• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Jenny937

#2941



เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ ครั้งที่ 9 / 2564 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบการผ่อนเวลาชำระหนี้ 6 เดือน แก่ลูกหนี้กองทุนผู้สูงอายุทุกคน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565 โดยผู้กู้ยืมสามารถขอผ่อนชำระหนี้ด้วยตนเองได้ที่กองทุนผู้สูงอายุ หรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด (พมจ.)

ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้กู้ยืมสามารถขอแบบผ่อนชำระหนี้ผ่านทางโทรศัพท์ กองทุนผู้สูงอายุ หรือ พมจ.ได้ โดยจะจัดส่งเอกสารไปให้ผู้กู้ยืม ผู้ค้ำประกันและพยาน ลงนามในเอกสาร พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนรับรองสำเนาถูกต้อง และส่งเอกสารกลับมายังกองทุนผู้สูงอายุ หรือ พมจ. สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองทุนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ 0 2354 6100 หรือ https://www. olderfund.dop.go.th
#2942



"กมลภัทร แสวงกิจ" ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า วิกฤติโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นอุปสรรคสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกระทบภาพรวมการเติบโตของทุกธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้

ข้อมูลจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงและมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงจากความยืดเยื้อของการแพร่ระบาด อุปสงค์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกล่าสุดส่งผลให้ครัวเรือนจำนวนมากมีปัญหาในการชำระหนี้ เห็นได้จากระดับหนี้ครัวเรือนปัจจุบันสูงถึง 90.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ภาคตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทย ได้รับผลกระทบไม่น้อย! ทั้งทางตรงจากมาตรการปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง และทางอ้อมจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง แม้ผู้พัฒนาอสังหาฯ จะผลักดันโปรโมชัน สงครามราคา และ ใช้ช่องทางออนไลน์มาลดช่องว่างในการซื้อขาย แต่สภาพคล่องทางการเงินและผลกระทบด้านอาชีพของผู้บริโภคยังเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้จำเป็นต้องชะลอการตัดสินใจซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม ออกไปก่อน แม้จะยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยก็ตาม

"แม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.7 จาก 41.6 ในเดือนก่อนหน้า แต่ผู้บริโภคก็ยังไม่เชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจ จึงวางแผนการเงินอย่างรัดกุมและใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น แนวโน้มดัชนีราคาที่อยู่อาศัยทุกประเภทลดลงต่อเนื่อง และคาดว่าจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นในปีนี้ ขณะที่ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง 7% สะท้อนว่ายังคงมีสินค้าคงค้างอยู่ในตลาดอีกพอสมควร"

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันผู้ประกอบการได้ปรับแผนเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ นักลงทุน และผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือต่าง "ชะลอการขาย" เพื่อรอผลตอบแทนที่ดีกว่าในช่วงอื่นแทน คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีจะไม่สูงไปกว่านี้ และจะไม่เกิดภาวะล้นตลาด!!


"กุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวเร็วขึ้น คือ การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไม่ให้รุนแรงมากไปกว่านี้ และภาครัฐควรมีมาตรการเพิ่มเติมช่วยเหลือเยียวยาและพักหนี้ให้ผู้บริโภคที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยในขณะนี้ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง"

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ระบุ ข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ทิศทางตลาดอสังหาฯ ไทยไตรมาสล่าสุด พบว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี ส่งผลให้ผู้บริโภคประสบปัญหาทางการเงินและว่างงานมากขึ้น ทำให้ต้องชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนออกไปรวมถึงการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย แม้จะมีสงครามราคาที่อัดความคุ้มค่าเพื่อเปิดโอกาสทองให้ผู้ซื้อมากเพียงใด แต่ด้วยกำลังซื้อที่ค่อนข้างจำกัดจึงไม่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อเท่าที่ควร

จะเห็นได้จากจำนวนที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสล่าสุด ดัชนีอุปทานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 428 จุด จาก 399 จุด หรือเพิ่มขึ้นถึง 7% จากไตรมาสก่อน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 37% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นดัชนีอุปทานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2558

หากพิจารณาในแต่ละทำเล กรุงเทพฯ ที่มีจำนวนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ได้แก่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา เพิ่มขึ้นถึง 34% ตามมาด้วย แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้นในสัดส่วน 11% เท่ากัน

อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดระลอกนี้ ส่งผลต่อทิศทางการเติบโตในตลาด ผู้พัฒนาอสังหาฯ ตัดสินใจชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไป เพื่อเร่งระบายสต็อกคงค้าง รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือก็ชะลอการขายออกไปเพื่อรอจังหวะที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่านี้

"ผลกระทบจากโควิดทำให้มุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อบทบาทของที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป หลายคนต้องใช้เวลาในแต่ละวันที่บ้านมากขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคนี้ซึ่งต้องมีพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอและตอบโจทย์การใช้ชีวิตหลากหลายรูปแบบ ทั้งรองรับการเรียนออนไลน์ ทำงานออนไลน์ ทำให้ที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงได้รับความสนใจในกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังมองหาบ้านอย่างต่อเนื่อง"

แม้ว่า คอนโดจะมีการจัดโปรโมชันออกมากระตุ้นยอดขายจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เห็นได้ชัดจากดัชนีอุปทานล่าสุดที่คอนโดมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง 7% โดยปัจจุบัน คอนโด มีสัดส่วนสูงถึง 87% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ขณะที่โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนเพียง 7% และ 5% ตามลำดับ ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลให้หลายครอบครัวยังคงเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากกว่าเช่นกัน

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/951819
#2943



นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ธนาคารสมาชิกได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในเดือนก.ค. 63 มีลูกค้าขอรับความช่วยเหลือสูงสุดจำนวน 6 ล้านบัญชี วงเงินความช่วยเหลือรวม 4.25 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 8 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 1.8 ล้านล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 1.6 ล้านล้านบาท

ที่ผ่านมา มีลูกค้าบางส่วนได้ออกจากมาตรการเนื่องจากกลับมาชำระหนี้ได้ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้น ล่าสุด ยังมีลูกค้าอยู่ภายใต้การให้ความช่วยเหลือรวม 1.89 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือกว่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 5.6 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 8.2 แสนล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 6.2 แสนล้านบาท

สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่อง เพื่อประคับประคองธุรกิจตามมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารสมาชิกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเสริมสภาพคล่องกว่า 2.16 แสนล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ประมาณ 1.38 แสนล้านบาท และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจที่อนุมัติไปแล้วกว่า 7.8 หมื่นล้านบาท โดยตั้งเป้าหมาย 1 แสนล้านบาทในเดือนตุลาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ทุกธนาคารยังคงเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยจะทยอยพิจารณาให้การช่วยเหลือผ่านวงเงินดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบต่อลูกค้าทุกกลุ่ม โดยพร้อมมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติม หากสถานการณ์ยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม ภาคธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปี 63

โดยในช่วงแรกออกมาตรการช่วยเหลือเป็นการทั่วไป เป็นมาตรการเร่งด่วน ทั้งการพักชำระเงินต้น ดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้ เพื่อลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้า เสริมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) หลังจากนั้นได้ออกมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือลูกค้าให้ตรงจุด เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ทำให้เศรษฐกิจต้องใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัว จึงมีมาตรการฟื้นฟูธุรกิจเพิ่มเติม ประกอบด้วย สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ระยะที่ 3 และล่าสุดได้ออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า SMEs และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เป็นระยะเวลา 2 เดือน ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ

"ธนาคารสมาชิกได้บริหารจัดการธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าภาพรวมผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งปี 64 แสดงผลการดำเนินงานที่ยังเติบโตต่อเนื่อง แต่บางส่วนเป็นการบันทึกรายได้ดอกเบี้ยค้างรับของมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งยังไม่ได้มีการชำระจริงและยังอาจกลายเป็นหนี้เสียได้ อย่างไรก็ตาม ภาพรวม NPL ในระบบแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย สะท้อนถึงการให้ความช่วยเหลือได้ทันการณ์ ซึ่งนอกจากการให้สินเชื่อผ่าน Soft Loan และสินเชื่อฟื้นฟูแล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ตามวงเงินที่มีอยู่เดิมเพิ่มขึ้น และยังคงให้ความสำคัญกับการกันสำรองอย่างเข้มงวดต่อไป เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต และต้องไม่เกิดผลกระทบกับเสถียรภาพและระบบสถาบันการเงินของประเทศ"นายผยง กล่าว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด- 19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกยังได้ยกระดับแผน Business Continuity Planning (BCP) เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการ โดยคำนึงความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ แผน BCP ครอบคลุมทั้งการปฎิบัติตามมาตรการของทางการ ระบบการให้บริการ การจัดสรรพนักงาน และการสำรองเงินสดให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง Mobile Application Internet Banking และ ตู้ ATM ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้หลากหลาย ทั้งฝาก-ถอนเงินสด โอนเงิน จ่ายบิล การยืนยันตัวตน รวมถึงบริการผูกบัญชีพร้อมเพย์ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา เพื่อความสะดวก และลดความเสี่ยง

ทั้งนี้ได้ติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบอย่างใกล้ชิด ได้มีการปฏิบัติงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home ขั้นสูงสุด ส่วนพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในสาขา ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากรด่านหน้าและเป็นกลุ่มเสี่ยง ธนาคารสมาชิกก็พยายามเร่งจัดหาวัคซีนและกระจายฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด พร้อมจัดการระบบให้บริการที่สาขาให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข

นอกจากมาตรการช่วยเหลือลูกค้าแล้ว สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก ยังสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อในปี 63 โดยบริจาคให้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันบำราศนราดูร และสภากาชาดไทย จำนวนเงิน 50 ล้านบาท

สำหรับในปี 2564 ธนาคารสมาชิกยังคงสนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนทุนทรัพย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ขณะเดียวกัน ยังเป็นกำลังสำคัญร่วมกับภาคีเครือข่าย สนับสนุน โครงการ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย" ซึ่งเป็นการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างภาครัฐและเครือข่ายภาคีเอกชน ในการเร่งกระจายวัคซีนให้กับประชาชน โดยสนับสนุนศูนย์ฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลในโครงการไทยร่วมใจฯ 25 แห่ง ศูนย์ฉีดวัคซีนสำนักงานประกันสังคมเพื่อผู้ประกันตน ม.33 อีก 69 แห่ง รวมถึงจุดบริการฉีดวัคซีนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงสุด โดยธนาคารสมาชิกได้ให้การสนับสนุนทั้งด้านสถานที่ บุคลากร และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการดำเนินงานอีกด้วย
#2944



นายผยง  ศรีวณิช  ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ธนาคารสมาชิกได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในเดือนกรกฏาคม  2563 มีลูกค้าขอรับความช่วยเหลือสูงสุดจำนวน 6 ล้านบัญชี วงเงินความช่วยเหลือรวม 4.25 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 8 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 1.8 ล้านล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 1.6 ล้านล้านบาทซึ่งที่ผ่านมา มีลูกค้าบางส่วนได้ออกจากมาตรการเนื่องจากกลับมาชำระหนี้ได้ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้น

ล่าสุด ยังมีลูกค้าอยู่ภายใต้การให้ความช่วยเหลือรวม 1.89 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือกว่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 5.6 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 8.2 แสนล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 6.2 แสนล้านบาท สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่อง เพื่อประคับประคองธุรกิจตามมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารสมาชิกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเสริมสภาพคล่องกว่า 2.16 แสนล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ประมาณ 1.38 แสนล้านบาท และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจที่อนุมัติไปแล้วกว่า 7.8 หมื่นล้านบาท โดยตั้งเป้าหมาย 1 แสนล้านบาทในเดือนตุลาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ทุกธนาคารยังคงเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยจะทยอยพิจารณาให้การช่วยเหลือผ่านวงเงินดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบต่อลูกค้าทุกกลุ่ม โดยพร้อมมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติม หากสถานการณ์ยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม   ภาคธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 โดยในช่วงแรกออกมาตรการช่วยเหลือเป็นการทั่วไป เป็นมาตรการเร่งด่วน ทั้งการพักชำระเงินต้น ดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้  เพื่อลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้า เสริมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ  (Soft Loan)  หลังจากนั้นได้ออกมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือลูกค้าให้ตรงจุด เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ทำให้เศรษฐกิจต้องใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัว จึงมีมาตรการฟื้นฟูธุรกิจเพิ่มเติม ประกอบด้วย สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ วงเงิน 250,000 ล้านบาท และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ วงเงิน 100,000 ล้านบาท  พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ระยะที่ 3 และล่าสุดได้ออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า SMEs และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เป็นระยะเวลา 2 เดือน  ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ

" ทั้งนี้ ธนาคารสมาชิกได้บริหารจัดการธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าภาพรวมผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งปี 2564 แสดงผลการดำเนินงานที่ยังเติบโตต่อเนื่อง  แต่บางส่วนเป็นการบันทึกรายได้ดอกเบี้ยค้างรับของมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งยังไม่ได้มีการชำระจริงและยังอาจกลายเป็นหนี้เสียได้  อย่างไรก็ตาม ภาพรวม  NPL ในระบบแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย สะท้อนถึงการให้ความช่วยเหลือได้ทันการณ์ ซึ่งนอกจากการให้สินเชื่อผ่าน Soft Loan และสินเชื่อฟื้นฟูแล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ตามวงเงินที่มีอยู่เดิมเพิ่มขึ้น และยังคงให้ความสำคัญกับการกันสำรองอย่างเข้มงวดต่อไป เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต และต้องไม่เกิดผลกระทบกับเสถียรภาพและระบบสถาบันการเงินของประเทศ"


จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด- 19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกยังได้ยกระดับแผน Business Continuity Planning หรือ BCP เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการ โดยคำนึงความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ แผน BCP ครอบคลุมทั้งการปฎิบัติตามมาตรการของทางการ ระบบการให้บริการ การจัดสรรพนักงาน และการสำรองเงินสดให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์  ทั้ง Mobile Application  Internet Banking และ  ตู้ ATM ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้หลากหลาย ทั้งฝาก-ถอนเงินสด โอนเงิน จ่ายบิล การยืนยันตัวตน รวมถึงบริการผูกบัญชีพร้อมเพย์  โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา เพื่อความสะดวก และลดความเสี่ยง

ทั้งนี้ ได้ติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบอย่างใกล้ชิด ได้มีการปฏิบัติงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home  ขั้นสูงสุด ส่วนพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในสาขา ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากรด่านหน้าและเป็นกลุ่มเสี่ยง ธนาคารสมาชิกก็พยายามเร่งจัดหาวัคซีนและกระจายฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด พร้อมจัดการระบบให้บริการที่สาขาให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข

นอกจากมาตรการช่วยเหลือลูกค้าแล้ว   สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ยังสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อ ในปี 2563 โดยบริจาคให้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันบำราศนราดูร และสภากาชาดไทย จำนวนเงิน 50 ล้านบาท สำหรับในปี 2564 ธนาคารสมาชิกยังคงสนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนทุนทรัพย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ขณะเดียวกัน ยังเป็นกำลังสำคัญร่วมกับภาคีเครือข่าย สนับสนุน  โครงการ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย" ซึ่งเป็นการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างภาครัฐและเครือข่ายภาคีเอกชน ในการเร่งกระจายวัคซีนให้กับประชาชน โดยสนับสนุนศูนย์ฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลในโครงการไทยร่วมใจฯ 25 แห่ง ศูนย์ฉีดวัคซีนสำนักงานประกันสังคมเพื่อผู้ประกันตน ม.33 อีก 69 แห่ง รวมถึงจุดบริการฉีดวัคซีนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงสุด โดยธนาคารสมาชิกได้ให้การสนับสนุนทั้งด้านสถานที่ บุคลากร และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการดำเนินงานอีกด้วย
#2945



นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business กล่าวว่า "จากแผนงานของ AIS ที่มุ่งขยายศักยภาพ 5G เพื่อร่วมยกระดับภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตนั้น เรายังคงเดินหน้าเชื่อมต่อการทำงานจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่จะนำมาซึ่งความแข็งแกร่งของทั้งสองฝ่าย สู่เป้าหมายที่จะร่วมทำให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดที่ต่างต้องปรับตัวให้มีความพร้อม

​ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นอีกความร่วมมือครั้งสำคัญของ AIS กับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งด้านวิศวกรรมบนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อการผลิต อย่าง ออมรอน (OMRON) ที่ครั้งนี้เป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสาร ประยุกต์การเชื่อมต่อเทคโนโลยีการผลิต ผนวก Information Technology (IT) กับ Operation Technology (OT) อย่างไร้ขีดจำกัดและจะได้ร่วมกันสร้างโซลูชั่นใหม่ ยกระดับภาคการผลิตสู่การเป็น Smart Man.cturing อย่างสมบูรณ์ เพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต บนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล AIS 5G ที่มีออกแบบได้ตามความต้องการใช้งานในรูปแบบเครือข่ายเฉพาะ (Private Network) เพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของข้อมูล เพิ่มความเร็ว ลดความหน่วง (Latency) เพื่อการรองรับการทำงาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบ"

โดยการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ระหว่าง AIS และออมรอน (OMRON) จะเปิดขีดความสามารถใหม่ที่ยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม บนโครงสร้างพื้นฐาน 5G และดิจิทัลเทคโนโลยีที่ช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต อาทิ ความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นต่อข้อกำหนด (Flexible Man.cturing) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าจำนวนน้อย (Small Lot Size Production) การสอบย้อนกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม (Traceability) และระบบซ่อมบำรุงเชิงรุก (Predictive Maintenance) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยโซลูชันบนโครงสร้างพื้นฐาน 5G Private Network ที่เพิ่มความปลอดภัย ภายใต้การลงทุนที่เหมาะสม สามารถควบคุมต้นทุนได้ในขณะที่ยังคงความสามารถในการผลิต และการแข่งขัน หรือแม้แต่ในเรื่องของการจัดการวัตถุดิบให้ถูกต้อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีควบคุมระยะไกลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ เพิ่มความแม่นยำ ลดเวลาสิ้นเปลืองการใช้แรงงานทำให้บุคลากรสามารถใช้เวลากับการทำงานด้านอื่นได้มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดคือภาพของภาคการผลิตแบบอัจฉริยะ หรือ Smart Man.cturing ทั้งนี้จึงเกิดเป็นโซลูชั่นต้นแบบที่จะสร้างประโยชน์จากการนำศักยภาพของทั้งสองมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ

• หุ่นยนต์รถลำเลียงอัจฉริยะ Autonomous Mobile Robot (AMR) อาศัยแผนที่ในการกำหนดเส้นทาง โดยไม่ต้องตีเส้น ซึ่งการสร้างแผนที่จะให้การทำงานรวดเร็ว ง่ายดาย ที่ตัวอุปกรณ์จะมีเซนเซอร์สแกนพื้นที่โดยรอบบริเวณแล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแผนที่ในการลำเลียงสิ่งของ บนเครือข่าย 5G Private Network 

• สายการผลิตแบบยืดหยุ่น Layout-free Production Line การนำเสนอโซลูชั่นที่สามารถสร้างสายการผลิตแบบยืดหยุ่น โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการการผลิตและสภาพแวดล้อมของพื้นที่รวมถึงข้อจำกัดอื่นๆ รองรับความต้องการของการจัดสายงานการผลิตที่หลากหลาย สามารถออกแบบให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตามรูปแบบ การใช้งาน

• การตรวจจับด้วย Sensors ด้วยอุปกรณ์หรือกล้องความละเอียดสูง เก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เครื่องจักรในพื้นที่โรงงาน และนำไปประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้คาดการณ์ความผิดปกติ เป็นข้อมูลในการตรวจสอบและแก้ไขก่อนเกิดปัญหาต่างๆ ได้ทันที   

นางสาวศิริวรรณ คูอัมพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัด กล่าวเสริมว่า "ออมรอน ในฐานะผู้นำด้านให้บริการด้านเทคโนโลยีด้านการผลิตทั้งสินค้า บริการ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ให้กับภาคอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้ง ยานยนต์,ผู้ผลิตชิ้นส่วน กลุ่มอีเลคทรอนิค์-เครื่องใช้ไฟฟ้า, กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน-เซมิคอนดัคเตอร์ ตลอดจน อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องอุปโภค และยา ความร่วมมือกับ AIS ในครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งสำคัญของ ออมรอน ที่จะเดินหน้ายกระดับเทคโนโลยีโซลูชั่น ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลที่เร็วและเสถียรภายใต้การทำงานของ5G ซึ่งข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นแง่พื้นที่หรือความครอบคลุมของสัญญาน ความหลากหลายของอุปกรณ์ตั้งแต่เซนเซอร์จนถึงหุ่นยนต์ ทุกหน่วยการผลิตจะสามารถเชื่อมโยงกับระบบการจัดการได้ด้วยความปลอดภัยภายใต้ 5G Private Network  เพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานแบบ Industry 4.0ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหลักของการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งเรามีความคาดหวังที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีในภาคส่วนของอุตสาหกรรมมีความแข็งแกร่งผ่านการใช้ศักยภาพของทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตที่เราจะเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนำพาลูกค้าก้าวไปสู่อนาคตด้วยเทคโนโลยี 5G"
#2946



นางสาวสภัทร์พร ธรรมาภรณ์พิลาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้มีหนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) เข้าร่วมมาตรการเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ตามความเหมาะสมเพื่อร่วมกันฟันฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อ "พิโกไฟแนนซ์" มีจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ  "พิโกไฟแนนซ์" และเปิดดำเนินการแล้วสะสมสุทธิ 985 ราย ใน 75 จังหวัด ได้แก่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (579 ราย)
ภาคกลาง (161 ราย)
ภาคเหนือ (126 ราย)
ภาคตะวันออก (67 ราย)
ภาคใต้ (52 ราย)
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่ "กระทรวงการคลัง" ได้เปิดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 553,974 บัญชี รวมเป็นวงเงิน 12,698.10 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 22,921.83 บาทต่อบัญชี ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

เผยอดีตอันแสนเลวร้ายของผู้หญิงที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทย...
BKK Delivery
ภารโรงได้เงินถึง 45 ล้าน เพราะเจอสิ่งนี้ในโถส้วม...
BKK Delivery
อื้อฉาว!หญิงวัย 58 มีใบหน้าเหมือนเด็ก นี่คือสิ่งที่เธอทำตอนกลางคืน
Women'sbeauty

(1) สินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์สะสมสุทธิทั้งสิ้น885 ราย ใน 74 จังหวัดและมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 847 รายใน 74 จังหวัดโดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

นครราชสีมา (79 ราย)
กรุงเทพมหานคร (67 ราย)
ขอนแก่น (51 ราย)
(2) สินเชื่อประเภทพิโกพลัส ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสสะสมสุทธิทั้งสิ้น 156 รายใน 49 จังหวัดและมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 138 ราย ใน 45 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด3 อันดับแรก ได้แก่


นครราชสีมา (20 ราย)
อุดรธานี (9 ราย)
อุบลราชธานี และกรุงเทพมหานคร (จังหวัดละ 8 ราย)
(3) ภาพรวมสถานะสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 198,217 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 4,233.97 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อค้างชำระ 1 - 3 เดือน สะสมรวมทั้งสิ้น 27,432 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 627.87 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.83 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม และมีสินเชื่อค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) สะสมรวมจำนวน 32,440 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 748.27 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.67 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม


นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ยังคงดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมายซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมายจำนวนสะสม 9,596ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 244 ราย

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่


• สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน1599
• ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567
• ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359
• ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) โทร.025753344
#2947



บมจ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) หุ้นไอพีโออนาคตไกลขายเกลี้ยง 150 ล้านหุ้น มีแผนเข้าเทรด SET วันที่ 2 ส.ค.นี้ ชูจุดเด่น Intelligent Transportation Systems บิ๊กบอส "มารุต ศิริโก" มั่นใจอนาคตยังไปได้อีกไกล ธุรกิจอยู่ในเมกะเทรนด์โครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชน และสมาร์ทซิตี้ เผย AMR มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี เป็นบริษัทคนไทยที่มีศักยภาพและมาตรฐานการทำงานเทียบเท่าต่างชาติ ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้อย่างลงตัว มีโอกาสคว้างานใหม่เพียบ

 

นายดิถดนัย สังขะรมย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMR) เปิดเผยว่า การจองซื้อหุ้นไอพีโอของ AMR  จำนวน 150 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น ในราคาหุ้นละ 6.90 บาท ระหว่างวันที่ 21 – 23 ก.ค.2564 ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างคึกคัก มีนักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน จองซื้อเข้ามาเกินจำนวนเสนอขาย เนื่องจากมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานของ AMR ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการวางระบบเทคโนโลยีโซลูชั่นแบบครบวงจร ธุรกิจอยู่ในเมกะเทรนด์ จากการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนของประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ ทำให้มีโอกาสได้งานใหม่เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก 

 

ทั้งนี้ หุ้น AMR ได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันและรายย่อยอย่างมาก  เนื่องจากการกำหนดราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) เท่ากับ 15.33 เท่า (Post-IPO Dilution) ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ และมีส่วนลดให้กับนักลงทุน  มีแผนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 2 ส.ค.2564 ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

"AMR เป็นหุ้นไอทีโซลูชั่น มีฐานะทางการเงินที่มีความแข็งแกร่ง มีจุดเด่นในเรื่อง Intelligent Transportation Systems เป็นบริษัทฯ ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะธุรกิจที่เติบโตตามเมกะเทรนด์ ซึ่งประเทศไทยยังต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชน ไอที และพลังงาน อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะคว้างานใหม่ๆ เพิ่มเติมได้อีกมากในอนาคต อีกทั้งจากวิสัยทัศน์ของทีมผู้บริหาร ที่เตรียมพร้อมขยายการลงทุน เข้าสู่ธุรกิจการให้บริการ Feeder Line และ Smart City เพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน" นายดิถดนัย กล่าวในที่สุด

 

นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMR) กล่าวว่า เป้าหมายการระดมทุนผ่านการขายหุ้นไอพีโอในครั้งนี้ บริษัทฯ เตรียมนำเงินที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจด้านคมนาคมขนส่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Feeder Line การลงทุนธุรกิจ EV Charging Station และ Smart City ในสัดส่วนร้อยละ 85 รวมถึงนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในสัดส่วนร้อยละ 10 และใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในสัดส่วนร้อยละ 5

 

"ผมมั่นใจว่าธุรกิจของ AMR ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบขนส่งไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าทางคู่ รถไฟตามต่างจังหวัด รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ หรือการขยายการลงทุนในหัวเมืองหลัก ทำให้ AMR มีโอกาสได้งานใหม่เพิ่มเติม"

 

เขากล่าวอีกว่า จากประสบการณ์การดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 20 ปี ภายใต้จุดแข็งเป็นผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร และป็นบริษัทฯ คนไทยที่มีศักยภาพและมาตรฐานการทำงานเทียบเท่าต่างชาติ สามารถออกแบบและวางระบบ ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้อย่างลงตัว อีกทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ยิ่งทำให้เห็นว่า AMR สามารถเข้าไปแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ทันที ขณะที่การให้บริการของคู่แข่งที่เป็นต่างชาติ อาจมีข้อจำกัดในช่วงรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ประเทศ 

 

"หลังจากที่ได้รับเงินจากการระดมทุนในครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและนานาชาติ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันประมูลงานขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น  โดยเป้าหมายหลักของการใช้เงินราว 85% จะใช้เพื่อลงทุนและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งคณะผู้บริหารและพนักงานของ AMR ทุกคนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานให้โดดเด่นและยั่งยืนในอนาคต และหวังว่า AMR จะเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน" นายมารุต กล่าวในที่สุด
#2948




นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ภาครัฐและเอกชน ดังนี้

1. มาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) กรอบวงเงิน 23,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียนในระบบการศึกษาไทย ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2564 ดังนี้


-สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง 2,000 บาท/นักเรียน 1 คน


-จัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อช่วยจัดการเรียนรู้


-ลดหรือตรึงค่าใช้จ่ายในโรงเรียนเอกชนให้เท่ากับปีการศึกษา 63



2. มาตรการการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม (อว) กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท


กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิต/นักศึกษาชาวไทย ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
แนวทางการดำเนินการ


-สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะได้รับส่วนลดเป็นลักษณะร่วมจ่ายระหว่างรัฐและสถาบันอุดมศึกษาในอัตรา 6:4 โดยค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษาส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลดร้อยละ 50 / 50,001 - 100,000 บาท ลดร้อยละ 30 และเกิน 100,000 บาท ลดร้อยละ 10 โดยส่วนลดสูงสุดรวมกันไม่เกินร้อยละ 50


-สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษา รัฐสนับสนุนในอัตรา 5,000 บาท/คน


นอกจากนี้ กระทรวง อว. ยังขอให้พิจารณาเพิ่มเติม ทั้งขยายเวลาผ่อนชำระ จัดหาอุปกรณ์/โปรแกรมสำหรับยืมเรียนออนไลน์ รวมทั้งลดค่าหอพักด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า ศธ. และ อว. จะได้เร่งจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนแหล่งเงิน ตามขั้นตอนของ พ.ร.ก. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รวมทั้ง จะมีการกำหนดกลไกการตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือและการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผ่านระบบบัญชีธนาคาร พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงหลักการและแนวทางการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชนต่อไป
#2949




อาเซียนนัดประชุมต้น ส.ค.นี้ ติดตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 พร้อมเดินหน้าเพิ่มบัญชีสินค้าจำเป็นที่ห้ามจำกัดส่งออก นอกเหนือจากยา และเวชภัณฑ์ ลุยเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างสภาพแวดล้อมด้านดิจิทัล และนัดคู่เจรจา 13 ประเทศ หารือเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ติดตามผลอัปเกรดเอฟทีเอ การทำเอฟทีเอกับแคนาดา

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อาเซียนได้กำหนดจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 3/52 ในวันที่ 2-4 ส.ค. 2564 และการประชุมกับประเทศนอกภูมิภาค 13 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคนาดา อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 5, 11 และ 16 ส.ค. 2564 ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEM ครั้งที่ 53 ในเดือน ก.ย. 2564

ทั้งนี้ การประชุม SEOM จะมีการติดตามการดำเนินงานสำคัญของอาเซียน โดยเฉพาะการเร่งฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาคจากการระบาดของโควิด-19 การอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อรักษาและส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาขยายบัญชีสินค้าจำเป็นที่อาเซียนจะไม่จำกัดการส่งออกในช่วงโควิดเพิ่มเติมจากยา และเวชภัณฑ์ เช่น อาหาร รวมถึงการเพิ่มบทบาทอาเซียนเชิงรุกในการพัฒนาภูมิภาคให้ตอบรับกับแนวโน้มของโลก ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การพัฒนาสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมจะติดตามเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงานด้านเศรษฐกิจที่บรูไนฯ ในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2564 ภายใต้แนวคิด "We care, we prepare, we prosper" ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู ด้านการเป็นดิจิทัล และด้านความยั่งยืน รวม 13 ประเด็น เช่น การจัดทำเครื่องมือในการประเมินมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการจัดทำกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นต้น

สำหรับการประชุมอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค 13 ประเทศ จะเน้นการหารือเพื่อเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และมีประเด็นที่ต้องติดตาม เช่น การทบทวนความตกลงการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย การเปิดเสรีสินค้าเพิ่มเติมภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการเตรียมการเสนอรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาความเป็นไปได้การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา เป็นต้น

ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในปี 2563 มีมูลค่า 94,623.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียน 55,454.28 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน 39,169.54 ล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลการค้า 16,284.74 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 5 เดือนปี 2564 (ม.ค.-พ.ค.) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 45,267.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.44% โดยไทยส่งออกไปอาเซียน 26,224.69 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน 19,042.71 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์
#2950



บริษัทเทสลา อิงค์ หรือ Tesla บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่ที่มีมูลค่าแบรนด์เป็นอันดับ 1 ของโลก รายงานงบการเงินงวดไตรมาส 2/2564 เผยมีกำไรสุทธิเกิน 1 พันล้านดอลลาร์ เป็นไตรมาสแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งขณะเดียวกันกลับขาดทุนจากการถือครองบิทคอยน์กว่า 23 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทไทยประมาณ 758 ล้านบาท

จากการรายงานของ Cryptopotato ระบุถึงงบการเงินงวดบัญชี 2/2564 ของ Tesla, Inc ซึ่งถึงแม้ว่าบริษัทจะมีกำไรจากผลประกอบการในส่วนของการผลิตและจำหน่ายรถยนต์ แต่ในทางกลับการด้านการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลหรือ Crypto กลับพบว่า มีการขาดทุนจาก Bitcoin ถึงกว่า 758 ล้านบาท หรือ 23 ล้านดอลลาร์ จากตลาดขาลงในช่วงไตรมาส 2/2564 โดยบริษัทจัดประเภทของคริปโทเคอร์เรนซีในทางบัญชีเป็น "สินทรัพย์ไม่มีตัวตน ที่ไม่มีกำหนดอายุ"

ทังนี้ตามมาตรฐานของสหรัฐอเมริกา นักบัญชีต้องบันทึกมูลค่าการลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลของตน ณ เวลาที่จัดหา หากคริปโทเคอร์เรนซีราคาปรับขึ้นจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ตราบใดที่บริษัทยังคงถือไว้อยู่ ธุรกิจจะบันทึกรายการได้เฉพาะกรณีขายสินทรัพย์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อราคาปรับลดลงบริษัทต้องบันทึกการลดลงของเงินลงทุน เป็นการด้อยค่าของสินทรัพย์ด้วยเช่นกัน

ขณะที่ อีลอน มัสก์ CEO ของ TESLA ได้กลับลำออกมายอมรับว่าลูกค้าสามารถชำระค่าสินค้าและบริการของเทสลาด้วยเหรียญบิทคอยน์ได้อีกครั้ง หากเหรียญคริปโตนั้นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากพอ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้ปฏิเสธการรับชำระด้วยเหรียญบิทคอยน์โดยให้เหตุผลว่าบิทคอยน์นั้นใช้พลังงานจำนวนมากและส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์
#2951



ครั้งแรกของการผนึกกำลังของตัวจริงเรื่องชั้นในชาย เมื่อ เจ.เพลส (J.Press) หนึ่งในผู้ผลิตกางเกงชั้นในชายรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยกว่า 38 ปี การันตี คุณภาพระดับสากล ด้วยการผลิตสินค้าให้แบรนด์เนมระดับโลกมานับไม่ถ้วน และ "เบ้อเร่อ" (BERRER) เจ้าตลาดเสื้อผ้าผู้ชายไซส์ใหญ่ แบรนด์ดังสุดชิคในหมู่หนุ่มๆ ไซส์ เบ้อเร่อที่รักการแต่งตัวอย่างมั่นใจ เท่ในสไตล์ที่เป็นตัวเอง เปิดแคมเปญ "J.PRESS x BERRER สบายหนุ่มสไตล์เบ้อเร่อ" เอาใจหนุ่มไซส์ใหญ่ ด้วยกางเกงชั้นในคุณภาพเยี่ยมถึงสองรุ่น

กางเกงสองรุ่นนี้มาพร้อมคุณสมบัติพิเศษ เนื้อผ้านุ่มสบาย ยืดหยุ่นสูง ระบายอากาศได้ดี รอบวงขานุ่มและช่วงขอบเอวเป็นผ้าไม่ระคายเคืองผิวสัมผัส และสามารถยืดได้สูงสุดถึง 56 นิ้ว ในขนาดตั้งแต่ 40"-44" / 44"-48" / 48"-52" / 52"-56" (นิ้ว) เอาใจคุณผู้ชายและคุณสาวๆ ที่ต้องดูแลหนุ่มๆ หุ่นเบ้อเร่อที่บ้าน

"J.Press x BERRER" มีด้วยกัน 2 รุ่น คือ รุ่น Perfect Style เป็นกางเกงในทรง Brief (ขาเว้า) มีสีขาวและเทาอ่อน เหมาะกับหนุ่มๆ ที่ต้องการความเนี๊ยบ ดีไซน์ขอบขา เว้าโอบกระชับ เคลื่อนไหวสะดวก ยืดหยุ่นกระชับแต่ไม่เจ็บต้นขา และ รุ่น Strong Style เป็นกางเกงในทรง Trunk (ขาสั้น) มีสีดำและสีเทาเข้ม สำหรับคนรุ่นใหม่ไลฟ์ สไตล์ลุยๆ ด้วยทรงขายาวเข้ารูป แต่วงขานุ่มด้วยการตัดเย็บชั้นเยี่ยม ช่วยป้องกัน การเสียดสีต้นขาได้ดี ปลายขากระชับ ใส่สบายไม่อึดอัด ในราคา 590 บาท / แพค 2 ตัว
#2952


แม้ในห้วงวิกฤติเศรษฐกิจที่มีผลจากการหดตัวลงของการค้าทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเจ้าไวรัสโควิด-19 ที่ทำเอาการค้าอัญมณีและเครื่องประดับหัวทิ่มหัวตำไปตามๆกัน ไม่จำเพาะแต่บ้านเราที่ถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ทั้งการขายอัญมณีพลอยก้อน พลอยร่วง (พลอยที่ยังไม่เข้าตัวเรือนเป็นเครื่องประดับ) และที่นำโด่งกว่าใครๆก็คือการเป็นผู้ผลิตและส่งออกเครื่องประดับเงิน ซึ่งถือเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ที่สุดของโลกอีกด้วย

นับตั้งแต่โควิด-19 ทำพิษมาตั้งแต่ต้นปี 2563 จนถึงสิ้นปี 2563 การค้าเครื่องประดับและอัญมณีดิ่งหัวลงสวนทางกับการแพร่กระจายของไวรัส เพราะในปีที่ผ่านมาทั้งโลกยังคงตระหนกกับการกลายพันธุ์ของไวรัส และจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้น

มาในปีนี้ หลายประเทศได้มีการฉีดวัคซีนกันไปแล้ว แม้จะไม่สามารถสร้างให้เกิด Herd Immunity หรือภูมิคุ้มกันหมู่ได้อย่างทฤษฎี แต่ประเทศในแถบยุโรป และหลายรัฐในอเมริกา ก็เริ่มปลดล็อคและหันมาทำการค้าการขายกันได้มากขึ้น แม้จะไม่มากเหมือนในช่วงเวลาก่อนการระบาดของโควิดก็ตาม อัญมณีและเครื่องประดับก็มีแนวโน้มจะกลับมาสร้างความสดใสให้กับผู้บริโภค หลังจากที่ต้องเก็บตัวอยู่กับบ้านมาเป็นเวลาแรมปี

บ้านเราซึ่งเป็นแหล่งค้าพลอยอันดับโลก พลอยได้รับอานิสงค์ของการเปิดให้ทำการค้าขายด้วย โดยพลอยร่วงของบ้านเราก็ทำการเจียระไน และส่งออกไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะในทางยุโรปเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะส่งไปยังสหราชอาณาจักร สูงขึ้นถึงร้อยละ 53.71 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (มกราคม - พฤษภาคม 2563) ในทำนองเดียวกันตลาดอย่างประเทศออสเตรเลีย ไทยเราก็ขายไปให้เขาได้สูงขึ้นถึงร้อยละ 456.21 มากถึงสี่เท่าครึ่งทีเดียว ตลาดเก่าและตลาดใหม่ ที่เพิ่มสูงขึ้นนี้มีทั้งตลาดที่ยังคงมีอัตราการติดเชื้อสูง และมีทั้งประเทศที่มีอัตราการระบาดยังคงต่ำอยู่ ซึ่งทำให้ทิศทางของพลอยสีบ้านเรานั้นมีทางรอดจากทั้งสองตลาดนี้ได้

สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ
สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ


มาถึงพระเอกของตลาดเครื่องประดับกันบ้าง เรามีชื่อเสียงด้านการผลิตและส่งออกเครื่องประดับเงินมาอย่างยาวนาน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศที่สามารถควบคุมโควิด หรือปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตให้อยู่กับไวรัสตัวนี้ได้ ทำให้ผู้คนเริ่มกลับมาใช้ชีวิตเกือบเป็นปกติ โดยมีการปรับพฤติกรรมแบบ New normal ส่งผลให้การส่งออกเครื่องประดับเงินของบ้านเรานั้น มีทิศทางสดใสขึ้นแบบอาทิตย์ขึ้นในยามเช้าทีเดียว โดยเฉพาะเครื่องประดับเงินที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และ ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นโดยรวมถึงร้อยละ 20.26 นำเม็ดเงินมูลค่าถึง 620.91 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้ามาในเมืองไทย พอให้ผู้ผลิตสินค้าเครื่องประดับเงินพอได้หายใจคล่องขึ้น

แต่จากการลองสำรวจ พบว่า แนวโน้มผู้บริโภคสินค้าเครื่องประดับเงิน จะซื้อสินค้าที่มีขนาดและราคาย่อมเยาลง ดังนั้นผู้ประกอบการเครื่องเงินจึงต้องประคับประคองตัวด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆให้ถูกใจตลาดมากแบบยิ่งขึ้น และเมื่อราคาต่อชิ้นถูกลง แน่นอนว่าระดับของอายุผู้ใช้เครื่องประดับเงินก็น่าจะขยายวงกว้างมากขึ้นอีกด้วย

หันมาดูการสนับสนุนจากภาครัฐ จะเห็นได้ว่าเราพยายามจะต่อรองกับนานาชาติในภาพรวม เป็นลักษณะข้อตกลงทางการค้าทวิภาคี หรือพหุภาคี หรือถ้าจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ รัฐบาลของเราไปตกลงกับรัฐบาลผู้นำเข้าสินค้าของเราให้ลดข้อจำกัดในการนำเข้าลง เช่น ลดภาษี หรือส่งเสริมให้มีการซื้อขายแบบจับคู่ เราซื้อเขา เขาซื้อเรา

แต่ทว่า การตกลงกันในระดับรัฐบาล ต่อ รัฐบาล ในวันนี้ก็อาจจะยังไม่พอ จึงได้มีความพยายามที่จะลงลึกและกว้างลงไปถึงการไปเจรจากับระดับเมืองกันเลยทีเดียว ล่าสุด เรารู้ว่าชาวโคฟุ เมืองยามานาชิ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอยู่ในภูมิภาคชูบุ แหล่งปลูกองุ่นเคียวโฮ ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเฉพาะสถานที่มีชื่อเสียงอย่างทะเลสาบคาวากุจิโกะ ที่มีจุดถ่ายรูปฟูจิซัง หรือภูเขาไฟฟูจิอันสวยงาม ดินแดนอันมีมนต์เสน่ห์แห่งนี้ยังมีความสามารถเรื่องการทำตัวเรือนเครื่องประดับ และเป็นแหล่งผลิตเครื่องประดับชั้นนำของญี่ปุ่น ที่มีช่างฝีมือมากมาย อีกทั้งเมืองแห่งนี้ยังมีชื่อเสียงด้านการทำคริสตัลที่อย่างยาวนาน



การมีข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทย และเมืองโคฟุ นั้นเท่ากับเป็นการเข้าไปล้วงถึงตับ ล้วงถึงแหล่ง ของคนที่ต้องนำเอาพลอยไปใช้จริง แนวโน้มเช่นนี้ จึงเป็นกลยุทธ์ที่เรียกกันว่า "เปิดโอกาสการค้า พัฒนาพันธมิตรเมืองรอง" อันจะทำให้เราสามารถเจรจาโดยตรงกับคนใช้งาน ไม่ต้องผ่านชั้นขั้นตอนต่างๆ ให้เสียเวลา เพราะการค้าต้องทำอย่างรวดเร็ว การยิงลูกตรงเพื่อไปตุงตาข่ายฝ่ายผู้ซื้อแบบนี้ช่วยให้เราสามารถสร้างยอดขายได้อย่างไม่ยากนัก

การลงนามความร่วมมือเชิงลึกในระดับเมืองของประเทศที่มี FTA กันแบบเดิม บวกกับนโยบายการรุกคืบแบบ พันธมิตรเมืองรอง ทำให้การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่าง SME ทั้งสองประเทศเป็นไปอย่างรวดเร็ว ตรงเป้า และเชื่อได้ว่านี่ไม่ได้เป็นเพียงคู่เจรจาเดียวที่จะเกิดขึ้น แต่จะเกิดขึ้นกับเมืองรองอื่นๆ โดยตรงต่อไป

ไทยรวมพลังฝ่าฟันวิกฤติด้วยธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ร่วมประสานการขับเคลื่อนโดย หน่วยงานภาครัฐ สมาคมการค้า สมาคมผู้ผลิต และประสานความร่วมมือจากสถาบันแห่งชาติด้านอัญมณี อย่างสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT น่าจะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยฝ่าวิกฤตินี้ไปได้ อย่างไรก็ดีการโต้คลื่นเศรษฐกิจในปัจจุบัน เราจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วในทุกด้าน การควบคุมค่าใช้จ่าย และพัฒนาด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นทิศทางสู่การรอดจากวิกฤติครั้งนี้ได้อย่างแน่นอน
#2953


ในยุคทองแห่งการขายออนไลน์แบบนี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีสำหรับคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่กำลังเรียนหนังสือและอยากมีรายได้เสริมไปด้วย การขายของออนไลน์จึงเป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีที่ช่วย สร้างรายได้ตั้งแต่วัยเรียน อีกทั้งถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

ภายในงาน LINE SHOPPING Academy Bootcamp ผู้เข้าร่วมจะได้รับการติวเข้ม และได้ฟังการแชร์ประสบการณ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการแนะเส้นทางเริ่มขายของออนไลน์จากทีมงาน LINE ประเทศไทยโดยตรง รวมถึงเหล่าวิทยากรชื่อดังที่มากประสบการณ์ และตบท้ายด้วยการร่วมพูดคุยกับเจ้าของ Brand ที่มียอดขายปังบน LINE SHOPPING ได้แก่ ร้าน TRES, COPPER.BKK และ Dairy Home ซึ่งจะมาแชร์ประสบการณ์ตรงให้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับผู้เริ่มต้นก้าวเข้าสู่การเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เจเนอเรชั่นใหม่

โดยงานนี้จะจัดขึ้นใน วันศุกร์ที่ 30 กรกฏาคม 2564 เวลา: 10:00 น. - 16:00 น.
ช่องทาง: สัมมนาออนไลน์ โดยหลังจากลงทะเบียนแล้ว ให้คลิกเข้าร่วม OpenChat เพื่อรับลิงก์เข้าเรียน​

เนื้อหาของบูทแคมป์
10.00 น. - 10.15 น. เริ่มกิจกรรมและเข้าเรียน
10.15 น. - 10.45 น. "สร้างรายได้จากการขายของออนไลน์ เริ่มต้นที่ LINE" โดยทีมงาน LINE ประเทศไทย
11.00 น. - 11.30 น. "Digital Marketing สำหรับ New Gen เริ่มขายของออนไลน์" ​โดย คุณโซอี้ Digital Shortcut
11.30 น. - 12.00 น. "Content ตรงใจ สื่อสารตรงจุด เพิ่มยอดขายเห็นๆ" ​โดย คุณเอิ้น iT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง
12.00 น. - 13.00 น. ----- พักกลางวัน -----
13.00 น. - 13.30 น. "เริ่มต้นการขายของบน LINE SHOPPING" โดยทีมงาน LINE ประเทศไทย
13.45 น. - 15.30 น. Brand Talk พูดคุยกับแบรนด์สุดปัง แชร์ประสบการณ์เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์วัยเรียน
15.30 น. - 16.00 น. กิจกรรมแจกรางวัลและปิดงาน

โดยมีวิทยากรท่านแรก คือ คุณโซอี้ ภญ.โสภา พิมพ์สิริพานิชย์ LINE Certified Coach และ เจ้าของเพจ โซอี้ Digital Shortcut : การตลาดออนไลน์ มามอบความรู้ในหัวข้อ "Digital Marketing สำหรับ New Gen เริ่มขายของออนไลน์" เผยเทคนิคการตลาดออนไลน์สำหรับร้านค้ามือใหม่ให้เปิดร้านก็ได้อย่างง่ายๆ



วิทยากรท่านที่สอง คุณเอิ้น ดร.ปานระพี รพิพันธุ์ จากเพจ iT24Hrs - ไอที 24 ชั่วโมง มามอบความรู้ในหัวข้อ "Content ตรงใจ สื่อสารตรงจุด เพิ่มยอดขายได้เห็นๆ"  เจาะลึกการสร้างคอนเทนต์ สื่อสารกับลูกค้าให้ตรงจุด ช่วยให้ร้านขายดีกันแน่นอน
#2954


มาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 กรณีเงินเยียวยา สำหรับ แรงงาน 9 กลุ่มอาชีพ ใน 13 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด ที่ประกาศ ล็อกดาวน์ โดยประกันสังคม เปิดลงทะเบียนผ่าน www.sso.go.th ล่าสุด ได้มีรายละเอียดของการจ่ายเงินเยียวยาให้กับกลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 33 39 และ 40 ออกมาแล้วว่าระบบจะโอนเงินเข้าวันไหน

สำหรับรายละเอียดสำคัญในการรับเงินเยียวยานั้น ผู้ประกันตนมาตรา 33 สามารถตรวจสอบสิทธิรับเงินเยียวยาผ่านช่องทางออนไลน์ได้ คลิกที่นี่ ขณะที่ กลุ่มผู้ประกันตน ม.39 ม.40 ยังไม่เปิดตรวจสอบสิทธิผ่านออนไลน์

ยิ่งไปกว่านั้น ต้องไม่ลืมว่า หากได้รับสิทธิ ต้องผูกพร้อมเพย์ กับบัญชีธนาคารด้วยเลขบัตรประชาชน เพื่อรับการโอนเงิน


รายละเอียดหลักเกณฑ์ และช่วงเวลาของการจ่ายเงินเยียวยา ประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 33

กลุ่มผู้ประกันตนมาตรา 33 39 และ 40 นั้น จะมีรายละเอียด ตลอดจนหลักเกณฑ์ในการรับเงินเยียวยาจากประกันสังคมในกรณีที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 แตกต่างกันไป ดังนี้ 

กลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 33 มีเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การรับเงินเยียวยา จากประกันสังคม คือ 

ผู้ประกันตน มาตรา 33  ใน 9 กิจการ 10 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้มที่ถูกล็อกดาวน์ช่วงแรก ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร  นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา จะได้รับเงินเยียวยาในวันที่ 6 สิงหาคม 2564 สามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ ได้ที่ www.sso.go.th 

ผู้ประกันตน มาตรา 33 ใน 3 จังหวัดพื้นที่สีแดงเข้ม ที่ประกาศล็อกดาวน์เพิ่มเติม คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ได้รับเงินเยียวยาภายในเดือน สิงหาคม 2564
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

สมัคร 'ประกันสังคม ม.40' ได้สิทธิอะไรบ้าง แล้วจะเสียสิทธิ 'บัตรทอง' ไหม?
เช็คสิทธิ์เยียวยา 'ประกันสังคม มาตรา 33' บางคน 'ไม่ได้รับสิทธิ' เป็นเพราะอะไร?
'ประกันสังคม' ม.33 ม.39 ม.40 www.sso.go.th เช็ควิธีผูกพร้อมเพย์รับเงินเยียวยา


ยอด 'โควิด-19' วันนี้ ทะลุหมื่นห้า! พบเสียชีวิต 129 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 15,335 ราย
'ประกันสังคม' ผู้ประกันตนมาตรา 33 39 40 สรุปรายละเอียดรับ 'เงินเยียวยา' วันไหน
เปิดแผนจัดสรรวัคซีน 13ล้านโดสเดือนสิงหาคมใครได้ฉีดบ้าง

รายละเอียดหลักเกณฑ์ และช่วงเวลาของการจ่ายเงินเยียวยา ประกันสังคม ผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40


กลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 39 และ กลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 40 มีเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การรับเงินเยียวยา จากประกันสังคม คือ  

กลุ่มนี้ ผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนในมาตรา 39 และ 40 ก่อนวันที่ 28 มิ.ย. 2564 ให้รีบสมัครภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 กับสำนักงานประกันสังคม เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาทจำนวน 1 เดือน สามารถลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ คลิกที่นี่ ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่สรุปจะโอนเงินเมื่อไร ต้องรอลงทะเบียนให้ครบก่อน 
ช่องทางการรับเงินเยียวยาประกันสังคม

ผ่านระบบพร้อมเพย์
วิธีการและช่องทางการลงทะเบียนของแต่ละธนาคาร ตามลิงก์ต่อไปนี้ ธนาคารกรุงเทพ คลิกที่นี่ธนาคารกรุงไทย คลิกที่นี่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คลิกที่นี่ธนาคารกสิกรไทย คลิกที่นี่ธนาคารไทยพาณิชย์ คลิกที่นี่ธนาคารออมสิน คลิกที่นี่ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย คลิกที่นี่ธนาคารทีเอ็มบีธนชาต คลิกที่นี่ธนาคารทิสโก้ คลิกที่นี่ธนาคารไทยเครดิต คลิกที่นี่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คลิกที่นี่ธนาคารยูโอบี คลิกที่นี่ธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์ คลิกที่นี่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ คลิกที่นี่ธนาคารอิสลาม คลิกที่นี่
#2955


    สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ "อย." ให้ประชาชน ซื้อ "ชุดตรวจโควิด-19" ได้เองแล้ว เช็ครายละเอียดของ Antigen Test Kits ที่วางขายทั้งหมดได้ ที่นี่

    ศบค. รายงานถึงความคืบหน้าในการอนุญาตให้ประชาชนสามารถซื้อหาชุดตรวจโควิด-19 หรือ Antigen Test Kits เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 เบื้องต้น เองได้ ในขณะนี้นั้น ผู้ที่สนใจ หรือต้องการใช้ชุดตรวจโควิด-19 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. อนุญาตให้ ทุกคนสามารถซื้อชุดตรวจเองได้แล้ว โดย แบ่งเป็น 2 จุดใหญ่ๆ คือ 
    [list=1]
    • สถานพยาบาล เช่น โรงพยาบาล
    • สถานขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรประจำ 
    ยิ่งไปกว่านั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. เองยังได้รวมรายละเอียดเกี่ยวกับชุดตรวจโควิด-19 หรือ Antigen Test Kits ที่ปลอดภัย และได้มาตรฐานตามข้อกำหนด โดยผู้ที่สนใจ หรือต้องการทราบรายละเอียดสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อของชุดตรวจได้ทางช่องทางออนไลน์ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ คลิกที่นี่ 


    โดยรายละเอียดของชุดตรวจโควิด-19 และน้ำยา Antigen Test Kits ที่ได้รับการอนุญาตผลิต และนำเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลักด้วยกัน คือ 
    #2956
    รวมไลน์สติกเกอร์แจกฟรี! ประจำวันที่ 14 กรกฎาคม 2021 รีบดาว์นโหลดก่อนหมดเวลาhttps://www.chatstickmarket.com/single-post/linestickersforfreeonjuly14-2021

    #2957

      

    วันที่ 25 ก.ค.64 ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า ...

    ***เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนไว้แล้ว"เท่านั้น"****
    ขอทำงานเก่าให้เสร็จก่อนเริ่มใหม่ตามสัญญานะครับ

    เปิดสิทธิ์จองวัคซีนทางเลือก "ซิโนฟาร์ม" สำหรับประชาชน
    เฉพาะกลุ่มที่ลงทะเบียนรอบแรก (18 กรกฎาคม 2564) ได้สำเร็จ
    แต่ยังไม่ได้เข้าจองวัคซีน จำนวน 48,756 ราย

    ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะเปิดให้ท่านเข้าจองวัคซีนได้ในวันอังคารที่ 27 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.10 น. จนถึง 28 กรกฎาคม 2564 เวลา 18.00 น. ผ่าน 2 ช่องทาง
    1) เว็บไซด์ https://sinopharm.cra.ac.th
    2) แอปพลิเคชั่น CRA SINOP ทั้งระบบ iOS และ Android

    เลือกวันเข้ารับการฉีดในโรงพยาบาลที่กำหนดได้ตั้งแต่วันที่ 6-15 สิงหาคม 2564

    ‼️ หากท่านไม่ได้เข้ามาดำเนินการวัคซีนและโอนเงินภายในวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม 2564 ระบบจะยกเลิกการลงทะเบียนของท่านโดยอัตโนมัติ และหากท่านยังมีความประสงค์ในการจองวัคซีนซิโนฟาร์มท่านจะต้องทำการลงทะเบียนใหม่ในครั้งต่อไป

    หมายเหตุ: อัตราค่าวัคซีนซิโนฟาร์ม 2 โดสต่อคน 1,554 บาท (โดสละ 777 บาท)
    โดยทุกๆ 2 โดส ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะบริจาคสมทบครึ่งโดสให้กับผู้ด้อยโอกาส

    *ขอสงวนสิทธิ์เฉพาะสำหรับประชาชนที่ยังไม่เคยรับวัคซีนเข็มแรกและพร้อมเข้าฉีดวัคซีนได้ทันทีเท่านั้น

    **ลงทะเบียนจองวัคซีนด้วยเลขที่บัตรประชาชน หรือเลขที่หนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างชาติ หรือเลขที่บัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยได้ และต้องตรงกับของผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนเท่านั้น ภายหลังจากชำระเงินค่าวัคซีนเรียบร้อยแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนสิทธิ์ให้ผู้อื่นได้ทุกกรณี

    ประกาศ ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2564


    ขอบคุณข้อมูลและภาพ เฟซบุ๊ก-Nithi Mahanonda
    #2958


    Team Thailand จะแข่งแล้ว มาร่วมกดอิโมจิ และส่งข้อความให้กำลังใจนักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทยทั้ง 2 คน ก่อนแข่งนัดสำคัญวันพรุ่งนี้  ในการแข่งขัน Olympic Games Tokyo 2020

    มาร่วมแสดงความคิดเห็นเชิงบวก และส่งมอบกำลังใจก่อนแข่งไปถึงน้องๆ เพื่อเป็นกำลังใจและแรงผลักดันในการแข่งขัน เราจะไม่ปล่อยให้น้องๆต้องสู้เพียงลำพัง เพราะเราคือทีมเดียวกัน #TeamThailand

    ติดตามการแข่งได้ตามวันและเวลาดังต่อไปนี้

    วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม 2564

    น้องเทนนิส เริ่มแข่งเวลา 09.38 น. (เวลาไทย)

    ฝ่ายหญิง รุ่น -49 กก. สนาม 1 คู่ที่ 8

    คู่แข่ง (รอผลคู่ที่ 1)

    น้องจูเนียร์ เริ่มแข่งเวลา 10.48 น. (เวลาไทย)

    ฝ่ายชาย รุ่น -58 กก. สนาม 1 คู่ที่ 13

    คู่แข่งจากประเทศออสเตรเลีย Khalil Safwan

    ร่วมเชียร์และส่งกำลังใจให้กับน้องๆ พาชัยชนะกลับมาฝากคนไทยไปด้วยกัน ผ่านการถ่ายทอดสดทางทีวิดิจิตอล 2 ช่อง คือ GMM 25 และ JKN 18 และทางออนไลน์ AIS Play ช่อง 3

    #Tokyoolympics #Olympics #Tokyo2020 #Taekwondo #TeamThailand #Thailand #Tokyo #TaekwondoAssociationofThailand #สมาคมกีฬาเทควันโดแห่งประเทศไทย
    #2959
    Trading Signals, Forex Signals คืออะไร


    Trading Signals หรือ Forex Signal หมายถึง สัญญาณการค้าเพื่อการเทรด เป็นตัวช่วยให้เราตัดสินใจในการเทรดได้ง่ายขึ้น(ซึ่งบางคนเรียกระบบนี้ว่า "ระบบพรายกระซิบ" ) หรืออาจจะถึงขนาดไม่ต้องเทรดเองเลย ระบบ Signals จะจัดการให้เสร็จสรรพ

    Trading Signals หรือ Forex Signals นั้นเป็นสัญญาณการเข้าซื้อขายในตลาด Forex ซึ่งจะเกิดจากการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน หรือการวิเคราะห์ทางเทคนิคของเหล่าบรรดาเซียน แล้วเอาข้อมูลนั้นมาบอกเราว่าให้เทรดแบบไหนคล้ายๆผู้ช่วยเหลือหรือพรายกระซิบนั่นเอง กลุ่มเทรดทองคำ

    ศัพท์คำนี้จะใช้คู่กับศัพท์อีกคำคือ Forex Signal Providers หรือ Forex Signal Service (ผู้ให้บริการพรายกระซิบ) ซึ่งก็คือ บุคคล หรือกลุ่มองค์กร ที่ให้บริการส่งสัญญาณบอกจังหวะเข้าซื้อขายในตลาดฟอเร็กซ์ ให้กับนักเทรดฟอเร็กซ์ที่สมัครใช้บริการ โดยส่วนใหญ่คิดค่าใช้จ่ายเป็นรายเดือน จะถูกจะแพงก็ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของสัญญาณของบุคคล หรือกลุ่มองค์กรเหล่านั้น

    นักเทรดฟอเร็กซ์บางคนก็ยินดีที่จะใช้บริการเหล่านี้เพราะมีคนคิดให้ ไม่ปวดหัว ไม่เปลืองพลังงาน บ้างก็เพราะไม่มีเวลาที่จะติดตามตลาดฟอเร็กซ์อย่างใกล้ชิด กลุ่มไลน์เทรด forex  แต่การทำอย่างนี้ก็เปรียบเสมือนการยืมจมูกคนอื่นหายใจ ทำให้ไม่สามารถยืนได้ด้วยตนเอง ซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาวแน่นอน อย่างไรเสียการยืดหยัดได้ด้วยตัวเองย่อมเป็นสิ่งที่ดีกว่าแน่นอนครับ

    สำหรับ signal provider นั้นมีสองแบบหลักๆ คือ แบบเป็นคน กับแบบไม่ใช่คน ที่ไม่ใช่คนก็หมายถึงระบบ EA และบางที Signal Providers ก็ใช้ทั้งสองระบบแล้วค่อยกลั่นออกมาเป็นสัญญาณ Signals ให้เรา 

    เงินติดพอร์ต.com
    https://xn--72c0acbr6a9a5eucc1kpg.com/
    #2960
    ชื่อดีเสริมมงคล เกื้อหนุนให้ประสบความเจริญรุ่งเรืองดังใจหวัง

    รับวิเคราะห์ชื่อให้ฟรี !!!!


    รับตั้งชื่อ ตั้งชื่อเด็ก เปลี่ยนชื่อ หาชื่อมงคล
    ใช้ทั้ง 3 ศาสตร์ คือตามหลักทักษา เลขศาสตร์ อายตนะ

    ตามความเชื่อแบบไทย "ชื่อ" เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ เพราะไม่เพียงจะเป็นคำที่ใช้แทนตัวเราเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้คุณให้โทษแก่เราอีกด้วย ดังนั้นการ "ตั้งชื่อ" ให้แก่เด็กหรือแม้แต่เปลี่ยนชื่อให้ตัวท่านเอง ต้องทำตามตำราจึงจะเป็นมงคล
    การตั้งชื่อมงคลให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ตามเงื่อนไขของทุกศาสตร์ทุกตำรา เพื่อจะได้ชื่อดี ๆ สักชื่อนึงไม่ง่ายเลย ต้องมีการวิเคราะห์ชื่อแยกแยะอักขระ คำนวณวิเคราะห์ร้อยชื่อพันชื่อหากโชคดีอาจได้มาสักชื่อนึงก็เป็นได้ ได้ชื่อแล้วจะต้องดูผลคำทำนายรวมกับนามสกุลอีก ใช้แต่ละศาสตร์กลั่นกรองชื่อ แต่ละชื่อใช้เวลาในการคำนวณพอสมควร

    ค่าครูในการตั้งชื่อ 299 บาท (จากปกติ 599 บาท) ท่านจะได้รับ

    รับชื่อมงคล 2-3 ชื่อ มีคำอ่านและคำแปลของชื่อ
    วิเคราะห์ชื่อใหม่ให้ทั้ง 3 ศาสตร์ ไม่ว่าหลักทักษา หลักเลขศาสตร์ หลักอายตนะ
    ชื่อที่ได้รับจะผ่านการทำพิธีเสริมดวง เสริมมงคลให้ด้วย
    ฤกษ์ในการเปลี่ยนชื่อ
    พิธีกรรมที่ส่งเสริมการใช้ชื่อใหม่ ให้เกิดความเป็นสิริมงคล

    ต้องการตั้งชื่อติดต่อทักแชท หรือ id line : teerapat999
    รายละเอียดเพิ่มเติม http://porntaywa99.lnwshop.com/p/3