• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

กกร.เพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อปี 65 เป็น 1.5-2.5% เก็ง H1

Started by Ailie662, February 04, 2022, 02:35:52 PM

Previous topic - Next topic

Ailie662

กกร.เพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อปี 65 เป็น 1.5-2.5% เก็ง H1 อาจพุ่ง 3% ห่วงฉุดศก.

ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั้งปีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในกรอบ 1.5-2.5% จากเดิม 1.2-2% โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 3% ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงกว่าที่ประมาณการได้

ทั้งนี้ หากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงราคาสินค้าวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาสินค้าและบริการในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก จนเริ่มส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและกำลังซื้อของประชาชน ดังนั้น ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเตรียมการแก้ปัญหาราคาสินค้าแพงเพื่อไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นมาก จนกระทบกับผู้บริโภคและการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยรวม

"ถ้าเศรษฐกิจดี คนมีรายได้ เงินเฟ้อสูงแค่ไหนก็ไม่มีปัญหา" นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธาน กกร.กล่าว

ขณะที่เศรษฐกิจไทยปี 65 กกร.ยังคงประมาณการว่าจะขยายตัวได้ในกรอบ 3-4.5% ส่วนการส่งออก คาดว่าจะขยายตัวในกรอบ 3-5% โดยเศรษฐกิจไทยยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้เนื่องจากสามารถบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โอมิครอน) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่จำเป็นต้องมีการ Lockdown

กกร.มองว่าการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนส่งผลให้กิจกรรมเศรษฐกิจช่วงต้นปีมีแนวโน้มชะลอตัวบ้าง แต่ผลกระทบโดยรวมคาดว่าไม่รุนแรง หลายประเทศมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะสหรัฐและยุโรป แต่การบังคับใช้มาตรการควบคุมโรคเข้มงวดน้อยกว่าในช่วงของการระบาดของสายพันธุ์เดลตามากเนื่องจากความรุนแรงของโรคลดลงตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงชะลอลงบ้างแต่ส่วนใหญ่ยังสามารถดำเนินต่อไปได้ตามปกติ ดังนั้น ภาคการส่งออกของไทยยังมีโอกาสที่จะยังเติบโตตามที่คาดการณ์ไว้หากสามารถป้องกันไม่ให้การแพร่ระบาดมีผลกระทบรุนแรงต่อ supply chain ของภาคการผลิตได้

อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีโอกาสส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจโลกและไทยในหลายมิติหากสถานการณ์ลุกลาม

ทั้งนี้ ที่ประชุม กกร.มีข้อเสนอต่อภาครัฐ จากสถานการณ์การปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในขณะนี้ โดยเฉพาะในหมวดอาหารสด และพลังงาน ที่มีการทยอยปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างมาก อาจส่งผลให้เกิดความกังวลเรื่องกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่จะชะลอการบริโภคลง ประกอบกับประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งจะสะท้อนผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อาจฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ ดังนี้

1) ขอความร่วมมือภาคเอกชนในการตรึงราคาสินค้า โดยขอให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการสต็อกสินค้าและวัตถุดิบที่มีอยู่เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาออกไปก่อน เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน

2) ขอให้ภาครัฐตรึงราคาพลังงาน เชื้อเพลิง และก๊าซหุงต้มภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร เพื่อช่วยบรรเทาภาระต้นทุนการผลิตและการขนส่งให้กับผู้ประกอบการ

3) ขอให้ภาครัฐอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศ โดยปรับมาตรการ Test&Go ให้ลดจำนวนครั้งการตรวจ RT-PCR ให้เหลือเพียงวันที่เดินทางถึงไทย และให้ใช้วิธีการส่งผลตรวจ ATK ผ่านระบบ หลังการเดินทางเข้าประเทศ 5 วัน แทนการตรวจด้วย RT-PCR เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวให้กลับมาอีกครั้ง

นอกจากนี้ การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการได้มีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากภาครัฐให้การสนับสนุน โดยผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการไปลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า หรือมีมาตรการสนับสนุนอื่นๆ ที่เป็นแรงจูงใจให้แก่ผู้ประกอบการ นั้นจะเป็นประโยชน์ทั้งส่งเสริมการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs) ให้กับบุคลากร และลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพยาบาลของหน่วยงานภาครัฐในอนาคตอย่างมาก

"กกร.ขอมีส่วนร่วมในคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เพื่อเสนอแนะและให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด-19 ให้มาตรการที่ออกมามีประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขควบคู่ไปกับด้านเศรษฐกิจ" นายสุพันธุ์ กล่าว
นายสุพันธุ์ กล่าวว่า กรณีผู้ใช้แรงงานเสนอขอปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำนั้น อยากให้มีการพิจารณาเป็นรายจังหวัด เนื่องจากมีเงื่อนไขต่างกัน บางพื้นที่เป็นเขตเกษตรกรรม บางพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม ค่าครองชีพก็ต่างกัน ไม่ควรกำหนดให้มีการปรับขึ้นเหมือนกันทั่วประเทศ ซึ่งแต่ละจังหวัดมีคณะกรรมการไตรภาคีที่จะพิจารณาในเบื้องต้นให้ได้ข้อสรุปกันก่อน

สำหรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและช่วยลดค่าครองชีพของภาครัฐควรมีการปรับปรุงเงื่อนไขให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น โครงการช้อปดีมีคืน ควรขยายกรอบเวลาที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.พ.ออกไปถึงสิ้นปี และเพิ่มวงเงินจากไม่เกิน 3 หมื่นบาท เป็นไม่เกิน 1 แสนบาท เพื่อสร้างแรงจูงใจให้คนที่มีเงินออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น