยอดเงินราว 2 ล้านล้านบาท โดยในระยะข้างหน้า นอกเหนือจากธุรกิจบริการ ท่องเที่ยว และการค้าขายทั่วไป ที่เปราะบางแล้ว การระบาดของโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานได้เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและอุตสาหกรรมส่งออก ซึ่งเป็นเครื่องยนต์เดียวของเศรษฐกิจไทยตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา ดังนั้น ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันบูรณาการมาตรการการจำกัดวงจรของการระบาด โดยการเร่งหาวัคซีนหลักและวัคซีนทางเลือกให้เพียงพอสำหรับความต้องการของประชาชนและสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้โดยเร็ว และการเร่งกระจายการตรวจหาเชื้อโดย Antigen Test Kit เพื่อคัดแยกผู้ติดเชื้อโดยเร็ว


ทั้งนี้ ภาครัฐต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่วิกฤตและถลำลึกกว่าที่คาดไว้มาก ภาคธุรกิจบอบช้ำและต้องใช้พลังมากในการฟื้นฟูผู้ประกอบการที่อ่อนล้า เสถียรภาพของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนตกอยู่ภายใต้ความเสี่ยง โดยภาคครัวเรือนเผชิญภาระหนี้ที่เพิ่มสูงกว่าร้อยละ 90 ต่อจีดีพี และต้องการการเยียวยาเพื่อชดเชยรายได้ที่หดหายไปในระยะนี้และฟื้นฟูเพื่อให้กลับมามีเสถียรภาพในระยะต่อไป ซึ่งเมื่อประเมินจากภาวะเศรษฐกิจที่ถลำลึกกว่าที่คาดไว้มาก ภาครัฐจำเป็นสร้างความเชื่อมั่นโดยเตรียมความพร้อมในเรื่องของความเพียงพอของงบประมาณ เพดานหนี้สาธารณะควรขยายให้มากกว่าร้อยละ 60 ต่อจีดีพี เป็นร้อยละ 65-70 เพื่อให้เหมาะสมกับภาระกิจในการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจในภาวะวิกฤต รวมไปถึงการจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาแนวทางในการผ่อนคลายนโยบายการเงินและมาตรการกับสถาบันการเงินเพิ่มเติมภายใต้ข้อจำกัดที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ใกล้ระดับร้อยละ 0 เพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ

โดยเห็นว่า เศรษฐกิจไทยยังวิกฤตและเผชิญความเสี่ยงค่อนข้างมากจากการระบาดระลอกใหม่ที่รวดเร็วและรุนแรง กระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ ขณะที่เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่องยังสนับสนุนส่งออกของไทยในระยะต่อไป ที่ประชุม กกร. จึงปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 เป็น -1.5 % ถึง 0.0% ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโควิด-19 และมาตรการเพิ่มเติมของรัฐ ด้านการส่งออก กกร. คาดว่าจะขยายตัว 10.0% ถึง 12.0% จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดี แต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดูแล supply chain ไม่ให้เกิดการติดเชื้อในวงกว้าง โดยภาครัฐให้ความสำคัญเร่งด่วนกับการจัดหาวัคซีนให้กลุ่มแรงงานอย่างทั่วถึง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1.0% ถึง 1.2% โดยมีแรงกดดันจากราคาพลังงานและค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกระทบกับต้นทุนของผู้ผลิตสินค้า

รวมถึง การยกระดับและขยายพื้นที่ครั้งนี้เป็นการปรับตามสถานการณ์ที่มีการระบาดในต่างจังหวัดเพิ่มโดยประเมิณผลกระทบเพิ่มเติม เป็น 300,000-400,000 ล้านบาท (พื้นที่สีแดงเข้ม มีสัดส่วนถึง 78% ของ GDP ประเทศ) สถานการณ์ตอนนี้มีการยกระดับใกล้เคียงเมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนย้ายของประชาชนลดลงมาก หากมีการล๊อคดาว์นแล้วจำเป็นต้องเร่งทำมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย ต้องเร่งควบคุมการแพร่ระบาดโดยเฉพาะสายพันธ์เดลต้าที่มีอัตราการกระจายวัคซีนมากและรวดเร็ว เพิ่มความสามารถในการเร่งฉีดวัคซีน การทำ Home Isolation และ Company Isolation นอกจากนั้น ต้องออกมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผลกระทบจากการปิดการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจ และทำให้การทะยอยผ่อนคลายให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินไปได้ โดยภาคเอกชนตอนนี้เข้ามาร่วมแบ่งเบาภาระของภาครัฐในการดูแลพนักงานของตนและปฏิบัติตัวตามมาตรการต่างๆ โดยเฉพาะหลายแห่งได้มีการทำ Active Screening โดยใช้ Rapid Antigen Test Kit เพื่อเร่งแยกคนติดออกมาไม่ให้มีการระบาดในสถานประกอบการ รวมถึงมีการดูแลเชื่อมระบบกับโรงพยาบาลและ Hospital ต่างๆอีกด้วย โดยร่วมมือกันทุกภาคส่วนต้องมีส่วนร่วมกัน มีความรับผิดชอบทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม

เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความจำเป็นทางเศรษฐกิจ และเพื่อบรรเทาผลกระทบของประชาชน เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เสนอขอขยายระยะเวลาการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลงร้อยละ 90ออกไปอีก 1 ปี ของการจัดเก็บภาษี ปีภาษี 2565 (ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1มกราคม2565 จนถึงวันที่31ธันวาคม2565)

นอกจากนี้ ยังเสนอภาครัฐเพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันความเสียหายผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นร้อยละ 60 ขึ้นไป เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 มากขึ้น,ขอกรมสรรพากร ยกเว้นภาษี SMEs 3 ปี โดยจะต้องทำบัญชีเดียวและยื่นภาษีผ่านระบบ E-Tax,รัฐบาลควรมีคำสั่งเดียว (Single Command) ในการสั่งการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19,เสนอให้ภาครัฐอนุญาตให้เอกชนนำเข้าวัคซีนได้อย่างเสรีโดยไม่ต้องผ่านผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่ายและหน่วยงานรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลจากภาครัฐ โดยภาครัฐเป็นผู้ออกใบสั่งซื้อและออกค่าใช้จ่าย,ให้ อย. เร่งอนุมัติวัคซีนยี่ห้ออื่นๆ โดยไม่ต้องรอบริษัทวัคซีนนำเอกสารมายื่น เพื่อเพิ่มทางเลือกและเปิดโอกาสในการจัดหาวัคซีนมากยิ่งขึ้น,ขอให้ภาครัฐสนับสนุนการลดหย่อนภาษี 2 เท่า สำหรับภาคเอกชนที่มีค่าใช้จ่ายในการซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen Test Kit) และค่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 และให้เอกชนช่วยดำเนินการสนับสนุนการผลิตและจัดหายา "ฟาวิพิราเวียร์" ที่กำลังมีความต้องการสูง

อีกทั้ง สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก ได้ออกมาตรการช่วยหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในช่วงต้นปี 2563 ทั้งมาตรการที่เป็นการช่วยเหลือเป็นการทั่วไป มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้า และ มาตรการเสริมสภาพคล่อง ล่าสุด ตระหนักถึงความเดือดร้อนของลูกหนี้และเห็นความจำเป็นเร่งด่วน ออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นระยะเวลา 2 เดือนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ทั้งในพื้นที่ควบคุมฯ 29 จังหวัด และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ ระยะเวลายื่นคำขอตั้งแต่ 19    กรกฎาคม -15 สิงหาคม 2564 โดยจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยที่ค้างอยู่ในทันที เพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้

ด้านมาตรการทางการเงินช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประกอบการธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานข้อมูลความคืบหน้าการยื่นคำขอตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ.2564 ล่าสุด ณ วันที่ 27 กรกฎาคม 2564 ธปท.รายงานตัวเลขคำขอสินเชื่อฟื้นฟู และได้รับการอนุมัติสินเชื่อแล้ว จำนวน 82,767 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือ 27,219 ราย วงเงินเฉลี่ยที่ได้รับการอนุมัติ 3.0 ล้านบาทต่อราย ขณะที่ความคืบหน้าตัวเลขโครงการ "พักทรัพย์ พักหนี้" มีมูลค่าสินทรัพย์ที่รับโอนจำนวนทั้งสิ้น 1,060 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือ 18 ราย

สมาคมธนาคารไทยร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการโครงการ Digital Supply chain finance เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็ก SME ให้เข้าถึงเงินทุน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการในระยะกลาง โดยให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาช่วยธนาคารในการจัดการบริหารความเสี่ยง เพื่อเป็นประโยชน์ใพิจารณาให้สินเชื่อได้มากขึ้น เงื่อนไขดีขึ้น คาดว่า เฟส 1 จะเสร็จสิ้น เพื่อนำไปใช้งานในไตรมาส 4 โดยสมาคมมีแผนขอการสนับสนุนไปยังภาครัฐในการให้ประโยชน์กับธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน platform การพัฒนา e-invoicing platform เป็นส่วนสำคัญของ Thailand Smart Financial Infrastructure เป็นกลไกในการช่วยเหลือผู้ประกอบการให้เข้าถึงเงินทุนหมุนเวียนแบบ many- to- many ทั้งในช่วงที่ต้องประคับประคองกิจการ และในช่วงฟื้นฟูหลังสถานการณ์โควิด และสามารถเป็นฐานในการสร้างแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศ (National Digital Trade Platform : NDTP) สำหรับการค้าระหว่างประเทศต่อไป
#2889












ราคาโควิด ลดกระหน่ำ ที่ดินติดทะเล  หาดส่วนตัว หาดสะพลีติดต่อหาดทุ่งวัวแล่น สวยงามเด่นในชุมพร 119 วา 6ลบ. และ 145 วา 7ลบ. ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ประจวบคีรีขันธ์ เอกสารสิทธิ์โฉนดครุฑแดง  ค่าใช้จ่ายวันโอนทั้งหมดคนละครึ่ง

วิวสวยงามเด่นตามธรรมชาติ รายล้อมทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์น่าอยู่ หาดทรายขาว น้ำใส สวยงาม  บรรยากาศดีงามธรรมชาติฟินสุดๆ  แปลงติดทะเลย่านนี้หายากมากแล้วเหลือแปลงนี้ค่ะ ด้านหน้า ติดถนนทางหลวง 3180 หลังติดทะล ท่ามกลางแหล่งท่องเที่ยวเจริญแล้ว ใกล้โรงเรียนชุมชนตลาด ถัดอีกนิดก็แพปลา และอยู่ใกล้สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมากมาย แหล่งค้าSeaFood  ไฟฟ้าประถึงสะดวกปลอดภัย น้ำไฟเข้าถึง รถยนต์ไปมาได้หลายทาง สะดวกสบายหลายจุดสำคัญ ใกล้สนามบิน สร้างเขื่อนล้อมรอบเรียบร้อย แลเห็นสะดุดตาชวนหลงใหล โทร/line

โทร 083-712-4115
line id : 0837124115

ข้าวเหนียวอุบ แม่อบ
117 2 ตำบล สะพลี อำเภอปะทิว ชุมพร 86230
096 914 2592
https://maps.app.goo.gl/53AJJw33FJytK8waA
 
#2890


แม้ความท้าทายในแวดวงสาธารณสุข จะเกิดขึ้นมายาวนานก่อนไวรัสโควิด-19 เห็นจากแนวโน้มด้านประชากรศาสตร์ เช่น โครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทั่วโลก การเพิ่มขึ้นอย่างมากของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน และเบาหวาน การขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุข 

องค์กรอนามัยโลก คาดการณ์ว่า โลกจะขาดแคลนบุคลากรด้านสาธารณสุขราว 13 ล้านคนภายในปี 2035 หรือค่าเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้ความมั่นคงด้านการเงินของระบบสาธารณสุขเป็นเรื่องที่น่ากังวลเช่นเดียวกัน

"นครินทร์ เทียนประทีป" ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท ยิบอินซอย จำกัด กล่าวในประเด็นนี้ว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกกลายเป็น disruption อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ส่งผลให้ระบบบริการด้านสาธารณสุขทั่วโลกถูกทดสอบอย่างหนัก และโครงสร้างสังคมผู้สูงอายุทั่วโลกที่รวมถึงประเทศไทยที่ก้าวสู่สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์แล้วในปี 2564 นี้ 

การเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีเข้าสู่ยุคดิจิทัล เช่น ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EHR) การจัดการกับข้อมูลที่เพิ่มขึ้นมหาศาลด้วย "เอไอ" หรือ "แมชชีน เลิร์นนิ่ง" เพื่อส่งมอบบริการที่ดีขึ้นให้คนไข้ หรือเพื่อประโยชน์ด้านวิจัยของวงการการแพทย์ จึงมีบทบาทสำคัญ ช่วยยกระดับขีดความสามารถบริการด้านสาธารณสุข ที่ก้าวข้ามความท้าทายเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนด้านเทคโนโลยีอย่างมหาศาลอีกต่อไป 

เพียงใช้เทคโนโลยีทุกอย่างภายใต้การบริการ หรือ Everything-as-a-service จะทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้บริการด้านสาธารณสุขเป็นไปอย่างราบรื่น

ระบบ EHR ตัวแปรเปลี่ยนผ่าน

ระบบระเบียนสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ หรือ EHR (The Electronic Health Record) หนึ่งตัวแปรสำคัญของการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยีของวงการสาธารณสุขเข้าสู่โลกของดิจิทัล เริ่มจากเก็บข้อมูลสุขภาพผู้ป่วย ข้อมูลตรวจวินิจฉัย และผลลัพธ์อื่นผ่านอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค อุปกรณ์ในห้องตรวจวินิจฉัยโรค หรืออุปกรณ์อื่นขึ้นสู่ระบบดิจิทัล เพื่อแพทย์และพยาบาลสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพของผู้เข้ารับการรักษาแค่เพียงปลายนิ้ว

ระบบ EHR รุ่นใหม่ ไม่ใช่แค่ปรับปรุงบริการด้านคลินิค การดำเนินงาน แต่ยังรวมถึงการส่งมอบประสบการณ์การสื่อสารที่ดีขึ้นระหว่างพยาบาล ผู้ป่วยคู่กับการปกป้องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยข้อมูลขั้นสูง 

ยิ่งกว่านั้น ยังมีส่วนสำคัญให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจาก การจ่ายเงินแลกบริการ (fee-for-service) เป็น ดูแลแบบเน้นคุณค่า (value-based care) เพื่อเชื่อมกระบวนการเบิกค่ารักษาพยาบาลที่สะดวกรวดเร็ว พัฒนาขีดความสามารถระบบ workflow ใช้ข้อมูลเพื่อให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มการตัดสินใจที่แม่นยำในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด

แพลตฟอร์ม EHR มุ่งเน้นโครงสร้างจัดการแบบยืดหยุ่น ขยายผลสู่การให้บริการการสาธารณสุขทางไกล ที่มีการผลักดันอย่างมากก่อนการระบาดของโควิด-19 ต่างเห็นตรงกันว่า เป็นแพลตฟอร์มสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบยั่งยืน ทำงานผ่านแอพพลิเคชั่น ที่ประกอบด้วย รูปแบบบริการตนเองและเฝ้าติดตามสุขภาพแบบอัตโนมัติ การควบคุมเข้าถึงหรือเคลื่อนย้ายข้อมูลด้าน EHR ผ่านช่องทางหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างปลอดภัย พร้อมการตอบรับความต้องการของผู้ป่วยด้านความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงบริการได้สมบูรณ์ในแพลตฟอร์มเดียว

ตอบโจทย์ข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น

เดิมการใช้คลาวด์สาธารณะน่าจะเป็นคำตอบสำหรับระบบจัดการข้อมูลด้านสาธารณสุขที่เต็มไปด้วย ด้วยปริมาณข้อมูลที่เติบโตชนิดคาดการณ์ไม่ได้ รวมถึงความซับซ้อนและหลากหลายของข้อมูล เช่น จากแผนกรังสีวิทยา แผนกโรคหัวใจ ภาพนิ่งจากศูนย์รักษาแผล (Wound Care Center) วิดีโอจากการศึกษาเรื่องการนอน การเดิน, ศัลยกรรม และอีกมากมาย แต่เรื่องความปลอดภัยของข้อมูล และข้อบังคับเรื่องความเป็นส่วนตัวในแต่ละประเทศ (jurisdictions) อาจทำให้การใช้คลาวด์สาธารณะเป็นเรื่องยุ่งยาก ยิ่งกว่านั้น อาจจะยิ่งผลักดันต้นทุนการเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์สาธารณะสูงตามไปอีกด้วย

ดังนั้น การสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลที่ปลอดภัยในองค์กร (on-premises storage) ซึ่งทางเทคนิคอาจหมายถึงการจัดเก็บในดาต้าเซ็นเตอร์ขององค์กรเอง หรือจากการใช้บริการ co-location จึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ได้ดีกว่า ซึ่งการจัดหาอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (storage) สามารถทำได้หลายระดับขึ้นอยู่กับความต้องการในการเข้าถึงข้อมูล หรือจากวิกฤตของความต้องการใช้งาน HPE Nimble Storage Adaptive Flash Arrays เป็นทางเลือกเริ่มต้นที่เข้มแข็ง เหมาะกับทั้งการทำงานในระดับ primary และ secondary และยิ่งร่วมกับความสามารถในการวิเคราะห์จาก HPE InfoSight แล้ว ก็จะยิ่งทำให้การคาดการณ์และป้องกันปัญหาทั้งระบบของการจัดเก็บข้อมูลเป็นไปได้ดียิ่งขึ้น ยิ่งกว่านั้น ความสามารถอื่นเช่น intelligent deduplication ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บในระดับที่หาตัวจับยาก และช่วยให้ใช้การจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเต็มความจุ

นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรสำคัญอื่นที่ท้าทายต่อการลงทุน คือ ระยะเวลาที่ยาวนานของการจัดสรรงบประมาณและกระบวนการจัดซื้อ ทางออกปัญหาด้านงบประมาณ คือ การจ่ายค่าบริการตามการใช้งานจริง ซึ่งเริ่มถูกนำมาใช้มากขึ้นเพื่อตอบโจทย์องค์กรในการก้าวข้ามผ่านความท้าทายเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ตั้งแต่เริ่มต้น ขณะเดียวกัน ยังได้ความคล่องตัวสร้างนวัตกรรมด้านดิจิทัล ด้วยค่าใช้จ่ายด้านไอทีที่น้อยลงเท่ากับปริมาณที่ใช้งานจริงเท่านั้น

ยิบอินซอย ยกตัวอย่างถึง ผลศึกษาฟอร์เรสเตอร์ระบุถึงการนำ HPE Green Lake บริการด้านฮาร์ดแวร์ โซลูชั่น และควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือนในรูปแบบของคลาวด์ตามการใช้งานจริง ไปปรับใช้ในองค์กรสาธารณสุข พบว่า มีผลตอบแทนการลงทุนเพิ่มขึ้น 163% ประหยัดเวลาพัฒนาบริการสาธารณสุขเพื่อส่งต่อให้ลูกค้า คิดเป็นตัวเงินได้สูงถึง 2.5 ล้านดอลลาร์ 

ทั้งนี้ HPE GreenLake เป็นวิธีการให้บริการแบบ Everything-As-a-Service ช่วยให้ธุรกิจ และองค์กรทั่วโลกนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เสริมประสิทธิภาพดำเนินงานได้รวดเร็ว ง่าย และหลากหลาย ส่งต่อประสบการณ์ทำงานแบบคลาวด์ให้เกิดขึ้นได้ในองค์กร บริการดูแลจัดการชนิดเต็มรูปแบบ คิดค่าบริการตามการใช้งานจริง

 
#2891


อาการปวดศีรษะ เป็นอีกหนึ่งอาการทางสมองและระบบประสาทที่สามารถพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ COVID-19 และ ผู้ที่ได้รับวัคซีน COVID-19 

โดยอาจมีสาเหตุและความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไป ในผู้ป่วยบางรายอาการปวดศีรษะ อาจจะไม่รุนแรง และสามารถหายเองได้ แต่ในขณะเดียวกันผู้ป่วยอีกหลายคนอาจต้องการการตรวจวินิจฉัยและการรักษาเพิ่มเติม 

นพ.กีรติกร ว่องไววาณิชย์ อายุรแพทย์โรคสมองและระบบประสาท (โรคปวดศีรษะและใบหน้า) ศูนย์สมอง รพ.กรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า อาการปวดศีรษะเป็นอาการทางระบบประสาทที่เจอได้บ่อยในผู้ติดเชื้อ COVID-19 โดยสามารถพบผู้ป่วยที่มีอาการได้มากถึง 30% 

"ส่วนใหญ่จะไม่เคยมีประวัติโรคปวดศีรษะมาก่อน และอาการปวดมักจะพบภายใน 7 วันแรกหลังจากการติดเชื้อ โดยอาการปวดจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความรุนแรงของอาการปวดปานกลางถึงมาก และมักจะไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด หรือมีอาการปวดซํ้าหลังจากยาแก้ปวดหมดฤทธิ์

ลักษณะการปวดจะเป็นการปวดแบบบีบรัดที่บริเวณขมับ หน้าผาก รอบกระบอกตาทั้ง 2 ข้าง หรือปวดทั่วทั้งศีรษะ ซึ่งอาจจะพบลักษณะการปวดแบบปวดตุ๊บๆ คล้ายกับเส้นเลือดเต้นได้ ซึ่งการโน้มศีรษะไปด้านหน้า การไอ การจามและการออกแรงจะทำให้อาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้น

ที่สำคัญอาการปวดสามารถเกิดขึ้นได้นานถึง 2 สัปดาห์ สาเหตุของอาการปวดศีรษะสามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจเกิดจากเชื้อไวรัสเข้าสู่สมองโดยตรง โดยผ่านปลายเส้นประสาทคู่ที่ 5 (trigeminal nerve) จากในโพรงจมูก ทำให้เกิดสัญญาณความปวดส่งมาที่ศีรษะ

หรืออาจเกิดจากการที่เชื้อไวรัสไปกระตุ้นร่างกายให้สร้างสารการอักเสบ (inflammatory cytokine) ซึ่งมีผลโดยตรงกับระบบนำความปวดในสมอง ทำให้เกิดอาการปวดศีรษะขึ้นมาได้" 


(วัคซีนแต่ละชนิด ทำให้มีอาการปวดศีรษะมากน้อยต่างกัน)


ทั้งนี้สามารถแยกอาการปวดศีรษะที่เกิดจากการได้รับเชื้อ COVID-19 กับการปวดศีรษะด้วยสาเหตุอื่นได้ด้วยการสังเกตอาการที่เกิดร่วมด้วย

ยกตัวอย่างผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 นอกจากจะมีอาการปวดศีรษะแล้ว จะมีอาการเวียนศีรษะ มีไข้ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ไอ หอบเหนื่อย ปวดเมื่อย ถ่ายเหลว เจ็บขณะกลืน  อาจจะเกิดอาการแพ้แสง แพ้เสียงดัง คล้ายในผู้ที่ปวดศีรษะไมเกรนอีกด้วย และในผู้ที่เป็นโรคปวดศีรษะอยู่แล้ว จะมีลักษณะของอาการปวดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม  

อาการปวดศีรษะนอกจากจะเกิดขึ้นกับผู้ติดเชื้อ COVID-19 แล้วยังสามารถเกิดขึ้นกับผู้ที่รับวัคซีน COVID-19 ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งวัคซีนแต่ละชนิดจะมีรายงานอาการของผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป

ในผู้สูงอายุจะพบอาการข้างเคียงได้ตํ่ากว่าในผู้ที่มีอายุน้อย และการได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จะพบอาการข้างเคียงน้อยกว่าในเข็มแรก จากข้อมูลงานวิจัยในปัจจุบันพบว่า

-วัคซีนเชื้อตาย (CoronaVac) พบอาการปวดศีรษะหลังได้รับวัคซีน 6%-18.7% 

-วัคซีนชนิด viral vector (ChAdOx1 nCoV-19; AstraZeneca) พบอาการปวดศีรษะหลังได้รับวัคซีน 22.8%-29.3% 

และวัคซีน mRNA (BNT162b2; Pfizer) พบอาการปวดศีรษะหลังได้รับวัคซีน 39%-52% 

โดยปกติแล้วถ้าเกิดอาการปวดศีรษะจากการได้รับเชื้อ COVID-19 หรือจากการได้รับวัคซีนอาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอลได้

ในกรณีที่รับประทานยาพาราเซตามอลแล้วยังไม่สามารถควบคุมอาการปวดได้ อาจต้องพิจารณาใช้ยาแก้ปวดบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs หรือ NSAIDs) 

สำหรับผู้ที่เป็นไมเกรนและมีอาการปวดศีรษะไมเกรนกำเริบหลังได้รับวัคซีน แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอล ในกรณีที่ปวดศีรษะรุนแรงควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่ม NSAIDs หรือ ยากลุ่ม triptans 

ทั้งนี้ หลังจากการได้รับวัคซีน COVID-19 ถ้าอาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้นหรือไม่บรรเทาลงหลังจากการรับประทานยาแก้ปวด หรือมีอาการผิดปกติอย่างอื่นเกิดขึ้นร่วมด้วย ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดศีรษะที่อาจเป็นอันตราย รวมทั้งรักษาอาการปวดศีรษะอย่างเหมาะสม

สอบถามได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล Contact Center โทร. 1719  
#2892


นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด -19 ที่รุนแรงขึ้นในช่วงนี้ ในช่วงนี้ต้องอาศัยความระมัดระวังในการออก "หุ้นกู้" เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะขายไม่หมด และนักลงทุนจะระมัดระวังในการลงทุนหุ้นกู้ในสถานการณ์เช่นนี้ 

ขณะที่ ผู้ออกหุ้นกู้ที่ขอยืดอายุหุ้นกู้ไปแล้ว ถ้าต้องการออกหุ้นกู้ใหม่ ก็อาจจะเหนื่อยขึ้น เพราะว่าปัจจุบันตอนนี้สัดส่วน80% เป็นกลุ่มหุ้นกู้ไฮยิลด์ที่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันกันหมด และผู้ที่ขอยืดหุ้นกู้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มไฮยิลด์ ถ้าจะออกเพิ่มต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำทีประกันเพิ่มมากขึ้น เพราะเชื่อว่านักลงทุน มีความระมักระวังการลงทุนอยู่แล้ว คงไม่ได้ดูแค่ผลตอบแทนการลงทุนอย่างเดียว

"คาดคงจะไม่เห็นหุ้นกู้ไฮยิลด์ชำระหนี้หุ้นกู้ไม่ได้ตามกำหนด หรือดีฟอลเพราะผู้ออกหุุ้นกู้ไฮยิลด์เดิมนั้นมีการยืดหนี้ไปแล้ว และคาดว่าคงจะไม่มีรายใหญ่ออกหุ้นกู้ดังกล่าว เพราะนักลงทุนอาจไม่สนใจซื้อในสถานการณ์ขณะนี้"

สำหรับในปีนี้ผู้ออกหุ้นกู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด เรายังพบว่า ยังคงเป็นรายเดิมๆ ที่ได้รับผลกระทบตั้งแต่ปีก่อน ทำให้มีหุ้นกู้บางส่วนที่ขอยืดอายุชำระหนี้หุ้นกู้ออกไป และยังขอต่ออายุยืดหนี้ออกไปอีกเพราะการระบาดโควิด-19ลากยาวกว่าที่คาดในปีนี้ โดยผู้ออกหุ้นกู้ได้ขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้แล้วซึ่งผู้ถือหุ้นกู้ ก็เข้าใจสสถานการณ์เช่นนี้ดีว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และยังคงยืดอายุชำระหนี้ให้ ซึ่งไม่น่าเป็นห่วง

ขณะที่สถานการณ์การออกหุ้นกู้ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ อยู่ที่ 6.04 แสนล้านบาทเพิ่มขึ้น 52%เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน  โดยนหุ้นกู้ครบกำหนดในปีนี้ โดยเดือนส.ค.ถึงสิ้นปีนี้ จะมีหุ้นกู้ครบกำหนดราว 3.3 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้สัดส่วนถึง 92% เป็นหุ้นกู้ระดับอินเวสต์เมนต์ เกรดเชื่อว่าจะไม่มีประเด็นการโรลโอเวอร์ ขณะที่ในหุ้นกู้ไฮยิลด์ ราว 2.5 หมื่นล้านบาท ที่ออกมาตั้งแต่ช่วงต้นปีมานี้ สัดส่วนกว่า 80% เป็นการออกที่มีหลักทรัพย์หรือมีผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นส่วนที่เข้ามาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน

นางอาริยา กล่าวว่า คาดการประชุมกนง. ในวันนี้ น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่0.5% เนื่องจาก เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงจากการระบาดของโควิด-19 และ ธปท. ได้ทำการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ธุรกิจ เอสเอ็มอีและหนี้ครัวเรือน ความจำเป็นในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยจึงลดลง
#2893


Viu (วิว) เปิดตัวแคมเปญ "Viu พร้อมบวก" มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารทั่วประเทศ ด้วยการผลิตถุงใส่อาหารมอบแก่ผู้ประกอบการ พร้อมแจกโค้ดดูซีรีส์ฟรีกว่า 1,000,000 โค้ด ให้ผู้บริโภคที่สั่งอาหารได้เต็มอิ่มกับซีรีส์เรื่องโปรดในทุกมื้อ ฟรี 5 วันเต็ม

ในช่วงสถานการณ์อันยากลำบากที่กำลังเกิดขึ้นแก่สังคมไทยในขณะนี้ ส่งผลให้หลายภาคส่วนต้องประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ ท่ามกลางสมรภูมิอันดุเดือดของภาวะเศรษฐกิจที่มีแต่ทรุดตัวลง ในขณะที่เหล่าผู้ประกอบการทั้งขนาดใหญ่ และขนาดเล็กต่างต้องต่อสู้เพื่อนำพาธุรกิจให้ผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ โดยมีความช่วยเหลือจากภาครัฐ และภาคเอกชนมากมาย

ล่าสุด Viu (วิว) ผู้ให้บริการระดับแนวหน้าด้านวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ OTT (Over-the-top) ยักษ์ใหญ่ระดับภูมิภาค ซึ่งดำเนินการโดย PCCW Limited (พีซีซีดับเบิลยู ลิมิเต็ด) ได้จัดตั้งโครงการสนับสนุนเหล่าผู้ประกอบการร้านอาหาร ในแคมเปญ "Viu พร้อมบวก" ที่มุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารจากทั่วประเทศ โดยไม่จำกัดรูปแบบของร้านอาหารที่เข้าร่วม ซึ่งหลังประกาศเริ่มแคมเปญก็ได้การตอบรับที่ดีเป็นอย่างมากจากเหล่าผู้ประกอบการ

โดยในเฟสแรกที่ผ่านมามีเหล่าผู้ประกอบการกว่า 500 ร้านค้าจากทั่วกรุงเทพฯ เข้าร่วมแคมเปญ "Viu พร้อมบวก" เป็นที่เรียบร้อย และในขณะนี้ Viu (วิว) ยังเดินหน้ากระจายความช่วยเหลือด้วยการเปิดรับสมัครร้านอาหารจากทั่วประเทศเพิ่มเติม เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกร้านอาหารได้เข้าถึงแคมเปญ "Viu พร้อมบวก" โดยมุ่งหวังที่จะแบ่งเบาความยากลำบากได้อย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ของประเทศไทย

สำหรับแคมเปญ "Viu พร้อมบวก" Viu (วิว) ได้เดินหน้าผลิตถุงสำหรับใส่อาหารเพื่อมอบแก่ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อเป็นการช่วยลดต้นทุน พร้อมแจกโค้ดดูซีรีส์ฟรีกว่า 1,000,000 โค้ดให้ผู้บริโภคที่สั่งอาหารจากร้านดังกล่าวได้เต็มอิ่มกับการรับชมซีรีส์เรื่องโปรดฟรีตลอด 5 วันเต็ม เพื่อเป็นการบวกความสุขให้ทุกมื้ออาหารเต็มไปด้วรอยยิ้ม และก้าวข้ามผ่านสถานการณ์อันยากลำบากนี้ไปด้วยกัน

ด้านผู้ประกอบการร้านอาหาร มัณฑนา วารนิช เจ้าของร้านครัวภูเก็ต กล่าวถึงสถานการณ์ของธุรกิจร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ และความรู้สึกที่ได้เข้าร่วมโครงการ Viu พร้อมบวก ว่า "แน่นอนว่าในสถานการณ์อันยากลำบากนี้เราต้องปรับตัวเยอะมาก ต้องเปลี่ยนจากการขายแบบนั่งรับประทานในร้าน มาเน้นขายแบบดีลิเวอรีเป็นหลัก เพราะพยายามที่จะหารายได้ให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งการที่ Viu (วิว) มีโครงการนี้ขึ้นมา เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วม เพราะทางแบรนด์ได้สนับสนุนถุงใส่อาหารที่ช่วยลดต้นทุนของเราได้เยอะ ประกอบกับการแจกโค้ดดูซีรีส์ฟรี ที่เราสามารถนำมาสร้างเป็นจุดขายให้แก่ลูกค้าได้ เรียกได้ว่าเป็นโครงการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่สามารถกระจายความสุข และความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง"


สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่สนใจเข้าร่วมโครงการสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2564 โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทาง https://bit.ly/2V7hq4y
สามารถดาวน์โหลด Viu (วิว) ฟรีทาง https://bit.ly/3dyyR49 ได้ทั้ง App Store, Google Play และสมาร์ททีวี หรือคลิกเว็บไซต์ www.viu.com ก็พร้อมฟินเต็มอิ่มความบันเทิงเอเชีย ดูไวก่อนใคร ซับไทยเป๊ะ เพลย์ต่อเนื่องกันได้เลย

ทั้งนี้ Viu (วิว) คือผู้ให้บริการระดับแนวหน้าด้านวิดีโอสตรีมมิ่งแบบ OTT (Over-the-top) ยักษ์ใหญ่ระดับภูมิภาคที่ดำเนินการโดย PCCW Limited (พีซีซีดับเบิลยู ลิมิเต็ด) ที่ให้บริการใน 16 ประเทศ ทั้งเอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกาใต้ โดยมีจำนวนผู้ใช้งาน 45 ล้านรายต่อเดือน (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563)
#2894


วิจัยกรุงศรีรายงานว่าอุปสงค์ในประเทศเดือนมิถุนายนยังคงซบเซา แต่เศรษฐกิจยังพอได้แรงหนุนจากการส่งออก ส่วนภาคการผลิตในไตรมาส 3 อาจได้รับผลกระทบมากขึ้นจากการระบาด ดัชนีการบริโภคภาคเอกชนเดือนมิถุนายนแม้ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อนบ้างเล็กน้อย (+1.2% MoM sa) แต่โดยรวมยังอ่อนแอ สอดคล้องกับความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่แตะระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ด้านการลงทุนภาคเอกชนค่อนข้างทรงตัวจากเดือนก่อน (+0.2%) โดยการลงทุนในหมวดเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับดีขึ้นเล็กน้อยตามทิศทางการส่งออก ขณะที่การลงทุนในหมวดก่อสร้างปรับลดลง เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอและมาตรการควบคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ขณะที่ภาคท่องเที่ยวยังมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียงเล็กน้อย จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มูลค่าการส่งออกที่เติบโตในอัตราสูง (46.1%YoY) ปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ส่งผลให้การส่งออกเติบโตกระจายตัวทั้งในตลาดและหมวดสินค้า ช่วยพยุงการผลิตภาคอุตสาหกรรมได้บ้างในช่วงที่อุปสงค์ในประเทศอ่อนแอ



เศรษฐกิจไตรมาส 2 อ่อนแอลงจากไตรมาสแรก ผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกสามของ COVID-19 ที่เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนเมษายน โดยวิจัยกรุงศรีคาดว่า GDP ในไตรมาส 2 อาจหดตัวจากไตรมาสแรกที่ -0.6% QoQ sa แต่หากเทียบกับไตรมาส 2 ของปีก่อนอาจขยายตัวได้ 7% YoY ซึ่งเป็นผลของฐานที่ติดลบหนักเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ในไตรมาส 3 เศรษฐกิจยังเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงขึ้นจากสายพันธุ์เดลต้า โดยเฉพาะในพื้นที่กทม.และปริมณฑล มาตรการควบคุมการระบาดจึงเข้มงวดขึ้น ทำให้หลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักมากขึ้น อีกทั้งการระบาดที่เริ่มแผ่ลามถึงภาคการผลิตและอาจกระทบในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกได้ เศรษฐกิจในไตรมาส 3 จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้และอาจจะติดลบมากกว่าในไตรมาส 2



โดยกระทรวงการคลังประเมินเศรษฐกิจปีนี้เติบโต 1.3% และจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ 4-5% ในปีหน้า ด้านวิจัยกรุงศรีชี้ในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูงจากหลายปัจจัย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2564 เหลือขยายตัว 1.3% จากเดิมคาด 2.3% ผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเดินทางระหว่างประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่จะเดินทางเข้ามาไทยลดลงจากเดิม อย่างไรก็ดี การส่งออกสินค้ามีแนวโน้มปรับดีขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก นอกจากนี้ สศค. ยังชี้ว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวเร่งขึ้นเป็น 4-5% ในปี 2565 แรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดคลี่คลายลงและมีการเดินทางระหว่างประเทศมากขึ้น กอปรกับการส่งออกจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ด้านวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ GDP ปีนี้จะขยายตัว 1.2% (เดิมคาด 2.0%) ผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่รุนแรงและยาวนานกว่าคาด และจากแบบจำลองชี้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันจะลดลงต่ำกว่า 1,000 ราย ในเดือนพฤศจิกายน สะท้อนมาตรการควบคุมยังคงดำเนินต่อไปจนถึงเดือนตุลาคม กิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในประเทศจึงยังคงซบเซา ด้านจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติคาดว่าจะมีเพียง 2.1 แสนคน (เดิมคาด 3.3 แสนคน) นอกจากนี้ อานิสงส์จากการกลับมาเปิดดำเนินการของกิจกรรมเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วซึ่งเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ หนุนให้มูลค่าส่งออกของไทยในปีนี้เติบเติบโตถึง 15% แม้ในช่วงครึ่งปีหลังการส่งออกอาจชะลอลงบ้าง ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจะค่อยๆ ฟื้นในช่วงปลายไตรมาส 4 ปีนี้ ตามเศรษฐกิจโลกที่ปรับดีขึ้นและการฉีดวัคซีนจำนวนมาก กอปรกับการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศ อย่างไรก็ตาม ความไม่แน่นอนจากการจัดหาและการกระจายวัคซีนของไทย รวมถึงประสิทธิภาพของวัคซีนและประสิทธิผลของมาตรการล็อกดาวน์ ซึ่งนับเป็นประเด็นที่ยังต้องติดตามในระยะข้างหน้า

ด้านเศรษฐกิจโลก การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีแนวโน้มแตกต่างกันมากยิ่งขึ้น IMF คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้ขยายตัว 6% แต่การเติบโตยังถูกกดดันจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าและความไม่แน่นอนหลายด้าน จากประมาณการเศรษฐกิจรอบล่าสุด IMF คงตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของ GDP โลกในปี 2564 ที่ 6.0% แม้จะปรับเพิ่มการขยายตัวของ GDP กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วเป็น 5.6% (เดิม 5.1%) นำโดยสหรัฐฯเป็น 7.0% (เดิม 6.4%) และยูโรโซน 4.6% (เดิม 4.4%) แต่ปรับตัวเลขคาดการณ์ GDP ของกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ลงสู่ 6.3% (เดิม 6.7%) โดยเฉพาะจีนเป็น 8.1% (เดิม 8.4%)

สำหรับการคาดการณ์ล่าสุดของ IMF สะท้อนว่าการฟื้นตัวของหลายประเทศมีความแตกต่างกันมากขึ้นอยู่กับการเข้าถึงวัคซีน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยท้าทายเศรษฐกิจโลกทั้งแรงกดดันชั่วคราวด้านราคาจากข้อจำกัดด้านอุปทาน การระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่รุนแรงขึ้นอาจเพิ่มความเสี่ยงและส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น รวมทั้งซ้ำเติมการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนาที่ขาดแคลนวัคซีนและมีภาระหนี้สูง และความไม่ต่อเนื่องของนโยบายภาครัฐเพื่อจัดการกับการแพร่ระบาดที่อาจยืดเยื้อ เนื่องจากข้อจำกัดในการก่อหนี้สาธารณะเพิ่มเติม

ส่วนการปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของ GDP จีนนั้นสอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากต้นปี ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการใช้มาตรการเพื่อควบคุมการเก็งกำไรในบางภาคเศรษฐกิจและสร้างความเป็นธรรมในตลาด ล่าสุดทางการจีนห้ามบริษัท Tencent ผูกขาดธุรกิจเพลงออนไลน์ และห้ามการแสวงหากำไรในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การใช้นโยบายดังกล่าวบ่งชี้ว่าจีนให้ความสำคัญกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพมากกว่าการขยายตัวของ GDP ในอัตราสูง ขณะที่ยังสนับสนุนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจจริงต่อไป

เฟดประเมินเศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโตต่อเนื่องและอาจเริ่มส่งสัญญาณ QE Tapering ปลายเดือนนี้ ขณะที่ GDP ไตรมาส 2 ขยายตัว 6.5% QoQ เฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและการเข้าซื้อสินทรัพย์ตามมาตรการ QE ทั้งนี้ เฟดประเมินว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯกำลังเดินหน้าไปสู่เป้าหมายระยะยาว มุมมองดังกล่าวสอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดย GDP ไตรมาส 2/2564 ขยายตัว 6.5% QoQ เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อน ส่วนดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้น 3.5% YoY สูงสุดนับตั้งแต่ปี 2534 สำหรับเดือนกรกฎาคมดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของ Conference Board แตะระดับสูงสุดในรอบ 16 เดือนที่ 129.1 ส่วนจำนวนผู้ยื่นขอรับสิทธิสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 กรกฎาคมลดลงจากสัปดาห์ก่อนสู่ระดับ 4.0 แสนราย

เศรษฐกิจสหรัฐฯปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฟดประเมินว่าการฟื้นตัวอยู่บนเส้นทางที่จะบรรลุเป้าหมายระยะยาว จากปัจจัยหนุนทั้งความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนและมาตรการภาครัฐ ทั้งนี้ เฟดอาจส่งสัญญาณ QE Tapering ในช่วงการประชุมธนาคารกลางทั่วโลกที่เมืองแจ็กสัน โฮล ระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคมนี้ และคาดว่าจะประกาศแผน Tapering ในไตรมาส 4/2564 จากนั้นอาจจะเริ่มปรับลด QE ช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า

GDP ยูโรโซนกลับมาขยายตัวในไตรมาส 2/2564 โดยเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ในไตรมาสที่ 2 GDP ยูโรโซนขยายตัว 2.0% QoQ สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาด ส่วนอัตราการว่างงานเดือนมิถุนายน ลดลงสู่ระดับ 7.7% ต่ำสุดในรอบ 15 เดือน สำหรับในเดือนกรกฎาคมอัตราเงินเฟ้อทั่วไปแตะระดับ 2.2% สูงสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2561 ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 119.0

ข้อมูลล่าสุดสะท้อนการฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดย GDP ไตรมาส 2/2564 กลับมาขยายตัวหลังจากที่เผชิญภาวะการถดถอยทางเทคนิคในช่วง 2 ไตรมาสก่อน จากแรงหนุนทั้งการเปิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการเร่งกระจายวัคซีนโดยมีผู้ได้รับวัคซีนอย่างน้อย 1 โดสสูงถึง 59.2% ของประชากร ปัจจัยดังกล่าวอาจช่วยบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ประกอบกับการเริ่มเบิกจ่ายเงินภายใต้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูของสหภาพยุโรป (EU Recovery Fund) ในไตรมาส 3/2564 จึงคาดว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
#2895


แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป เดินหน้าขยายการให้บริการแกร็บเพย์ วอลเล็ต (GrabPay Wallet) สนองตอบการใช้ชีวิตแบบสังคมไร้เงินสด เพิ่มความสะดวกสบายให้พาร์ทเนอร์คนขับและร้านค้า พร้อมมอบความคุ้มค่าและบริการชำระเงินที่ปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการภายในอีโคซิสเต็มของแกร็บ ผ่านการเปิดใช้งานและเติมเงินเข้า แกร็บเพย์ วอลเล็ต ง่ายๆ ผ่าน 3 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา

นายวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป กล่าวว่า แกร็บ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป มุ่งขยายการบริการแกร็บเพย์ วอลเล็ต อย่างต่อเนื่องในยุคแห่งสังคมไร้เงินสด เพื่อเพิ่มความสะดวกสบาย และปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานในอีโคซิสเต็มส์ของแกร็บ ทั้งผู้ใช้บริการ พาร์ทเนอร์คนขับ และพาร์ทเนอร์ร้านค้า

โดยล่าสุดได้ร่วมมือกัน 3 ธนาคารชั้นนำ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรี ในการให้บริการเติมเงินเพื่อใช้ชำระค่าบริการในอีโคซิสเต็มของแกร็บได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องใช้บัตรเดบิต หรือเครดิต ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ต้องการความสะดวกสบายและเพลิดเพลินกับสิทธิประโยชน์ของการชำระเงินแบบไร้เงินสด

เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และความปลอดภัยในทุกๆ การชำระเงิน ลูกค้าของทั้ง 3 ธนาคารสามารถยืนยันตัวตนอิเล็กทรอนิกส์ (e-KYC) ทุกครั้งก่อนใช้บริการด้วยตนเอง ผ่านแอปพลิเคชันแกร็บ นอกจากนี้ แกร็บยังมอบความคุ้มค่า ด้วยโปรโมชันสุดพิเศษเพื่อผู้ใช้งาน แกร็บเพย์ วอลเล็ต โดยเฉพาะ ผู้ใช้บริการสามารถรับส่วนลดสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือนทุกบริการ Grab เมื่อใส่รหัส WALLET ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
#2896


เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 64 มาตรการการล็อกดาวน์ของ ศบค. ส่งผลให้การบริโภคไข่ไก่เพิ่มสูงขึ้นกว่าสถานการณ์ปกติ ล่าสุดกรมปศุสัตว์ได้เตรียมแผนรองรับในเรื่องนี้

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์จึงได้กำหนดมาตรการปรับสมดุล Demand – Supply โดยได้แจ้งให้เกษตรกรเจ้าของฟาร์มไก่ไข่ทั่วประเทศ สามารถยืดอายุการเลี้ยงแม่ไก่ไข่ยืนกรงออกไปตามที่แต่ละฟาร์มเห็นว่าเหมาะสม จากเดิมที่กำหนดให้ปลดแม่ไก่ยืนกรงที่อายุ 80 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มปริมาณไข่ไก่เข้าสู่ตลาด จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้ปริมาณไข่ไก่มีเพียงพอสอดคล้องกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ และสามารถรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงพออยู่ได้ไม่ขาดทุน ไม่ทำให้ผู้บริโภคเดือดร้อน


คาดว่าจะทำให้ปริมาณผลผลิตไข่ไก่ในตลาดภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ยวันละ 2–3 ล้านฟอง จากเดิมที่มีผลผลิตวันละ 40 ล้านฟอง จึงขอให้ประชาชนผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าปริมาณผลผลิตไข่ไก่จะมีเพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงที่รัฐบาลประกาศล็อกดาวน์อย่างแน่นอน
#2897
ป้ายไฟวิ่ง LED ดิจิตอล 2 รูปแบบ กันน้ำ 100% - รับประกัน 1 ปี

**** Single color ****** ราคา 2,900 .- 

**** FULL color ****** ราคา 4,200 .-

- กันน้ำ 100% - รับประกัน 1 ปี










#2898



บมจ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย หรือ AMR คือผู้ประกอบการสัญชาติไทยรายแรกที่เบียดผู้ประกอบการต่างชาติ ในงานออกแบบ ติดตั้ง ระบบอาณัติสัญญาณ รถไฟฟ้าสายสีเขียว 2 สถานีแรก ช่วงสถานีตากสิน-วงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาไปฝั่งธนบุรี ซึ่งบริษัทสามารถดำเนินการได้ นี่คือ ศักยภาพในการคว้าอีก 5 สถานี ในเส้นทางหมอชิต-คูคต , แบริ่ง-สมุทรปราการ

และในปี 2561 โอกาสทางธุรกิจครั้งใหม่คือ การออกแบบรถไฟฟ้าสายสีทอง ที่บริษัททำทั้งระบบตั้งแต่ระบบอาณัติสัญญาณ ไฟฟ้าสื่อสาร และการติดตั้งระบบประตูกับชานชลา 

และมูลค่างานโครงการขนาดใหญ่ของรัฐระดับ 'แสนล้านบาท' คือจังหวะและโอกาสสร้างการเติบโตมหาศาล !!

นี่คือ 'จุดเด่น' ของ 'เอเอ็มอาร์ เอเซีย' ผู้ประกอบธุรกิจด้านวิศวกรรมออกแบบและเชื่อมต่อระบบไอทีโซลูชั่น กำลังจะเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวน 150 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 6.90 บาท มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาท คิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดภายหลังการเสนอขายครั้งนี้ และเข้าซื้อขาย (เทรด) 2 ส.ค. นี้ 

ปัจจุบัน AMR มีผลิตภัณฑ์หรือบริการของบริษัทออกเป็น 3 ประเภท ประกอบด้วย 1. งานให้บริการวางระบบ ด้าน SI แบบครบวงจร ครอบคลุมงานวางระบบคมนาคมขนส่ง (Transportation Solution) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ( ICT) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย และระบบโซลูชั่นเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเมืองอัจฉริยะ (Smart City) 

2. งานให้บริการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง ระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีต่างๆ ให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยมีความสามารถในการให้บริการแบบครบวงจร ได้แก่ งานซ่อมบำรุงเชิงแก้ไข (CM) และงานซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (PM) เป็นต้น 

และ 3. การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ไอทีโซลูชั่น ทั้งในรูปแบบฮาร์ดแวร์ (Hardware) และซอฟต์แวร์ (Software) สำหรับลูกค้าที่ต้องการแพลตฟอร์มพื้นที่ทำงานดิจิทัลในการบริหารจัดการในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Workspace และการรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงแอบพลิเคชั่นที่จะช่วยให้พนักงานในองค์กรทำงานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น 

'มารุต ศิริโก' กรรมการผู้จัดการ บมจ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย หรือ AMR แจกแจงสตอรี่สร้างการเติบโตให้ 'กรุงเทพธุรกิจ BizWeek'] ว่า ด้วยธุรกิจของบริษัทมีศักยภาพเติบโตได้อีกมาก สะท้อนผ่านทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นด้านโทรคมนาคม , ด้านพลังงาน , ด้านระบบไอทีและโซลูชั่นต่าง ๆ โดยมีทีมวิศวกรที่เชี่ยวชาญ มีประสบการณ์การทำงานมากว่า 20 ปี และมีฝีมือเทียบเท่าบริษัทข้ามชาติ 

การขยับตัวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในครานี้ เขายอมรับว่า เมื่อต้องการ 'ปลดล็อก' การเติบโตของธุรกิจ เงินระดมทุนจำนวน 985.24 ล้านบาท เพื่อไปขยายธุรกิจและเพิ่มโอกาสการรับงานที่มีมูลค่าระดับมากกว่าพันล้านบาท และสร้างความเชื่อมั่นให้กับพันธมิตรและคู่ค้า

สอดคล้องกับเป้าหมายของการเข้ามาระดมทุนครั้งนี้ คือ ลงทุนในการพัฒนาธุรกิจด้านระบบคมนาคมขนส่ง ด้านพลังงาน และเมืองอัจฉริยะ จำนวน 837.46 ล้านบาท ระยะเวลาใช้เงินปี 2564-2566 ลงทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาด้านการให้บริการและต่อยอดเทคโนโลยี จำนวน 49.26 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน จำนวน 98.52 ล้านบาท 

'การระดมทุนนอกจากจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งด้านการเงินแล้ว ยังส่งเสริมความน่าเชื่อถือของบริษัท และเพิ่มความไว้วางใจให้กับลูกค้าและพันธมิตรต่างๆ เชื่อว่าจะช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้ารับงานจากหน่วยงานราชการและบริษัทเอกชนได้ในอนาคต'

หากพิจารณาการเติบโตขององค์กรแห่งนี้จะพบว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (ปี 2561-2563) มีกำไรสุทธิเติบโตอยู่ที่ 140.99 ล้านบาท 27.39 ล้านบาท และ 247.55 ล้านบาท ขณะที่ รายได้อยู่ที่ 1,917.83 ล้านบาท 1,467.62 ล้านบาท และ 2,584.07 ล้านบาท ตามลำดับ ล่าสุด ไตรมาส 1 ปี 2564 กำไรสุทธิอยู่ที่ 29.47 ล้านบาท และรายได้ 337.66 ล้านบาท 

เขา บอกต่อว่า สำหรับแผนธุรกิจ 3-5 ปี (2564-2568) บริษัทมีเป้าหมายรับงานโครงการขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการขยายธุรกิจในส่วนของภาคบริการเพื่อสร้างพอร์ต 'รายได้ประจำ' (Revenue Income) อย่าง ระบบคมนาคมขนส่งสายรอง (Feeder Line) และ ด้านพลังงาน อย่าง การพัฒนาสถานีชาร์จรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมทั้งเมืองท่องเที่ยวอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทซิตี้ 

โดยบริษัทตั้งเป้าสัดส่วนรายได้พอร์ตรายได้ประจำในอีก 5 ปีข้างหน้า อยู่ที่สัดส่วน 50% จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 10% และขยับเพิ่มเป็น 20-30% ในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า เพื่อเป็นการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต 

'ที่ผ่านมา AMR ได้เข้าไปเป็นผู้ออกแบบติดตั้งที่ชาร์จแบตเตอรี่มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ซึ่งมีแผนขยายจากจุดเล็ก ๆ ไปสู่ระดับประเทศ คาดว่าภายใน 1-2 ปีข้างหน้า คนไทยจะได้มีโอกาสเห็น EV Charging Station มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าที่ออกแบบโดย AMR อีกด้วย'

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตการดำเนินธุรกิจของ AMR มีโอกาสที่จะขยายตัวได้อีกมากตามการขยายตัวด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ ทั้งประเภทระบบเทคโนโลยีคมนาคมและการเดินรถไฟฟ้า พลังงานและระบบสื่อสาร โดยภาครัฐเตรียมเปิดประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง และในปัจจุบันบริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ในมือแล้วประมาณ 1,451.20 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 1-2 ปี นับจากนี้


นอกจากนี้ในปี 2565 ภาครัฐมีแผนเตรียมเปิดประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นรถไฟรางคู่ รถไฟฟ้าในเมือง รวมไปถึงรถไฟในต่างจังหวัด โดย 20-30% ของโครงการเกี่ยวข้องกับการวางระบบ ทำให้เห็นโอกาสการเติบโตได้อีกมากในช่วงหลาย 10 ปีข้างหน้าอีกมาก 

ท้ายสุด 'มารุต' บอกไว้ว่า ที่ผ่านมาอยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการเป็นผู้ให้บริการงานออกแบบติดตั้งระบบวิศวกรรมไอทีโซลูชั่น ให้รัฐและเอกชนชั้นนำไม่ว่าเป็นระบบบริหารจัดการน้ำ และ กทม. และวางระบบเดินรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และรถไฟรางคู่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นงานระดับเมกะโปรเจคของประเทศ

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/952000
#2899



รายงานวิจัยล่าสุดโดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ร่วมกับเทสโก้ พบอาหารถูกทิ้งเป็นขยะอาหาร (Food Waste) กว่า 2.5 พันล้านตันต่อปี และประมาณ 40% ของอาหารที่ผลิตขึ้นทั่วโลก ไม่มีโอกาสไปถึง 'โต๊ะอาหาร' ด้วยซ้ำ

ขยะอาหาร หรือ Food Waste ถูกทิ้งเพิ่มขึ้นทุกปี กลายเป็นสาเหตุซ้ำเติมปัญหาภาวะโลกร้อน เนื่องจากขยะจากอาหารสามารถปล่อยก๊าซมีเทน (Methane) ที่มีความรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากถึง 20 เท่า

รายงานชื่อ 'Driven to Waste: The Global Impact of Food Loss and Waste on Farms' พบ 40% ของอาหารจบลงที่ 'ถังขยะ' มากกว่าโต๊ะอาหาร เป็นตัวเลขที่สูงขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ 33% #โดยปัญหาขยะอาหารไม่ได้มาจากอาหารเหลือจากครัวเรือนเท่านั้น แต่รายงานชี้ให้เห็นว่า ขยะอาหารมีจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่กระบวนการผลิต ทั้งในฟาร์ม ซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาด มาจนถึงร้านอาหาร คาเฟ่ และโรงแรม ซึ่งรวมแล้วสร้างปริมาณขยะอาหารมากกว่า 1.2 ล้านตันในทุกปี

การผลิตอาหารทุกชนิดใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติมหาศาล ทั้งที่ดิน น้ำ และพลังงาน เมื่อคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของทั้งโลกแล้ว อาหารที่ถูกทิ้งทั้งหมด (ตั้งแต่ต้นทางการผลิตในฟาร์ม ไปจนถึงปลายทางการขนส่ง-จัดจำหน่าย) ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากถึง 8% ของจำนวนก๊าซทั้งหมดในชั้นบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม รายงาน Driven to Waste ชี้ให้เห็นว่า ตัวเลขดังกล่าวอาจสูงขึ้นเป็น 10% เนื่องจากปริมาณขยะอาหารที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี

อาหารเหลือทิ้งเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมอาหารเพื่อใช้ในงานเลี้ยงต่าง ๆ ที่มากเกินไป หรือไม่ได้คํานึงถึงพฤติกรรมผู้บริโภค การทิ้งอาหารที่จําหน่ายไม่หมดของธุรกิจการค้าในแต่ละวัน อาหารเน่าเสียหรือสูญหายระหว่างขนส่ง หรือแม้แต่ 'วัฒนธรรมการกินให้เหลือไว้ในจาน' เพื่อเป็นการแสดงออกมารยาททางสังคมในบางประเทศ

รายงานยังพบอีกว่า อาหารเน่าเสีย หรือถูกคัดทิ้งของทุกประเทศรวมกันมีปริมาณ 'มากพอ' เลี้ยงปากท้องประชากรทั่วโลกได้อีกจำนวนมาก โดยสำหรับประเทศไทยนั้น กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานว่า ไทยมีขยะอาหารคิดเป็น 64% ของปริมาณทั้งหมด แต่ยังขาดระบบการคัดแยกขยะทำให้ขยะอาหาร โดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก และลดต้นทุนต่อธุรกิจ แต่ก็ทำให้เกิดความสูญเสียทรัพยากรที่ยังมีค่าโดยเปล่าประโยชน์

การสูญเสียอาหาร ถือเป็นความเสียหายทั้งต่อระบบเศรษฐกิจ และ 'ความเจ็บปวด' ของประชากรโลกที่ยังคงอดอยาก และต้องต่อสู้อย่างหนักเพื่อมีอาหารลงท้อง โชคดีว่าปัจจุบัน คนในสังคมเริ่มตื่นตัวมากขึ้น และปรับพฤติกรรมการบริโภคอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible consumption) หรือลด-เลิกการทิ้งขว้างอาหาร (No food waste) โดยร้านอาหารในหลายประเทศเริ่มคิด "ค่าปรับ" ลูกค้าที่ทานอาหารเหลือ หรือภาครัฐเริ่มมีการบังคับใช้กฎหมาย "ภาษีอาหารที่ทิ้งขว้าง" สำหรับบริษัทผลิตอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อควบคุมการทิ้งผัก-ผลไม้ที่ยังไม่หมดอายุ หรือการบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมด ให้กับองค์กรการกุศล หรือมูลนิธิ เพื่อถูกต่อส่งให้เป็น "มื้ออาหารล้ำค่า" ให้กับผู้ยากไร้

ข้อมูลอ้างอิง WWFThailand,https:// updates.panda.org/driven-to-waste-report
#2900



สงครามต่อสู้กับโควิด-19 เปลี่ยนไป สืบเนื่องจากตัวกลายพันธุ์เดลตาที่แพร่เชื้อได้ง่ายมาก จากคำกล่าวของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐฯ(ซีดีซี) ส่งสารอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการบังคับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขฉีดวัคซีนและกลับมาสวมหน้ากากโดยทั่วไป ท่ามกลางข้อมูลที่พบว่ามีเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ(breakthrough cases) จำนวนมาก ในนั้นติดเชื้ออาการหนักและเสียชีวิตแล้วกว่า 6,500 ราย

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างอิงเอกสารภายในของซีดีซีระบุว่าตัวกลายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดียและตอนนี้กลายเป็นสายพันธุ์หลักทั่วโลก สามารถติดต่อได้ง่ายพอ ๆ กับ โรคอีสุกอีใส และสามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วและง่ายกว่าไข้หวัด มันสามารถแพร่กระจายเชื้อได้แม้กระทั่งจากคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว และอาจเป็นต้นตอของอาการป่วยหนักกว่าสายพันธุ์อื่นๆก่อนหน้านี้

เอกสารที่มีชื่อว่า "ปรับปรุงการสื่อสารเกี่ยวกับเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อและประสิทธิภาพของวัคซีน (Improving communications around vaccine breakthrough and vaccine effectiveness)" ระบุว่าด้วยตัวกลายพันธุ์นี้ จำเป็นต้องใช้แนวทางใหม่เพื่อช่วยให้ประชาชนตระหนักถึงอันตราย ในนั้นรวมถึงส่งสารอย่างชัดเจนว่าบุคคลที่ยังไม่ฉีดวัคซีนมีโอกาสป่วยหนักหรือเสียชีวิตมากกว่าคนที่ฉีดวัคซีนแล้วกว่า 10 เท่า

"ยอมรับว่าสงครามเปลี่ยนไปแล้ว" เอกสารระบุ "ปรับปรุงการสื่อสารเกี่ยวกับความเสี่ยงรายบุคคลในหมู่คนฉีดวัคซีนแล้ว"

ในคำแนะนำด้านมาตรการป้องกันไว้ก่อนต่างๆนานานั้น รวมไปถึงการบังคับฉีดวัคซีนสำหรับผู้ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุข เพื่อปกป้องกลุ่มคนอ่อนแอ และหวนกลับมาสวมหน้ากากป้องกันโดยทั่วไป

ซีดีซียอมรับว่าเอกสารฉบับนี้เป็นของจริง หลังจากหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์นำเสนอรายงานข่าวนี้เป็นแห่งแรก

แม้คนที่ฉีดวัคซีนแล้วมีความเป็นไปได้น้อยที่จะติดเชื้อ แต่ครั้งที่พวกเขาติดเชื้อตัวกลายพันธุ์เดลตาในลักษณะ breakthrough cases เวลานี้พวกเขาก็เหมือนๆกับคนที่ยังไม่ฉีดวัคซีน ที่สามารถแพร่เชื้อสู่คนอื่นๆได้เช่นกัน ซึ่งต่างจากตัวกลายพันธุ์อื่นๆก่อนหน้านี้

กรณีนี้นับว่าน่ากังวลมาก เพราะผู้ที่ได้รับวีคซีนแล้วติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา คือกลุ่มที่เป็นตัวแปรสำคัญในการแพร่เชื้อโดยไม่รู้ตัว ทำให้ผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน แล้วได้รับเชื้อจากคนกลุ่มนี้ ยิ่งเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยรุนแรง

เมื่อวันศุกร์(30ก.ค.) ซีดีซีเผยแพร่ข้อมูลจากผลการวิจัยหนึ่งซึ่งศึกษาการแพร่ระบาดในรัฐแมสซาชูเซตส์ พบว่า 3 ใน 4 ของผู้ติดเชื้อ เป็นกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการตัดสินใจของซีดีซีเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่แนะนำให้บุคคลที่ฉีดวัคซีนแล้วกลับมาสวมหน้ากากในบางสถานการณ์ จากการเปิดเผยของโรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการซีดีซี

ซีดีซีรายงานว่าจนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม มีเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้อ(breakthrough cases)อาการหนักหรือเสียชีวิต 6,587 ราย ในขณะที่ซีดีซีหยุดรายงานเคสฉีดวัคซีนครบแล้วแต่ยังติดเชื้ออาการเล็กๆน้อยๆมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม แต่ในรายงานล่าสุด พวกเขาประมาณการว่าน่าจะมีผู้ติดเชื้อแบบแสดงอาการราวๆ 35,000 รายต่อสัปดาห์ในสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตามตัวเลขของซีดีซียังชี้ให้เห็นว่า วัคซีนนั้นยังมีความสามารถในการป้องกันอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิดสายพันธุ์เดลตา โดยที่นายจอห์น มัวร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาจากนิวยอร์ก กล่าวว่า "โดยรวมแล้ว โควิดสายพันธุ์เดลตานั้นคือสายพันธุ์ที่สร้างความลำบากให้เรามากที่สุดเท่าที่เห็นมา แต่ฟ้าก็ยังไม่ถล่มเสียทีเดียว และวัคซีนนั้นก็ยังสามารถป้องกันไม่ให้สถานการณ์มันแย่ไปมากกว่านี้"

เวลานี้มีประชากรวัยผู้ใหญ่สหรัฐฯเกือบ 1 ใน 3 ที่ฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้ว แต่พื้นที่ต่างๆที่มีอัตราการฉีดวัคซีนระดับต่ำ พบเห็นเคสผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และเจ้าหน้าที่เกรงว่าอีกไม่นานจำนวนผู้เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและเสียชีวิตจำเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

นายแพทย์แอนโธนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับสูงของสหรัฐฯ เปิดเผยกับรอยเตอร์ คาดหวังว่าวัคซีน ซึ่งเวลานี้เพิ่งอยู่ในขั้นได้รับอนุมัติใช้ในกรณีฉุกเฉิน จะเริ่มได้รับอนุมัติจากคณะผู้ควบคุมกฎระเบียบโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ซึ่งมันน่าจะช่วยโน้มน้าวให้ประชาชนเข้าฉีดวัคซีนกันมากขึ้น

(ที่มา:รอยเตอร์/วอชิงตันโพสต์) https:// m.mgronline.com/around/detail/9640000075092