• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Topics - Jenny937

#2921


ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค.ประชุมนัดพิเศษวันที่ 1 ส.ค. ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมด้วยระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ โดยมีการพิจารณาล็อคดาวน์เพิ่มเติม ดังนี้

ที่ประชุม ศบค.มีมติขยายระยะเวลาการใช้มาตรการล็อกดาวน์ ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 28) เพื่อควบคุมการแพร่ระบาด ลดอัตราการเสียชีวิต และลดผู้ป่วยอาการหนักเพื่อให้ระบบสาธารณสุขสามารถรองรับได้ พร้อมยกระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยปรับพื้นที่ดังนี้

พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จากเดิม 13 จังหวัด เป็น 29 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมานราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการ สมุทรสงครามสมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง

พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) 37 จังหวัด

พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) 11 จังหวัด

ทั้งนี้ ในพื้นที่แดงเข้ม ขอความร่วมมือให้มีการเวิร์กฟอร์มโฮมถึงขั้นสูงสุด ร้านสะดวกซื้อ/ตลาดโต้รุ่ง เปิดได้ไม่เกิน 20.00 น. ห้างสรรพสินค้า คอมมูนิตี้มอลล์ สามารถเปิดได้ไม่เกิน 20.00 น. รวมถึงให้ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้าสามารถจำหน่ายอาหารแบบเดลิเวอรี่ สำหรับร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบการอื่น ที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยขอให้ผู้ประกอบการจัดทำมาตรการ DMHTemp สำหรับพนักงานทุกคน ห้ามเปิดบริการหน้าร้าน ห้างสรรพสินค้าต้องจัดจุดพักรอรับอาหารที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่พลุกพล่าน โดยเน้นมาตรการเว้นระยะห่าง และให้พนักงานรับส่งอาหารรอรับอาหาร ณ จุดรับส่งเท่านั้น ปฏิบัติตามมาตรการ DMH อย่างเข้มงวด

พร้อมเน้นย้ำลดการเดินทางเคลื่อนย้ายของประชาชน ขนส่งสาธารณะงดการเดินทางข้ามเขตจังหวัด โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 3 ส.ค.เป็นระยะเวลา 14 วัน ซึ่งจะมีการพิจารณาสถานการณ์ในวันที่ 18 ส.ค. หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นอาจมีการขยายระยะเวลาใช้มาตรการดังกล่าวถึง 31 สิงหาคม

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า การยกระดับและขยายพื้นที่ครั้งนี้ปรับตามสถานการณ์ในต่างจังหวัด โดยเดิมคาดว่ากระทบเศรษฐกิจเดือนละ 200,000–300,0000 ล้านบาท เพิ่มเป็น 250,000-350,000 ล้านบาท ซึ่งการยกระดับใกล้เคียงเดือน เม.ย.2563 แต่ยังไม่เข้มงวดเท่า จึงต้องเร่งมาตรการอื่นควบคู่ไม่เช่นนั้นจะเหมือนมาเลเซียที่กึ่งล็อคดาว์นแล้วคุมระบาดไม่ได้

ดังนั้น สิ่งสำคัญที่สุดภาครัฐควรเร่งมาตรการอื่นควบคู่ คือ 1.เร่งฉีดวัคซีน 2.การทำระบบ Home Isolation และ Company Isolation โดยขณะนี้ภาคเอกชนร่วมแบ่งเบาภาระภาครัฐในการดูแลพนักงาน โดยหลายแห่งทำ Active Screening โดยใช้ Rapid Antigen Test Kit เพื่อเร่งแยกคนติดออกไม่ให้ระบาดในสถานประกอบการ รวมถึงการดูแลเชื่อมระบบกับโรงพยาบาลและ Hospitel

นายสนั่น กล่าวว่า สำหรับการอนุญาตร้านอาหารในห้าง คอมมิวนิตี้มอล เปิดจำหน่ายได้ เฉพาะบริการแบบเดลิเวอรี่นั้น ถือเป็นมาตรการบรรเทาผลกระทบผู้ประกอบการได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้เพิ่มกำลังซื้อหรือกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยประชาชนยังจับจ่ายใช้สอยเท่าเดิม เพราะยังล็อคดาวน์ โดยแม้ว่าความพยายามในการตรวจหาผู้ติดเชื้อจะเป็นเรื่องดี แต่การเร่งจัดหาวัคซีนพร้อมกระจายสู่ประชาชนเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ภาครัฐทำควบคู่ ซึ่งต้องเร็วกว่านี้และเอกชนพร้อมสนับสนุนการใช้เครือข่ายช่วยจัดหาวัคซีนให้คนไทย

"เชื้อกลายพันธ์ระบาดเปลี่ยนไปอย่างมากจากเดิม หอการค้าจะร่วมกับทางสาธารณสุขทำความเข้าใจวิธีการป้องกันใหม่ รวมถึงแนวทางที่ผู้ประกอบการและประชาชนจะมาจัดการปัญหาร่วมกัน"นายสนั่น กล่าว
#2922


ส.อ.ท.เปิดเผยผลสำรวจปัญหาแรงงานในช่วงวิกฤติโควิด-19 พบแรงงานติดเชื้อในโรงงานผสมกับภาวะการขาดแคลนแรงงานส่งผลให้กำลังการผลิตลดลงและเริ่มกระทบส่งออกไทย วอนรัฐเร่งฉีดวัคซีนให้แรงงานม.33 เร่งด่วน ขณะที่การจ้างงาน ลดลง 10 – 20% คิดเป็น 31.3% ส่วนการจ้างงานลดลงมากว่า 50% คิดเป็น 4.8 %

       นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 8 ในเดือนกรกฎาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ "การจัดการปัญหาแรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19" พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. ส่วนใหญ่ มองว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อแรงงานในภาคอุตสาหกรรมทั้งปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น จนส่งผลทำให้กำลังการผลิตลดลงและกระทบต่อการส่งออกของไทย ซึ่งถือเป็นเครื่องยนต์หลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 นี้ จึงเสนอให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนให้แก่แรงงาน ม.33 เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบการ รวมทั้ง รักษาศักยภาพในการผลิตและการส่งออกของประเทศ

จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 166 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 75 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่า อัตราการจ้างงานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดนั้น ส่วนใหญ่ภาคอุตสาหกรรมยังสามารถคงอัตราการจ้างงานเท่าเดิม คิดเป็น 53.6% มีการจ้างงานลดลง 10 – 20% คิดเป็น 31.3% มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 10 – 20% คิดเป็น 10.3% และมีการจ้างงานลดลงมากว่า 50% คิดเป็น 4.8 %

ในส่วนของผลกระทบจากปัญหาขาดแคลนแรงงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ พบว่า โรงงานอุตสาหกรรมบางส่วนได้รับผลกระทบทำให้ต้องลดกำลังการผลิตลง น้อยกว่า 30% คิดเป็น 45.2% โรงงานที่ไม่ได้รับผลกระทบ คิดเป็น 26.5% โรงงานที่กำลังการผลิตลดลง 30 – 50% คิดเป็น 20.5% และโรงงานที่กำลังการผลิตลดลงมากกว่า 50% คิดเป็น 7.8% เมื่อถามถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ แรงงานบางส่วนต้องเข้าสู่กระบวนการรักษาโรค หรือกักตัว รวมทั้ง การปิดโรงงานชั่วคราวตามข้อกำหนด คิดเป็น 51.8% รองลงมา สถานประกอบการไม่สามารถหาแรงงานสัญชาติไทยได้เพียงพอต่อความต้องการ คิดเป็น 49.4% และมาตรการควบคุมการเดินทางเข้าออกพื้นที่ของแรงงานข้ามจังหวัด คิดเป็น 41.6%

สำหรับมาตรการที่ภาครัฐควรนำมาดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรม พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ การสนับสนุนเงินอุดหนุนในการจ้างแรงงานไทย และขยายโครงการจ้างงานเด็กจบใหม่ คิดเป็น 50% รองลงมา เป็นการส่งเสริมการใช้เครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรมทดแทนการใช้แรงงาน คิดเป็น 48.8% และการอนุญาตให้นำเข้าแรงงานต่างด้าวภายใต้ MOU เฉพาะแรงงานที่ได้รับการฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้ว มีการทำประกันสุขภาพ และต้องผ่านการกักตัว 14 วัน เข้ามาทำงาน คิดเป็น45.8%

กรณีที่ภาครัฐจะมีการเปิดให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวตาม MOU ควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องใด พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ การเตรียมความพร้อมระบบคัดกรอง ติดตาม และประเมินสถานประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว คิดเป็น 69.9% รองลงมา การจัดตั้งศูนย์ One Stop Service สำหรับนายจ้างที่ต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว คิดเป็น 66.9% และการปรับลดขั้นตอน เอกสารที่ไม่จำเป็น และปรับมาดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็น 65.1 %

ทั้งนี้ FTI Poll ยังได้เจาะลึกถึงมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสถานประกอบการอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ การเร่งจัดหาวัคซีนและเร่งฉีดให้กับแรงงาน ม.33 คิดเป็น 92.8๔ รองลงมา การสนับสนุนด้านการรักษาพยาบาลแรงงานที่ติดเชื้อ และสนับสนุนยา อาหาร และเวชภัณฑ์ให้แก่แรงงานที่ติดเชื้อในการรักษาตัวที่บ้าน (Home isolation) คิดเป็น 69.9% และการลดเงินสมทบประกันสังคม เหลือ 1% ถึงสิ้นปี 2564 คิดเป็น 66.9 %

นอกจากนี้ ผู้บริหาร ส.อ.ท. ยังมองว่ามาตรการที่ภาคเอกชนมีความพร้อมและสามารถที่จะดำเนินการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ในสถานประกอบการได้ พบว่า 3 อันดับแรก ได้แก่ การมีระบบคัดกรองแรงงานก่อนเข้าโรงงาน และการเฝ้าระวังผู้ปฏิบัติงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงตามมาตรการ Bubble & Seal คิดเป็น 83.1% รองลงมา การจัดหาวัคซีนทางเลือกให้แก่แรงงานในสถานประกอบการ คิดเป็น 68.1% และการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด (D-M-H-T-T-A) คิดเป็น 65.7%
#2923



ในงวดวันที่ 16 สิงหาคม 2564 สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จะออกรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล ณ อาคารออกรางวัล สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จังหวัดนนทบุรี ประชาชนที่สนใจรับชมการถ่ายทอดสดได้ทางสถานีโทรทัศน์ไทยรัฐทีวี ตั้งแต่เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป รับฟังการถ่ายทอดเสียงทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ AM ความถี่ 891 กิโลเฮิรตซ์ และสามารถรับชมผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล www.glo.or.th แอปพลิเคชันของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล "GLO Lottery official" ตั้งแต่เวลา 14.30 น. เป็นต้นไป

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล จะเปิดให้ผู้ที่ลงทะเบียนแล้วทำรายการซื้อสลากงวดวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ในวันที่ 4 สิงหาคม 2564 และจองล่วงหน้าสลากงวดวันที่ 1 กันยายน 2564 ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2564 ผ่านช่องทางต่างๆ ของธนาคารกรุงไทย

สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดให้ลงทะเบียนจองคิวเพื่อขอรับเงินรางวัลสลากงวดวันที่ 1 สิงหาคม 2564 ผ่านเว็บไซต์ www.glo.or.th หรือแอปพลิเคชัน GLO Lottery โดยเริ่มจองคิวได้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป เพื่อให้ผู้ถูกรางวัลได้รับบริการที่สะดวกและเว้นระยะห่างตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19

เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ผู้ถูกรางวัลสามารถรับเงินรางวัลได้ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ธนาคารออมสิน และธนาคารกรุงไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ สามารถขึ้นเงินรางวัลงวดปัจจุบันได้ทุกรางวัลยกเว้นรางวัลที่ 1 โดยมีค่าธรรมเนียมการให้บริการจากผู้ขอรับเงินรางวัล ในอัตราร้อยละ 1 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center โทร. 0-2528-9999

สำนักงานสลากฯ ขอเตือนตัวแทนจำหน่าย และผู้ซื้อจองล่วงหน้าฯ การนำสลากไปขายต่อผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์หรือเว็บไซต์ต่างๆ เป็นการกระทำที่ผิดเงื่อนไขในสัญญา และหลักเกณฑ์การรับสลากไปจำหน่าย

สำนักงานสลากฯ ขอเตือนผู้ซื้อสลาก การซื้อสลากผ่านช่องทางดังกล่าว หากยังไม่ได้รับสลากมาไว้ในครอบครอง เมื่อถูกรางวัลท่านอาจไม่สามารถนำสลากมารับเงินรางวัลได้

https:// www.thairath.co.th/news/local/2150636
#2924



ผศ.ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ รองอธิการบดีด้านการพัฒนานิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จุฬาฯ จะลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาให้นิสิตไทยทุกคณะทุกระดับการศึกษาตามแนวทาง 50++ โดย ลดค่าเล่าเรียน ให้นิสิต 50% สำหรับค่าเล่าเรียน 50,000 บาทแรก       

ส่วนที่เกิน 50,000 บาทจะให้ส่วนลดเป็นขั้นบันไดคือ 30% สำหรับ ค่าเล่าเรียน ตั้งแต่ 50,001-100,000 บาท และลด 10% สำหรับค่าเล่าเรียนตั้งแต่ 100,001 บาทขึ้นไป


'ลดค่าเทอม'เพิ่มมาตรการช่วยเหลือนิสิตตามแนวทาง50 ++ 
นอกจากนี้ จุฬาฯ ยังมีมาตรการให้ความช่วยเหลือนิสิตเพิ่มเติมตามแนวทาง 50 ++ ประกอบด้วย 

- ให้ทุนสนับสนุนการศึกษา  ประกอบด้วย ทุนการศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวนกว่า 2,000 ทุน ทุนนิสิตช่วยงาน โดยเน้นงานที่ทำออนไลน์ ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 100 บาท ไม่เกิน 500 บาทต่อวัน

​- ให้ทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ประกอบด้วย ทุนสงเคราะห์สวัสดิภาพนิสิต หรือทุน COVID-19 เพื่อลดภาระด้านการเงินของนิสิตทั้งที่เคยได้รับแล้วและรายใหม่


เริ่มต้นให้การช่วยเหลือนิสิตรายละ 5,000 – 10,000 บาท รวมทั้งสวัสดิการนิสิตหอพัก เปิดให้ขอทุนยกเว้นหรือลดหย่อน ค่าธรรมเนียม หอพักให้กับนิสิตหอพักในช่วงมหาวิทยาลัยปิดทำการหรือนิสิตเรียนออนไลน์ที่บ้าน


จัดซิมอินเทอร์เน็ตให้ยืมอุปกรณ์ 'เรียนออนไลน์'
​- ซิมอินเทอร์เน็ตฟรี 3,000 ซิม เพื่อให้นิสิตสามารถ เรียนออนไลน์จากที่พักอาศัยได้อย่างสะดวก

- ให้บริการนิสิตยืม Laptop หรือ Tablet กลับไปใช้ที่บ้านได้

​- ทำประกัน COVID-19 สำหรับนิสิตทุกคน ทุกระดับการศึกษา มากกว่า 37,000 คน

นิสิตจุฬาฯ สามารถแจ้งความประสงค์ในการขอรับความช่วยเหลือเข้ามาได้ที่ฝ่ายกิจการนิสิตของแต่คณะ หรือผ่านระบบ CU NEX รวมถึงแจ้งผ่านเว็บไซต์ของสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาฯ www.sa.chula.ac.th
#2925

ฟันคุด (ภาษาอังกฤษ : Wisdom Tooth) ปัญหาในช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหากรู้สึกปวดฟันคุดขึ้นมาเมื่อไร อาจเป็นสัญญาณบอกว่าช่องปากและเหงือกของเรากำลังมีปัญหา ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อหาทางรักษาอย่างถูกวิธี บทความนี้จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับฟันคุด มีอาการอย่างไร และหากไม่ถอน จะเป็นอันตรายหรือไม่?

ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาบนช่องปากได้ตามปกติ เนื่องจากพื้นที่ของขากรรไกรไม่เพียงพอ หรืออาจจะมีสิ่งขัดขวางไม่ให้ฟันโผล่ขึ้นมา สาเหตุของฟันคุดส่วนใหญ่จะเกิดจากขนาดขากรรไกรที่ไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน ฟันคุดมักจะเกิดขึ้นกับฟันกรามซี่สุดท้าย พบมากในช่วงอายุ 18-20 ปี แต่ทั้งนี้ ฟันคุดก็ไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับทุกคน เพราะขากรรไกรของบางคนก็ใหญ่พอที่จะรองรับฟันซี่ด้านในสุดให้โผล่ขึ้นมาได้ และกลายเป็นฟันกรามธรรมดาๆ ซี่หนึ่งนั่นเอง

ในรายที่ฟันคุดไม่สามารถโผล่ขึ้นมาได้ จำเป็นต้องผ่าออก เพราะไม่เช่นนั้นจะส่งผลต่อฟันซี่ใกล้เคียง ทำให้มีอาการอักเสบได้ หรือรายที่ฟันคุดโผล่พ้นเหงือกขึ้นมาแล้ว แต่ไม่สามารถเรียงตัวได้ตามปกติ ก็ต้องถอนฟันคุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในช่องปากอื่นๆ ตามมา สำหรับคนที่สงสัยว่าฟันคุดเป็นยังไง สังเกตจากภาพข้างล่างนี้ได้


ฟันคุดมีกี่แบบ? ส่วนลักษณะของฟันคุดก็มีหลายแบบด้วยกัน เช่น ฟันคุดขึ้นเต็มซี่ ฟันคุดแบบมีเหงือกปกคลุม เป็นต้น แต่หากจะแบ่งลักษณะของฟันคุด ตามลักษณะการขึ้นของฟันคุด สามารถแบ่งได้ 3 แบบ ได้แก่ 

ฟันคุดที่ขึ้นในแนวตรง 
ฟันคุดที่ขึ้นในแนวนอน 
ฟันคุดที่ขึ้นแนวเฉียง
สำหรับคนที่ประสงค์จะจัดฟัน : ทันตแพทย์จะเอกซเรย์ตรวจดูตำแหน่งของฟันคุด ซึ่งส่วนใหญ่หากมีปัญหาจะแนะนำให้ผ่าฟันคุดออก เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อแนวฟันกราม รวมถึงเบียดฟันซี่ต่างๆ ขณะที่กำลังจัดฟันอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งจะทำให้การจัดฟันไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ลักษณะอาการฟันคุด สังเกตได้จากอะไรบ้าง? 
อาการปวดฟันคุดเป็นความรู้สึกทรมานที่หลายคนไม่อยากเผชิญ นอกจากทำให้เคี้ยวอาหารไม่สะดวกแล้ว ในบางรายอาจรู้สึกปวดจนนอนไม่หลับ เนื่องจากฟันคุดทำให้เหงือกบวม โดยเฉพาะเมื่อฟันคุดงอก จะรู้สึกเจ็บเหงือก จนต้องหายามากินบรรเทาอาการดังกล่าว สำหรับอาการฟันคุดที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ ด้วยตนเอง ได้แก่

รู้สึกปวดฟันกรามบริเวณซี่ในสุด
เคี้ยวอาหารไม่สะดวก ปวดหน่วงๆ ที่ขากรรไกร
เริ่มมีอาการหน้าบวม หรือหน้าบวมข้างเดียว
เหงือกบวมแดง มีอาการอักเสบ
บางรายอาจเป็นฝีในช่องปาก

ทำไมต้องเอาฟันคุดออก ไม่ผ่า ไม่ถอน ได้หรือไม่?
หากฟันคุดไม่สามารถโผล่ขึ้นมาตามแนวฟันได้ปกติ แต่มีลักษณะเอียงเป็นแนวนอน หรือซ้อนทับฟันซี่อื่นๆ อยู่ใต้เหงือก จะทำให้รู้สึกปวด มีอาการเหงือกบวมและอักเสบ

แต่หากฟันคุดโผล่ขึ้นมาแล้ว แต่อาจจะขึ้นมาได้เพียงบางส่วน จะทำให้แปรงทำความสะอาดยาก เพราะเป็นฟันซี่สุดท้ายที่อยู่ลึกสุด ฟันคุดจึงกลายเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย เนื่องจากบริเวณรอบฟันคุดอาจมีเศษอาหารติดได้ง่าย โดยจะส่งผลกระทบให้มีอาการต่างๆ ตามมา เช่น

ฟันผุง่าย
มีกลิ่นปาก
เหงือกอักเสบ
หน้าบวม/แก้มบวม
อ้าปากไม่ขึ้น
รู้สึกปวดหัว
เกิดถุงน้ำใกล้ขากรรไกร
ดังนั้น หากอยากรู้ว่าลักษณะฟันคุดของเราควรผ่า หรือถอนออกหรือไม่นั้น? จะต้องปรึกษาทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยแพทย์จะพิจารณาจากฟิล์มเอกซเรย์เพื่อวินิจฉัยว่าฟันคุดส่งผลกระทบมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง


ข้อควรระวังก่อน และหลังผ่าฟันคุด
ก่อนผ่าฟันคุดต้องทำอย่างไร?
ไม่ว่าจะเป็นการผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด ก็ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนเสมอ โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับโรคเบาหวาน และโรคเลือด รวมถึงผู้ที่กินยาเป็นประจำ เนื่องจากหลังการผ่าฟันคุดอาจต้องกินยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งในบางรายไม่สามารถกินได้ เพราะจะส่งผลต่อโรคประจำตัว

ผ่าฟันคุด เจ็บไหม และกี่วันหาย?
ทันตแพทย์จะฉีดยาชา ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างที่ทันตแพทย์กำลังทำการผ่า หรือถอนฟันคุด หลังจากยาชาหมดฤทธิ์ ทันตแพทย์จะพิจารณาการสั่งยาให้กินเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เป็นต้น หลังจากนั้นประมาณ 1 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดมาตัดไหม หรือตรวจดูอาการอีกครั้ง


ผ่าฟันคุด ปัจจุบันราคาเท่าไร?
สำนักงานประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ใช้บริการทางทันตกรรมไม่เกิน 900 บาทต่อปี สำหรับค่าผ่าฟันคุดโรงพยาบาลรัฐจะมีหลายราคาด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ราคาหลักร้อยถึงหลักพันต้นๆ ส่วนโรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกเอกชน เริ่มต้นที่ประมาณซี่ละ 1,500-5,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยาก-ง่าย และอัตราค่าบริการของแต่ละที่

การดูแลตัวเองหลังผ่าฟันคุด มีข้อห้ามอะไรบ้าง?
ไม่ควรบ้วนเลือด หรือบ้วนปากแรงๆ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงหลังผ่าเสร็จ หากเว้นจากการแปรงฟันแรงๆ ในช่วงแรก แต่ให้หันมาใช้น้ำเกลือบ้วนเบาๆ เพื่อทำความสะอาดช่องปาก และกำจัดแบคทีเรียแทน ควรงดอาหารเผ็ดหลังผ่าฟันคุด เพราะจะทำให้แผลหายช้า

ฟันคุดเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยในช่องปากที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม หากรู้สึกปวด หรือสงสัยว่ามีปัญหาฟันคุด ควรปรึกษาทันตแพทย์ เพื่อหาวิธีดูแลรักษาอย่างถูกต้อง.
#2926



ฝ่ายประชาสัมพันธ์กรมทางหลวง (ทล.) แจ้งว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม  มอบนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานทางถนนให้ขยายทางหลวงหมายเลข 118 เชียงใหม่-เชียงราย เป็นถนนมาตรฐานขนาด 4 ช่องจราจร ไป-กลับ ตลอดเส้นทาง 158.473 กม. จากเดิมมีขนาด 2 ช่อง ไป-กลับ เพื่อเสริมสร้างโครงข่ายทางหลวงพื้นที่ภาคเหนือให้สมบูรณ์ 

ที่ผ่านมา ทล. ขยายทางหลวงสายดังกล่าวเป็น 4 ช่อง แล้วเสร็จ 48 กม. และได้ดำเนินโครงการก่อสร้างเป็น 4 ช่อง อีกระยะทาง 42.8 กม. ช่วง อ.ดอยสะเก็ด-ต.แม่ขะจาน ระหว่าง กม.20+200-กม.63+000 ซึ่งขณะนี้เหลือเพียง ตอน อ.ดอยสะเก็ด-ต.ป่าเมี่ยง ตอน 1 ระหว่าง กม.20+200-กม.31+700  ระยะทาง 11.5 กม. ขณะนี้มีความคืบหน้าไปแล้วกว่า 93% คาดว่าจะแล้วเสร็จเดือน ก.ย.นี้ จะทำให้เพิ่มระยะทางเป็น 4 ช่องรวม 91 กม. ทั้งนี้มีบางช่วงที่ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดให้ใช้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนผู้ใช้เส้นทางไปแล้ว 


ส่วนที่เหลืออีก 67.473 กม. ที่ยังเป็น 2 ช่องอยู่ และเป็นช่วงสุดท้ายโดยอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านโป่ง-บรรจบทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ระหว่าง กม.91+000 กม.158+473 เนื่องจากสภาพเส้นทางมีลักษณะคดเคี้ยว  เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง  จำเป็นต้องปรับปรุงให้เป็นทางหลวงขนาด 4 ช่องตลอดเส้นทาง เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัยในการเดินทาง  ยกระดับความปลอดภัยด้านคมนาคมขนส่ง และรองรับปริมาณการจราจรและการขยายตัวทางเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค และประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะภาคการขนส่งและการท่องเที่ยว 


ทั้งนี้ ทล. จึงเร่งดำเนินโครงการสำรวจและออกแบบทางหลวงหมายเลข 118 (สายเชียงใหม่-เชียงราย) แบ่งเป็น 2 ตอน คือ 1.ตอน บ.แม่เจดีย์-อ.แม่สรวย 50 กม. อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูลสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และจัดทำรายงาน EIA เสนอสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) หากผ่านการพิจารณาแล้วโครงการจะมีความพร้อมเพื่อเสนอของบประมาณดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ประมาณ ปี 67 แล้วเสร็จปี 69 


และ 2.ตอน อ.แม่สรวย-แยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 จ.เชียงราย 17.473 กม. กำลังเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณจากแหล่งเงินกู้ (เพิ่มเติม) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และหากได้รับงบประมาณจะเร่งรัดให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป  โดยใช้งบประมาณโครงการ  2,000 ล้านบาท  คาดว่าเริ่มดำเนินการได้ประมาณปี 65 แล้วเสร็จปี 67 

สำหรับโครงการ ตอน อ.แม่สรวย-แยกจุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 จ.เชียงราย มีจุดเริ่มต้นบริเวณ กม.141+000 ท้องที่ ต.แม่สรวย สิ้นสุดที่จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธินบริเวณ กม.910+123) ที่ กม.158+473 ต.ดงมะดะ ครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สรวย  อ.แม่ลาว และ  3 ตำบล ได้แก่ ต.แม่สรวย ต.ดงมะดะ ต.จอมหมอกแก้ว รูปแบบการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตขนาด  4 ช่อง ความกว้างช่องจราจรละ 3.50 เมตร ไหล่ทางกว้างข้างละ 2.50 เมตร แบ่งทิศทางการจราจรด้วยแบริเออร์คอนกรีตกว้าง 1.60 เมตร  


มีรูปแบบทางแยก 4 จุดตัด ดังนี้ 1.จุดตัดทางหลวงชนบทหมายเลข ชร.2113 (กม.146+994) ออกแบบเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 เป็นสะพานยกระดับ ลดการตัดกระแสของการจราจรบริเวณทางแยกและมีการจัดการทางแยกระดับพื้นดินในลักษณะวงเวียน ออกแบบทางขนานเพื่อแยกการจราจรระหว่างการเดินทางในพื้นที่กับถนนสายหลัก และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 5.50 เมตร 2.จุดตัดทางหลวงหมายเลข 1211 (กม.154+647) ออกแบบเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 เป็นสะพานยกระดับ ลดการตัดกระแสของจราจรบริเวณทางแยกและมีการจัดการทางแยกระดับพื้นดินในลักษณะวงเวียน ออกแบบทางขนานเพื่อแยกการจราจรระหว่างการเดินทางในพื้นที่กับถนนสายหลัก และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 5.50 เมตร 


3.จุดตัดถนนเลียบคลองชลประทาน (กม.156+500) โดยรื้อสะพานข้ามคลองชลประทาน บนเส้นทางสายหลักทางหลวงหมายเลข 118 ในปัจจุบันออก เพื่อออกแบบเป็นสะพานยกระดับข้ามคลองชลประทาน โดยออกแบบทางขนานเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางในพื้นที่ และแยกกระแสจราจรของรถที่ใช้ความเร็วออกจากกันเพื่อความปลอดภัยบริเวณใต้สะพานออกแบบจัดการจราจรเป็นระบบวงเวียนของถนนเลียบคลองชลประทานทั้ง 2 ฝั่ง และกำหนดจุดกลับรถใต้สะพานสำหรับความสูงไม่เกิน 4.50 เมตร 


และ 4.จุดตัดถนนทางหลวงหมายเลข 1 ที่ กม.158+473 แนวเส้นทางตัดกับทางหลวงหมายเลข 1  ที่ กม.910+123 และเป็นจุดสิ้นสุดของโครงการ  สภาพพื้นที่ในปัจจุบันเป็น 3 แยกสัญญาณไฟแบบ channelize แต่เนื่องจากเป็นทางแยกหลักที่เชื่อมโยงระหว่าง 3 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย เชียงใหม่ และพะเยา ซึ่งปริมาณจราจรที่ผ่านจุดตัดนี้มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้จำเป็นต้องพิจารณาออกแบบปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของทางแยกให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น 

โดยออกแบบทางยกระดับข้ามทางแยก 1 ทิศทาง บนทางหลวงหมายเลข 1 ฝั่งมุ่งหน้าจาก จ.พะเยา ไปตัวเมืองเชียงราย พร้อมทางขนานทางยกระดับ ทิศทางมุ่งหน้าจากตัวเมืองเชียงรายไป จ.พะเยา จะขยายถนนระดับพื้นดิน จากเดิม 2 ช่อง เป็น 4 ช่อง โดยออกแบบเกาะกลางรูปปีกนกสำหรับแบ่งรถในทิศทางตรงให้สามารถผ่านทางแยกได้คล่องตัว ไม่ต้องติดสัญญาณไฟจราจร ส่วนทิศทางเลี้ยวขวาเข้า-ออก จากทางหลวงหมายเลข 118 จะถูกควบคุมด้วยสัญญาณไฟจราจร ทำให้ลดการตัดกระแสจราจรบริเวณทางแยกและทำให้การจราจรบนทางหลวงหมายเลข 1 เกิดความคล่องตัว  


เมื่อโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จจะช่วยเติมเต็มโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งทางหลวงหมายเลข 118 ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ช่วยลดอุบัติเหตุ ช่วยเพิ่มขีดความสามารถรองรับปริมาณการจราจรที่มากขึ้นจากเดิม 1-1.8 หมื่นคันต่อวัน เป็น 3 หมื่นคันต่อวัน ช่วยลดระยะเวลาการเดินทางระหว่าง จ.เชียงใหม่ และ จ.เชียงราย จากเดิมที่ใช้เวลาประมาณ 4 ชม. ลดลงเหลือ 3 ชม. ยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนให้สะดวกรวดเร็ว ช่วยส่งเสริมด้านเศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยว จ.เชียงราย และเกิดโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ภาคเหนือไปยังประเทศเพื่อนบ้าน
#2927



อีกหนึ่งโครงการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเพื่อชุมชน โดยพัฒนาผลิตผลในพื้นที่ช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาเรื่องผลผลิตราคาตกต่ำ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา เหลียวตระกูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารคณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) หัวหน้าโครงการหมู่บ้านต้นแบบการสร้างมูลค่าเพิ่มกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช เปิดเผยว่า ตนพร้อมคณะทำงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจบริบทกลุ่มเกษตรกรพื้นที่ตำบลโพประจักษ์ และตำบลถอนสมอ อำเภอท่าช้าง จังหวัดสิงห์บุรี มีการเพาะปลูกกล้วยหอมเขียวคาเวนดิช พบปัญหาผลผลิตเกินความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ มีกล้วยตกเกรดจำนวนมาก อีกทั้งราคาของกล้วยหอมสดยังตกต่ำ ทำให้เกษตรกรมีภาวะหนี้สินครัวเรือน นั้น



ทำให้ทีมงานวิจัยเกิดแผนงานภายใต้โครงการบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (ชื่อเดิม) ในการสร้างมูลค่าเพิ่มกล้วยหอมเขียวคาเวนดิชตกเกรด ด้วยการแปรรูป ที่มุ่งเน้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านนวัตกรรมอาหารเข้ามาประยุกต์ใช้ ส่งผลให้ มีการรวมกลุ่มกันแปรรูปกล้วยหอมเขียว เพื่อจำหน่าย ถนอมอาหาร เพิ่มมูลค่าให้แก่ผลผลิตทางการเกษตร  และ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ ลดอัตราการว่างงานในชุนชน กระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน



ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา กล่าวว่า ปกติเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมเขียวเดิมขายกล้วยหอมเขียวตกเกรด ในราคา 3 บาท/กิโลกรัม ปัจจุบันมีราคากลาง 9 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 3 เท่าโดยมีกลุ่มแปรรูปมารับซื้อ  และมียอดจำหน่ายแป้งกล้วยหอมเขียวเพิ่มขึ้นประมาณ 30-50 กิโลกรัม/เดือน ส่วนผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ จากกล้วยหอมเขียว ในปี พ.ศ. 2563 เกษตรกรมีรายได้ของกลุ่มเพิ่มขึ้น มูลค่าประมาณ 15,000 บาท/เดือน
#2928
 
 มากกว่าคำว่ากาแฟ Room Coffee อร่อยดี ไม่มีอ้วน




ประโยชน์เพียบจากสารสกัด 36 ชนิด
เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงร่างกาย ชงง่าย
ชงได้ทั้งน้ำร้อนน้ำเย็น อยากกินต้องได้กิน

มีสารสกัดทั้งหมดมากถึง 36 ชนิด
เช่น โสม ถั่วเช่า เห็ดหลินจือ เมล็ดเจีย คอลลาเจน (สูตรเจ) และอีก...เยอะ
ที่ให้คุณ 5 คุณประโยชน์
Detox ขับสารพิษ
Block บล็อกแป้งและน้ำตาลที่มาใหม่
Burn ช่วยกระตุ้นระบบเผาผลาญ
Build  ช่วยสร้างเสริมกล้ามเนื้อให้กระชับ
Boost  เพิ่มพลังงานให้กระฉับกระเฉง

และยังช่วยเสริมภูมิต้านทาน ให้ไกลจากโรคหวัดและโรคต่างๆอีกด้วย ทุกอย่างรวมไว้ให้คุณขนาดนี้
บอกเลย คุ้ม

Room Coffee 1 ห่อ มี 10 ซอง ราคา 299 บาท

สนใจติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ
Tel. 0846623662
Line id : teerapat999

ข้อมูลเพิ่มเติม/รีวิวสินค้า https://teerapat99.iconroomcoffee.com/ 
#2929



นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า ความคืบหน้ากรณีการจ่ายเงินเยียวยากลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการตามมาตรการบรรเทาผลกระทบโควิด-19 ที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ใน 9 ประเภทกิจการได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ สาขาข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร

โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมมีความห่วงใยพี่น้องผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงได้สั่งการให้ รมว.แรงงานเร่งรัดขยับเวลาการจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ประกันตนไม่ให้เกินวันที่ 6 สิงหาคม โดยจะเริ่มทยอยจ่ายตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคมนี้ ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะระบบการโอนผ่านพร้อมเพย์สามารถดำเนินการได้วันละ 1 ล้านบัญชีเท่านั้น โดยผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินเยียวยามีจำนวน 2.87 ล้านคน จะต้องใช้เวลาถึง 3 วันจึงได้สามารถโอนได้ครบภายในกำหนดเวลาวันที่ 6 สิงหาคม ตามเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรี และจะทยอยโอนครั้งต่อไปให้กับนายจ้าง และผู้ประกันตนมาตรา 33 ทุกๆวันศุกร์จนถึงวันที่ 29 ตุลาคม 2564

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า วิธีการจ่ายเงินเยียวยาสำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่ได้รับเยียวยาจากรัฐบาลคนละ 2,500 บาท จะโอนผ่านบัญชีพร้อมเพย์ เลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น ส่วนนายจ้างจะได้รับการเยียวยา จากรัฐบาล ตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดลูกจ้างไม่เกิน 200 คน โดยนายจ้างบุคคลธรรมดา จะโอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ เลขประจำตัวประชาชนเช่นกัน และนายจ้างสถานะนิติบุคคล จะโอนเข้าบัญชีธนาคารตามที่แจ้งไว้กับสำนักงานประกันสังคม

สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 และนายจ้างที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 3 จังหวัดที่เหลือ ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา นั้น สำนักงานประกันสังคมจะประชาสัมพันธ์วันจ่ายเงินให้ทราบในภายหลัง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง
#2930



สมาคมธนาคารไทยประสานธนาคารสมาชิก พร้อมรับโอนเงินเยียวยาประกันสังคมผ่านระบบพร้อมเพย์ ให้ผู้ประกันตน ม.33 ที่ได้รับสิทธิรับเงินช่วยเหลือจากคำสั่งล็อคดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม รวม 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการกว่า 2.87 ล้านราย แนะผู้ได้สิทธิรีบสมัครพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชนก่อนวันที่ 4 ส.ค.นี้

เช็กสิทธิได้เลย เงินเยียวยา ม.33 ถึงมือผู้ประกันตน 4 ส.ค.นี้ ธนาคารโอนเข้าบัญชีผ่านระบบพร้อมเพย์ รีบสมัครด่วน
  
 

สมาคมธนาคารไทยประสานธนาคารสมาชิก พร้อมรับโอนเงินเยียวยาประกันสังคมผ่านระบบพร้อมเพย์ ให้ผู้ประกันตน ม.33 ที่ได้รับสิทธิรับเงินช่วยเหลือจากคำสั่งล็อคดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม รวม 13 จังหวัด 9 ประเภทกิจการกว่า 2.87 ล้านราย แนะผู้ได้สิทธิรีบสมัครพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชนก่อนวันที่ 4 ส.ค.นี้

ทั้งนี้สมาคมธนาคารไทยได้มีการประสานธนาคารสมาชิก เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินการรับโอนเงินเยียวยาประกันสังคมเข้าบัญชีธนาคารผ่านระบบพร้อมเพย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกปิดกิจการตามประกาศคำสั่งของ ศบค.

โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะทำการโอนให้ผู้ประกันตนตาม ม.33 ที่ได้รับสิทธิในวันที่ 4-6 สิงหาคม 2564 เฉพาะ 10 จังหวัด จำนวนผู้ประกันตนกว่า 2.87 ล้านราย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สำหรับ 3 จังหวัดที่เหลือได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา จะแจ้งการโอนเงินให้ทราบอีกครั้งในภายหลัง

ทั้งนี้นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือนี้ ต้องเป็นผู้ได้สิทธิตามคุณสมบัติและเงื่อนไข โดย สปส.จะเปิดให้ตรวจสอบสิทธิบนเว็บไซต์ของ สปส.โดยผู้ประกันตนที่มีบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนจะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคารเพื่อเปิดบัญชีใหม่ หรือลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชนใหม่

สำหรับผู้ประกันตนที่ได้สิทธิและมีบัญชีธนาคาร แต่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน หรือเดิมผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ สามารถดำเนินการผูกบัญชีหรือเปลี่ยนพร้อมเพย์จากโทรศัพท์มือถือมาเป็นผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนด้วยตนเอง ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารที่มีบัญชีอยู่เช่น Mobile Application, Internet Banking และเครื่อง ATM ตามช่องทางที่แต่ละธนาคารให้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร เพื่อความสะดวกและลดความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19

ส่วนผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิและยังไม่เคยมีบัญชีเงินฝาก สามารถใช้บริการเปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ จากนั้นค่อยลงทะเบียนผูกพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขบัตรประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อขอรับสิทธิตามมาตรการเยียวยาดังกล่าว หากมีข้อสงสัยเรื่องการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน หรือช่องทางที่สามารถทำได้ สามารถศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ หรือติดต่อสอบถามผ่านคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารที่ใช้บริการอยู่ทั้งนี้ ผู้ประกันตน ม.33 สามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาได้ที่ https://www.sso.go.th หรือโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อนึ่งหากผู้ประกันตนมีความจำเป็นต้องไปทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคาร ทางสมาคมธนาคารไทย ขอความร่วมมือผู้ติดต่อใช้บริการ ณ สาขาธนาคาร ในการปฏิบัติตนตามมาตรฐานดูแลความปลอดภัยที่ธนาคารแต่ละแห่งได้กำหนดไว้ เพื่อร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้สมาคมธนาคารไทยได้มีการประสานธนาคารสมาชิก เพื่อเตรียมพร้อมดำเนินการรับโอนเงินเยียวยาประกันสังคมเข้าบัญชีธนาคารผ่านระบบพร้อมเพย์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกปิดกิจการตามประกาศคำสั่งของ ศบค.

โดยสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะทำการโอนให้ผู้ประกันตนตาม ม.33 ที่ได้รับสิทธิในวันที่ 4-6 สิงหาคม 2564 เฉพาะ 10 จังหวัด จำนวนผู้ประกันตนกว่า 2.87 ล้านราย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรปราการ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สำหรับ 3 จังหวัดที่เหลือได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา จะแจ้งการโอนเงินให้ทราบอีกครั้งในภายหลัง

ทั้งนี้นายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือนี้ ต้องเป็นผู้ได้สิทธิตามคุณสมบัติและเงื่อนไข โดย สปส.จะเปิดให้ตรวจสอบสิทธิบนเว็บไซต์ของ สปส.โดยผู้ประกันตนที่มีบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชนจะได้รับการโอนเงินเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติ ไม่จำเป็นต้องติดต่อธนาคารเพื่อเปิดบัญชีใหม่ หรือลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยบัตรประชาชนใหม่

สำหรับผู้ประกันตนที่ได้สิทธิและมีบัญชีธนาคาร แต่ยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน หรือเดิมผูกด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ สามารถดำเนินการผูกบัญชีหรือเปลี่ยนพร้อมเพย์จากโทรศัพท์มือถือมาเป็นผูกกับหมายเลขบัตรประชาชนด้วยตนเอง ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารที่มีบัญชีอยู่เช่น Mobile Application, Internet Banking และเครื่อง ATM ตามช่องทางที่แต่ละธนาคารให้บริการ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาธนาคาร เพื่อความสะดวกและลดความเสี่ยงจากการระบาดของโควิด-19

ส่วนผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิและยังไม่เคยมีบัญชีเงินฝาก สามารถใช้บริการเปิดบัญชีผ่านช่องทางออนไลน์ จากนั้นค่อยลงทะเบียนผูกพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขบัตรประชาชน ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ เพื่อขอรับสิทธิตามมาตรการเยียวยาดังกล่าว หากมีข้อสงสัยเรื่องการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน หรือช่องทางที่สามารถทำได้ สามารถศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ หรือติดต่อสอบถามผ่านคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารที่ใช้บริการอยู่ทั้งนี้ ผู้ประกันตน ม.33 สามารถตรวจสอบสิทธิโครงการเยียวยาได้ที่ https://www.sso.go.th หรือโทรศัพท์สายด่วนประกันสังคม 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อนึ่งหากผู้ประกันตนมีความจำเป็นต้องไปทำธุรกรรมที่สาขาของธนาคาร ทางสมาคมธนาคารไทย ขอความร่วมมือผู้ติดต่อใช้บริการ ณ สาขาธนาคาร ในการปฏิบัติตนตามมาตรฐานดูแลความปลอดภัยที่ธนาคารแต่ละแห่งได้กำหนดไว้ เพื่อร่วมกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
#2931



"ผู้ประกอบอาชีพอิสระ" สมัครผู้ประกันตนมาตรา 40 แล้ว รีบจ่ายเงินสมทบให้ทันภายใน 31 ก.ค.64 เพื่อรับสถานะความเป็นผู้ประกันตนโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายทันที

น.ส.ลัดดา แซ่ลี้ รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานประกันสังคม ได้เปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม เป็นต้นมา พบว่ามีผู้ประกอบอาชีพอิสระให้ความสนใจสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นจำนวนมาก โดยสำนักงานประกันสังคมขอแจ้งให้ทราบว่า เมื่อท่านได้สมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 แล้ว สถานะความเป็นผู้ประกันตนจะสมบูรณ์ตามกฎหมายทันทีเมื่อท่านชำระเงิน จึงขอให้ผู้ที่สมัครขึ้นทะเบียนแล้ว รีบจ่ายเงินสมทบงวดแรกให้ทันภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 โดยสามารถชำระเงินผ่านช่องทางที่สะดวกได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11) เคาน์เตอร์เทสโก้โลตัส เคาน์เตอร์บิ๊กซี เคาน์เตอร์เซ็นเพย์ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือผ่าน Mobile Application ShoppyPay และตู้บุญเติม ฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง

ทั้งนี้ขอให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 ทุกท่านทั้งรายเดิม และที่สมัครใหม่ โปรดชำระเงินสมทบอย่างต่อเนื่องทุกๆเดือน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ของตัวท่านเอง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 ให้บริการไม่เว้นวันหยุดราชการตลอด 24 ชั่วโมง
#2932



เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนผู้สูงอายุ ครั้งที่ 9 / 2564 เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบการผ่อนเวลาชำระหนี้ 6 เดือน แก่ลูกหนี้กองทุนผู้สูงอายุทุกคน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 31 มีนาคม 2565 โดยผู้กู้ยืมสามารถขอผ่อนชำระหนี้ด้วยตนเองได้ที่กองทุนผู้สูงอายุ หรือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทุกจังหวัด (พมจ.)

ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้กู้ยืมสามารถขอแบบผ่อนชำระหนี้ผ่านทางโทรศัพท์ กองทุนผู้สูงอายุ หรือ พมจ.ได้ โดยจะจัดส่งเอกสารไปให้ผู้กู้ยืม ผู้ค้ำประกันและพยาน ลงนามในเอกสาร พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนรับรองสำเนาถูกต้อง และส่งเอกสารกลับมายังกองทุนผู้สูงอายุ หรือ พมจ. สอบถามรายละเอียดได้ที่ กองทุนผู้สูงอายุ กรมกิจการผู้สูงอายุ 0 2354 6100 หรือ https://www. olderfund.dop.go.th
#2933



"กมลภัทร แสวงกิจ" ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ดีดี พร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า วิกฤติโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นอุปสรรคสำคัญของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกระทบภาพรวมการเติบโตของทุกธุรกิจอย่างเลี่ยงไม่ได้

ข้อมูลจากคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงและมีแนวโน้มเผชิญความเสี่ยงจากความยืดเยื้อของการแพร่ระบาด อุปสงค์ในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกล่าสุดส่งผลให้ครัวเรือนจำนวนมากมีปัญหาในการชำระหนี้ เห็นได้จากระดับหนี้ครัวเรือนปัจจุบันสูงถึง 90.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ภาคตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไทย ได้รับผลกระทบไม่น้อย! ทั้งทางตรงจากมาตรการปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง และทางอ้อมจากกำลังซื้อผู้บริโภคที่ลดลง แม้ผู้พัฒนาอสังหาฯ จะผลักดันโปรโมชัน สงครามราคา และ ใช้ช่องทางออนไลน์มาลดช่องว่างในการซื้อขาย แต่สภาพคล่องทางการเงินและผลกระทบด้านอาชีพของผู้บริโภคยังเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ทำให้จำเป็นต้องชะลอการตัดสินใจซื้อบ้าน คอนโดมิเนียม ออกไปก่อน แม้จะยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยก็ตาม

"แม้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 42.7 จาก 41.6 ในเดือนก่อนหน้า แต่ผู้บริโภคก็ยังไม่เชื่อมั่นภาวะเศรษฐกิจ จึงวางแผนการเงินอย่างรัดกุมและใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยนานขึ้น แนวโน้มดัชนีราคาที่อยู่อาศัยทุกประเภทลดลงต่อเนื่อง และคาดว่าจะไม่ปรับเพิ่มขึ้นในปีนี้ ขณะที่ดัชนีอุปทานเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง 7% สะท้อนว่ายังคงมีสินค้าคงค้างอยู่ในตลาดอีกพอสมควร"

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันผู้ประกอบการได้ปรับแผนเลื่อนการเปิดโครงการใหม่ นักลงทุน และผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือต่าง "ชะลอการขาย" เพื่อรอผลตอบแทนที่ดีกว่าในช่วงอื่นแทน คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยในช่วงที่เหลือของปีจะไม่สูงไปกว่านี้ และจะไม่เกิดภาวะล้นตลาด!!


"กุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ฟื้นตัวเร็วขึ้น คือ การจัดหาและกระจายวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดไม่ให้รุนแรงมากไปกว่านี้ และภาครัฐควรมีมาตรการเพิ่มเติมช่วยเหลือเยียวยาและพักหนี้ให้ผู้บริโภคที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยในขณะนี้ เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กลับมาเติบโตอีกครั้ง"

รายงาน DDproperty Thailand Property Market Index ระบุ ข้อมูลเชิงลึกและวิเคราะห์ทิศทางตลาดอสังหาฯ ไทยไตรมาสล่าสุด พบว่า จากสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบางต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นปี ส่งผลให้ผู้บริโภคประสบปัญหาทางการเงินและว่างงานมากขึ้น ทำให้ต้องชะลอการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเร่งด่วนออกไปรวมถึงการเลือกซื้อที่อยู่อาศัย แม้จะมีสงครามราคาที่อัดความคุ้มค่าเพื่อเปิดโอกาสทองให้ผู้ซื้อมากเพียงใด แต่ด้วยกำลังซื้อที่ค่อนข้างจำกัดจึงไม่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อเท่าที่ควร

จะเห็นได้จากจำนวนที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสล่าสุด ดัชนีอุปทานปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 428 จุด จาก 399 จุด หรือเพิ่มขึ้นถึง 7% จากไตรมาสก่อน และมีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 37% จากปีก่อนหน้า ถือเป็นดัชนีอุปทานที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2558

หากพิจารณาในแต่ละทำเล กรุงเทพฯ ที่มีจำนวนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส ได้แก่ แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา เพิ่มขึ้นถึง 34% ตามมาด้วย แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง เพิ่มขึ้นในสัดส่วน 11% เท่ากัน

อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดระลอกนี้ ส่งผลต่อทิศทางการเติบโตในตลาด ผู้พัฒนาอสังหาฯ ตัดสินใจชะลอการเปิดโครงการใหม่ออกไป เพื่อเร่งระบายสต็อกคงค้าง รวมถึงผู้บริโภคที่มีสินค้าอยู่ในมือก็ชะลอการขายออกไปเพื่อรอจังหวะที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีกว่านี้

"ผลกระทบจากโควิดทำให้มุมมองของผู้บริโภคที่มีต่อบทบาทของที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไป หลายคนต้องใช้เวลาในแต่ละวันที่บ้านมากขึ้น ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคนี้ซึ่งต้องมีพื้นที่ใช้สอยที่เพียงพอและตอบโจทย์การใช้ชีวิตหลากหลายรูปแบบ ทั้งรองรับการเรียนออนไลน์ ทำงานออนไลน์ ทำให้ที่อยู่อาศัยแนวราบยังคงได้รับความสนใจในกลุ่มผู้บริโภคที่กำลังมองหาบ้านอย่างต่อเนื่อง"

แม้ว่า คอนโดจะมีการจัดโปรโมชันออกมากระตุ้นยอดขายจำนวนมาก แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เห็นได้ชัดจากดัชนีอุปทานล่าสุดที่คอนโดมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนถึง 7% โดยปัจจุบัน คอนโด มีสัดส่วนสูงถึง 87% ของจำนวนอุปทานทั้งหมดในกรุงเทพฯ ขณะที่โครงการที่อยู่อาศัยแนวราบอย่างบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮ้าส์มีสัดส่วนเพียง 7% และ 5% ตามลำดับ ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลให้หลายครอบครัวยังคงเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแนวราบมากกว่าเช่นกัน

https:// www.bangkokbiznews.com/news/detail/951819
#2934



นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 ธนาคารสมาชิกได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในเดือนก.ค. 63 มีลูกค้าขอรับความช่วยเหลือสูงสุดจำนวน 6 ล้านบัญชี วงเงินความช่วยเหลือรวม 4.25 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 8 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 1.8 ล้านล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 1.6 ล้านล้านบาท

ที่ผ่านมา มีลูกค้าบางส่วนได้ออกจากมาตรการเนื่องจากกลับมาชำระหนี้ได้ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้น ล่าสุด ยังมีลูกค้าอยู่ภายใต้การให้ความช่วยเหลือรวม 1.89 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือกว่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 5.6 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 8.2 แสนล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 6.2 แสนล้านบาท

สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่อง เพื่อประคับประคองธุรกิจตามมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ธนาคารสมาชิกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเสริมสภาพคล่องกว่า 2.16 แสนล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ประมาณ 1.38 แสนล้านบาท และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจที่อนุมัติไปแล้วกว่า 7.8 หมื่นล้านบาท โดยตั้งเป้าหมาย 1 แสนล้านบาทในเดือนตุลาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ทุกธนาคารยังคงเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยจะทยอยพิจารณาให้การช่วยเหลือผ่านวงเงินดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบต่อลูกค้าทุกกลุ่ม โดยพร้อมมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติม หากสถานการณ์ยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม ภาคธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปี 63

โดยในช่วงแรกออกมาตรการช่วยเหลือเป็นการทั่วไป เป็นมาตรการเร่งด่วน ทั้งการพักชำระเงินต้น ดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้ เพื่อลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้า เสริมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) หลังจากนั้นได้ออกมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือลูกค้าให้ตรงจุด เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ทำให้เศรษฐกิจต้องใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัว จึงมีมาตรการฟื้นฟูธุรกิจเพิ่มเติม ประกอบด้วย สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ วงเงิน 2.5 แสนล้านบาท และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ วงเงิน 1 แสนล้านบาท พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ระยะที่ 3 และล่าสุดได้ออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้น และดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า SMEs และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เป็นระยะเวลา 2 เดือน ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ

"ธนาคารสมาชิกได้บริหารจัดการธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าภาพรวมผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งปี 64 แสดงผลการดำเนินงานที่ยังเติบโตต่อเนื่อง แต่บางส่วนเป็นการบันทึกรายได้ดอกเบี้ยค้างรับของมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งยังไม่ได้มีการชำระจริงและยังอาจกลายเป็นหนี้เสียได้ อย่างไรก็ตาม ภาพรวม NPL ในระบบแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย สะท้อนถึงการให้ความช่วยเหลือได้ทันการณ์ ซึ่งนอกจากการให้สินเชื่อผ่าน Soft Loan และสินเชื่อฟื้นฟูแล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ตามวงเงินที่มีอยู่เดิมเพิ่มขึ้น และยังคงให้ความสำคัญกับการกันสำรองอย่างเข้มงวดต่อไป เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต และต้องไม่เกิดผลกระทบกับเสถียรภาพและระบบสถาบันการเงินของประเทศ"นายผยง กล่าว

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด- 19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกยังได้ยกระดับแผน Business Continuity Planning (BCP) เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการ โดยคำนึงความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ แผน BCP ครอบคลุมทั้งการปฎิบัติตามมาตรการของทางการ ระบบการให้บริการ การจัดสรรพนักงาน และการสำรองเงินสดให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้ง Mobile Application Internet Banking และ ตู้ ATM ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้หลากหลาย ทั้งฝาก-ถอนเงินสด โอนเงิน จ่ายบิล การยืนยันตัวตน รวมถึงบริการผูกบัญชีพร้อมเพย์ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา เพื่อความสะดวก และลดความเสี่ยง

ทั้งนี้ได้ติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบอย่างใกล้ชิด ได้มีการปฏิบัติงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home ขั้นสูงสุด ส่วนพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในสาขา ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากรด่านหน้าและเป็นกลุ่มเสี่ยง ธนาคารสมาชิกก็พยายามเร่งจัดหาวัคซีนและกระจายฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด พร้อมจัดการระบบให้บริการที่สาขาให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข

นอกจากมาตรการช่วยเหลือลูกค้าแล้ว สมาคมธนาคารไทย และธนาคารสมาชิก ยังสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อในปี 63 โดยบริจาคให้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันบำราศนราดูร และสภากาชาดไทย จำนวนเงิน 50 ล้านบาท

สำหรับในปี 2564 ธนาคารสมาชิกยังคงสนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนทุนทรัพย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ขณะเดียวกัน ยังเป็นกำลังสำคัญร่วมกับภาคีเครือข่าย สนับสนุน โครงการ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย" ซึ่งเป็นการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างภาครัฐและเครือข่ายภาคีเอกชน ในการเร่งกระจายวัคซีนให้กับประชาชน โดยสนับสนุนศูนย์ฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลในโครงการไทยร่วมใจฯ 25 แห่ง ศูนย์ฉีดวัคซีนสำนักงานประกันสังคมเพื่อผู้ประกันตน ม.33 อีก 69 แห่ง รวมถึงจุดบริการฉีดวัคซีนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงสุด โดยธนาคารสมาชิกได้ให้การสนับสนุนทั้งด้านสถานที่ บุคลากร และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการดำเนินงานอีกด้วย
#2935



นายผยง  ศรีวณิช  ประธานสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤติโควิด-19 ธนาคารสมาชิกได้ให้ความช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในเดือนกรกฏาคม  2563 มีลูกค้าขอรับความช่วยเหลือสูงสุดจำนวน 6 ล้านบัญชี วงเงินความช่วยเหลือรวม 4.25 ล้านล้านบาท เป็นวงเงินสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ 8 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 1.8 ล้านล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 1.6 ล้านล้านบาทซึ่งที่ผ่านมา มีลูกค้าบางส่วนได้ออกจากมาตรการเนื่องจากกลับมาชำระหนี้ได้ในช่วงที่สถานการณ์ดีขึ้น

ล่าสุด ยังมีลูกค้าอยู่ภายใต้การให้ความช่วยเหลือรวม 1.89 ล้านบัญชี คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือกว่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่ 5.6 แสนล้านบาท ลูกค้า SME 8.2 แสนล้านบาท และลูกค้ารายย่อย 6.2 แสนล้านบาท สำหรับมาตรการเสริมสภาพคล่อง เพื่อประคับประคองธุรกิจตามมาตรการช่วยเหลือของธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารสมาชิกได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเสริมสภาพคล่องกว่า 2.16 แสนล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) ประมาณ 1.38 แสนล้านบาท และวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจที่อนุมัติไปแล้วกว่า 7.8 หมื่นล้านบาท โดยตั้งเป้าหมาย 1 แสนล้านบาทในเดือนตุลาคมนี้

อย่างไรก็ตาม ทุกธนาคารยังคงเดินหน้าช่วยเหลือลูกค้าอย่างเต็มที่ โดยจะทยอยพิจารณาให้การช่วยเหลือผ่านวงเงินดังกล่าวอย่างต่อเนื่องต่อไป

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้หารือกันอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินผลกระทบต่อลูกค้าทุกกลุ่ม โดยพร้อมมีมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเพิ่มเติม หากสถานการณ์ยืดเยื้อกว่าที่ประเมินไว้ อย่างไรก็ตาม   ภาคธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่มอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 เมื่อต้นปี 2563 โดยในช่วงแรกออกมาตรการช่วยเหลือเป็นการทั่วไป เป็นมาตรการเร่งด่วน ทั้งการพักชำระเงินต้น ดอกเบี้ย และขยายระยะเวลาชำระหนี้  เพื่อลดภาระทางการเงินให้กับลูกค้า เสริมสภาพคล่องด้วยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ  (Soft Loan)  หลังจากนั้นได้ออกมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือลูกค้าให้ตรงจุด เช่น มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อมีการระบาดระลอกใหม่ทำให้เศรษฐกิจต้องใช้เวลานานขึ้นในการฟื้นตัว จึงมีมาตรการฟื้นฟูธุรกิจเพิ่มเติม ประกอบด้วย สินเชื่อฟื้นฟูธุรกิจ วงเงิน 250,000 ล้านบาท และมาตรการพักทรัพย์พักหนี้ วงเงิน 100,000 ล้านบาท  พร้อมออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้ารายย่อย ระยะที่ 3 และล่าสุดได้ออกมาตรการเร่งด่วนด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า SMEs และลูกค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เป็นระยะเวลา 2 เดือน  ทั้งที่เป็นนายจ้างและลูกจ้างในสถานประกอบการ ในพื้นที่ควบคุมฯ และนอกพื้นที่ควบคุมฯ ที่ต้องปิดกิจการจากมาตรการของทางการ

" ทั้งนี้ ธนาคารสมาชิกได้บริหารจัดการธุรกิจด้วยความระมัดระวัง เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แม้ว่าภาพรวมผลการดำเนินงานของธนาคารพาณิชย์ในช่วงครึ่งปี 2564 แสดงผลการดำเนินงานที่ยังเติบโตต่อเนื่อง  แต่บางส่วนเป็นการบันทึกรายได้ดอกเบี้ยค้างรับของมาตรการช่วยเหลือลูกค้า ซึ่งยังไม่ได้มีการชำระจริงและยังอาจกลายเป็นหนี้เสียได้  อย่างไรก็ตาม ภาพรวม  NPL ในระบบแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย สะท้อนถึงการให้ความช่วยเหลือได้ทันการณ์ ซึ่งนอกจากการให้สินเชื่อผ่าน Soft Loan และสินเชื่อฟื้นฟูแล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังปล่อยสินเชื่อให้กับลูกหนี้ตามวงเงินที่มีอยู่เดิมเพิ่มขึ้น และยังคงให้ความสำคัญกับการกันสำรองอย่างเข้มงวดต่อไป เพื่อรองรับความไม่แน่นอนในอนาคต และต้องไม่เกิดผลกระทบกับเสถียรภาพและระบบสถาบันการเงินของประเทศ"


จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด- 19 ระลอกใหม่ที่รุนแรงขึ้น สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิกยังได้ยกระดับแผน Business Continuity Planning หรือ BCP เพื่อความต่อเนื่องในการให้บริการ โดยคำนึงความปลอดภัยของลูกค้าและพนักงานเป็นสำคัญ ทั้งนี้ แผน BCP ครอบคลุมทั้งการปฎิบัติตามมาตรการของทางการ ระบบการให้บริการ การจัดสรรพนักงาน และการสำรองเงินสดให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม แนะนำให้ลูกค้าทำธุรกรรมการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์  ทั้ง Mobile Application  Internet Banking และ  ตู้ ATM ซึ่งสามารถทำธุรกรรมได้หลากหลาย ทั้งฝาก-ถอนเงินสด โอนเงิน จ่ายบิล การยืนยันตัวตน รวมถึงบริการผูกบัญชีพร้อมเพย์  โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สาขา เพื่อความสะดวก และลดความเสี่ยง

ทั้งนี้ ได้ติดตามสถานการณ์และประเมินผลกระทบอย่างใกล้ชิด ได้มีการปฏิบัติงานจากที่บ้าน หรือ Work From Home  ขั้นสูงสุด ส่วนพนักงานที่ต้องปฏิบัติงานในสาขา ซึ่งถือว่าเป็นบุคลากรด่านหน้าและเป็นกลุ่มเสี่ยง ธนาคารสมาชิกก็พยายามเร่งจัดหาวัคซีนและกระจายฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุด พร้อมจัดการระบบให้บริการที่สาขาให้เป็นไปตามมาตรการด้านสาธารณสุข

นอกจากมาตรการช่วยเหลือลูกค้าแล้ว   สมาคมธนาคารไทยและธนาคารสมาชิก ยังสนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ในการป้องกันและรักษาผู้ติดเชื้อ ในปี 2563 โดยบริจาคให้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี สถาบันบำราศนราดูร และสภากาชาดไทย จำนวนเงิน 50 ล้านบาท สำหรับในปี 2564 ธนาคารสมาชิกยังคงสนับสนุนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านการสนับสนุนทุนทรัพย์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ขณะเดียวกัน ยังเป็นกำลังสำคัญร่วมกับภาคีเครือข่าย สนับสนุน  โครงการ "ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย" ซึ่งเป็นการผนึกความร่วมมือครั้งสำคัญระหว่างภาครัฐและเครือข่ายภาคีเอกชน ในการเร่งกระจายวัคซีนให้กับประชาชน โดยสนับสนุนศูนย์ฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาลในโครงการไทยร่วมใจฯ 25 แห่ง ศูนย์ฉีดวัคซีนสำนักงานประกันสังคมเพื่อผู้ประกันตน ม.33 อีก 69 แห่ง รวมถึงจุดบริการฉีดวัคซีนของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ทั่วกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงสุด โดยธนาคารสมาชิกได้ให้การสนับสนุนทั้งด้านสถานที่ บุคลากร และจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการดำเนินงานอีกด้วย
#2936



นายธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business กล่าวว่า "จากแผนงานของ AIS ที่มุ่งขยายศักยภาพ 5G เพื่อร่วมยกระดับภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตนั้น เรายังคงเดินหน้าเชื่อมต่อการทำงานจากภาคส่วนต่างๆ เพื่อให้ดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าไปมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำงานของภาคอุตสาหกรรมในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่จะนำมาซึ่งความแข็งแกร่งของทั้งสองฝ่าย สู่เป้าหมายที่จะร่วมทำให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิตมีเทคโนโลยีเป็นเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะในช่วงระหว่างการแพร่ระบาดที่ต่างต้องปรับตัวให้มีความพร้อม

​ครั้งนี้จึงนับว่าเป็นอีกความร่วมมือครั้งสำคัญของ AIS กับพันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งด้านวิศวกรรมบนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อการผลิต อย่าง ออมรอน (OMRON) ที่ครั้งนี้เป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสาร ประยุกต์การเชื่อมต่อเทคโนโลยีการผลิต ผนวก Information Technology (IT) กับ Operation Technology (OT) อย่างไร้ขีดจำกัดและจะได้ร่วมกันสร้างโซลูชั่นใหม่ ยกระดับภาคการผลิตสู่การเป็น Smart Man.cturing อย่างสมบูรณ์ เพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต บนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล AIS 5G ที่มีออกแบบได้ตามความต้องการใช้งานในรูปแบบเครือข่ายเฉพาะ (Private Network) เพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของข้อมูล เพิ่มความเร็ว ลดความหน่วง (Latency) เพื่อการรองรับการทำงาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบ"

โดยการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ระหว่าง AIS และออมรอน (OMRON) จะเปิดขีดความสามารถใหม่ที่ยั่งยืนให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม บนโครงสร้างพื้นฐาน 5G และดิจิทัลเทคโนโลยีที่ช่วยปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิต อาทิ ความสามารถในการผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายและยืดหยุ่นต่อข้อกำหนด (Flexible Man.cturing) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าจำนวนน้อย (Small Lot Size Production) การสอบย้อนกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม (Traceability) และระบบซ่อมบำรุงเชิงรุก (Predictive Maintenance) ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ด้วยโซลูชันบนโครงสร้างพื้นฐาน 5G Private Network ที่เพิ่มความปลอดภัย ภายใต้การลงทุนที่เหมาะสม สามารถควบคุมต้นทุนได้ในขณะที่ยังคงความสามารถในการผลิต และการแข่งขัน หรือแม้แต่ในเรื่องของการจัดการวัตถุดิบให้ถูกต้อง รวมถึงการนำเทคโนโลยีควบคุมระยะไกลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ เพิ่มความแม่นยำ ลดเวลาสิ้นเปลืองการใช้แรงงานทำให้บุคลากรสามารถใช้เวลากับการทำงานด้านอื่นได้มากขึ้น ซึ่งทั้งหมดคือภาพของภาคการผลิตแบบอัจฉริยะ หรือ Smart Man.cturing ทั้งนี้จึงเกิดเป็นโซลูชั่นต้นแบบที่จะสร้างประโยชน์จากการนำศักยภาพของทั้งสองมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ

• หุ่นยนต์รถลำเลียงอัจฉริยะ Autonomous Mobile Robot (AMR) อาศัยแผนที่ในการกำหนดเส้นทาง โดยไม่ต้องตีเส้น ซึ่งการสร้างแผนที่จะให้การทำงานรวดเร็ว ง่ายดาย ที่ตัวอุปกรณ์จะมีเซนเซอร์สแกนพื้นที่โดยรอบบริเวณแล้วนำข้อมูลที่ได้มาสร้างเป็นแผนที่ในการลำเลียงสิ่งของ บนเครือข่าย 5G Private Network 

• สายการผลิตแบบยืดหยุ่น Layout-free Production Line การนำเสนอโซลูชั่นที่สามารถสร้างสายการผลิตแบบยืดหยุ่น โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการการผลิตและสภาพแวดล้อมของพื้นที่รวมถึงข้อจำกัดอื่นๆ รองรับความต้องการของการจัดสายงานการผลิตที่หลากหลาย สามารถออกแบบให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตามรูปแบบ การใช้งาน

• การตรวจจับด้วย Sensors ด้วยอุปกรณ์หรือกล้องความละเอียดสูง เก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เครื่องจักรในพื้นที่โรงงาน และนำไปประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อใช้คาดการณ์ความผิดปกติ เป็นข้อมูลในการตรวจสอบและแก้ไขก่อนเกิดปัญหาต่างๆ ได้ทันที   

นางสาวศิริวรรณ คูอัมพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออมรอน อีเลคทรอนิคส์ จำกัด กล่าวเสริมว่า "ออมรอน ในฐานะผู้นำด้านให้บริการด้านเทคโนโลยีด้านการผลิตทั้งสินค้า บริการ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ให้กับภาคอุตสาหกรรมมาอย่างยาวนาน ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าทั้ง ยานยนต์,ผู้ผลิตชิ้นส่วน กลุ่มอีเลคทรอนิค์-เครื่องใช้ไฟฟ้า, กลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วน-เซมิคอนดัคเตอร์ ตลอดจน อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องอุปโภค และยา ความร่วมมือกับ AIS ในครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งสำคัญของ ออมรอน ที่จะเดินหน้ายกระดับเทคโนโลยีโซลูชั่น ด้วยการเชื่อมต่อข้อมูลที่เร็วและเสถียรภายใต้การทำงานของ5G ซึ่งข้อมูลจะถูกเชื่อมโยงอย่างกว้างขวางไม่ว่าจะเป็นแง่พื้นที่หรือความครอบคลุมของสัญญาน ความหลากหลายของอุปกรณ์ตั้งแต่เซนเซอร์จนถึงหุ่นยนต์ ทุกหน่วยการผลิตจะสามารถเชื่อมโยงกับระบบการจัดการได้ด้วยความปลอดภัยภายใต้ 5G Private Network  เพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานแบบ Industry 4.0ซึ่งถือว่าเป็นแนวทางหลักของการขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งเรามีความคาดหวังที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเทคโนโลยีในภาคส่วนของอุตสาหกรรมมีความแข็งแกร่งผ่านการใช้ศักยภาพของทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะในส่วนของการผลิตที่เราจะเข้าไปเพิ่มขีดความสามารถยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนำพาลูกค้าก้าวไปสู่อนาคตด้วยเทคโนโลยี 5G"
#2937



นางสาวสภัทร์พร ธรรมาภรณ์พิลาศ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ยังคงทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้มีหนังสือขอความร่วมมือผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) เข้าร่วมมาตรการเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบให้กับลูกหนี้ตามความเหมาะสมเพื่อร่วมกันฟันฝ่าวิกฤตินี้ไปด้วยกัน

โดย ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 ภาพรวมการประกอบธุรกิจสินเชื่อ "พิโกไฟแนนซ์" มีจำนวนผู้ที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ  "พิโกไฟแนนซ์" และเปิดดำเนินการแล้วสะสมสุทธิ 985 ราย ใน 75 จังหวัด ได้แก่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (579 ราย)
ภาคกลาง (161 ราย)
ภาคเหนือ (126 ราย)
ภาคตะวันออก (67 ราย)
ภาคใต้ (52 ราย)
ทั้งนี้ นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559 ที่ "กระทรวงการคลัง" ได้เปิดให้มีการประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์จนถึงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 ได้มีการอนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยไปแล้วจำนวนทั้งสิ้น 553,974 บัญชี รวมเป็นวงเงิน 12,698.10 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 22,921.83 บาทต่อบัญชี ซึ่งมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

เผยอดีตอันแสนเลวร้ายของผู้หญิงที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศไทย...
BKK Delivery
ภารโรงได้เงินถึง 45 ล้าน เพราะเจอสิ่งนี้ในโถส้วม...
BKK Delivery
อื้อฉาว!หญิงวัย 58 มีใบหน้าเหมือนเด็ก นี่คือสิ่งที่เธอทำตอนกลางคืน
Women'sbeauty

(1) สินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกไฟแนนซ์สะสมสุทธิทั้งสิ้น885 ราย ใน 74 จังหวัดและมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 847 รายใน 74 จังหวัดโดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่

นครราชสีมา (79 ราย)
กรุงเทพมหานคร (67 ราย)
ขอนแก่น (51 ราย)
(2) สินเชื่อประเภทพิโกพลัส ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 มีจำนวนผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อประเภทพิโกพลัสสะสมสุทธิทั้งสิ้น 156 รายใน 49 จังหวัดและมีจำนวนผู้เปิดดำเนินการแล้ว 138 ราย ใน 45 จังหวัด โดยจังหวัดที่มีผู้เปิดดำเนินการมากที่สุด3 อันดับแรก ได้แก่


นครราชสีมา (20 ราย)
อุดรธานี (9 ราย)
อุบลราชธานี และกรุงเทพมหานคร (จังหวัดละ 8 ราย)
(3) ภาพรวมสถานะสินเชื่อคงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2564 มียอดสินเชื่อคงค้างจำนวนทั้งสิ้น 198,217 บัญชี คิดเป็นจำนวนเงิน 4,233.97 ล้านบาท โดยมีสินเชื่อค้างชำระ 1 - 3 เดือน สะสมรวมทั้งสิ้น 27,432 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 627.87 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.83 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม และมีสินเชื่อค้างชำระที่เกินกว่า 3 เดือน (NPL) สะสมรวมจำนวน 32,440 บัญชี หรือคิดเป็นจำนวนเงินสะสมรวม 748.27 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.67 ของยอดสินเชื่อคงค้างสะสม


นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ยังคงดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาคีแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมายซึ่งนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 จนถึงสิ้นเดือนมิถุนายน 2564 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการจับกุมผู้ปล่อยเงินกู้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมายจำนวนสะสม 9,596ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2564 จำนวน 244 ราย

ทั้งนี้ ประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารและรายชื่อผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่เปิดดำเนินการได้ทางเว็บไซต์ www.1359.go.th และสามารถร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับเงินกู้นอกระบบที่ผิดกฎหมายได้โดยตรงที่


• สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน1599
• ศูนย์ดำรงธรรม สายด่วน 1567
• ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สายด่วน 1359
• ศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม กระทรวงยุติธรรม (ศนธ.ยธ.) โทร.025753344
#2938



บมจ. เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) หุ้นไอพีโออนาคตไกลขายเกลี้ยง 150 ล้านหุ้น มีแผนเข้าเทรด SET วันที่ 2 ส.ค.นี้ ชูจุดเด่น Intelligent Transportation Systems บิ๊กบอส "มารุต ศิริโก" มั่นใจอนาคตยังไปได้อีกไกล ธุรกิจอยู่ในเมกะเทรนด์โครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชน และสมาร์ทซิตี้ เผย AMR มีประสบการณ์ยาวนานกว่า 20 ปี เป็นบริษัทคนไทยที่มีศักยภาพและมาตรฐานการทำงานเทียบเท่าต่างชาติ ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้อย่างลงตัว มีโอกาสคว้างานใหม่เพียบ

 

นายดิถดนัย สังขะรมย์ ผู้อำนวยการฝ่ายวาณิชธนกิจ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMR) เปิดเผยว่า การจองซื้อหุ้นไอพีโอของ AMR  จำนวน 150 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 0.50 บาทต่อหุ้น ในราคาหุ้นละ 6.90 บาท ระหว่างวันที่ 21 – 23 ก.ค.2564 ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างคึกคัก มีนักลงทุนทั่วไปและนักลงทุนสถาบัน จองซื้อเข้ามาเกินจำนวนเสนอขาย เนื่องจากมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานของ AMR ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมการวางระบบเทคโนโลยีโซลูชั่นแบบครบวงจร ธุรกิจอยู่ในเมกะเทรนด์ จากการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนของประเทศ ทั้งในส่วนของภาครัฐและเอกชน เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจ ทำให้มีโอกาสได้งานใหม่เพิ่มเติมอีกเป็นจำนวนมาก 

 

ทั้งนี้ หุ้น AMR ได้รับความสนใจจากนักลงทุนสถาบันและรายย่อยอย่างมาก  เนื่องจากการกำหนดราคาหุ้นอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) เท่ากับ 15.33 เท่า (Post-IPO Dilution) ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานของบริษัทฯ และมีส่วนลดให้กับนักลงทุน  มีแผนเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ในวันที่ 2 ส.ค.2564 ในหมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

"AMR เป็นหุ้นไอทีโซลูชั่น มีฐานะทางการเงินที่มีความแข็งแกร่ง มีจุดเด่นในเรื่อง Intelligent Transportation Systems เป็นบริษัทฯ ที่มีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เพราะธุรกิจที่เติบโตตามเมกะเทรนด์ ซึ่งประเทศไทยยังต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชน ไอที และพลังงาน อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะคว้างานใหม่ๆ เพิ่มเติมได้อีกมากในอนาคต อีกทั้งจากวิสัยทัศน์ของทีมผู้บริหาร ที่เตรียมพร้อมขยายการลงทุน เข้าสู่ธุรกิจการให้บริการ Feeder Line และ Smart City เพิ่มสัดส่วนรายได้ประจำ ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน" นายดิถดนัย กล่าวในที่สุด

 

นายมารุต ศิริโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเอ็มอาร์ เอเซีย จำกัด (มหาชน) (AMR) กล่าวว่า เป้าหมายการระดมทุนผ่านการขายหุ้นไอพีโอในครั้งนี้ บริษัทฯ เตรียมนำเงินที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจด้านคมนาคมขนส่ง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Feeder Line การลงทุนธุรกิจ EV Charging Station และ Smart City ในสัดส่วนร้อยละ 85 รวมถึงนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ในสัดส่วนร้อยละ 10 และใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ในสัดส่วนร้อยละ 5

 

"ผมมั่นใจว่าธุรกิจของ AMR ในช่วง 3-5 ปีข้างหน้า จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามการขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบขนส่งไม่ว่าจะเป็น รถไฟฟ้าทางคู่ รถไฟตามต่างจังหวัด รถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ หรือการขยายการลงทุนในหัวเมืองหลัก ทำให้ AMR มีโอกาสได้งานใหม่เพิ่มเติม"

 

เขากล่าวอีกว่า จากประสบการณ์การดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 20 ปี ภายใต้จุดแข็งเป็นผู้ให้บริการไอทีโซลูชั่นครบวงจร และป็นบริษัทฯ คนไทยที่มีศักยภาพและมาตรฐานการทำงานเทียบเท่าต่างชาติ สามารถออกแบบและวางระบบ ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้อย่างลงตัว อีกทั้งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ยิ่งทำให้เห็นว่า AMR สามารถเข้าไปแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ทันที ขณะที่การให้บริการของคู่แข่งที่เป็นต่างชาติ อาจมีข้อจำกัดในช่วงรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์ประเทศ 

 

"หลังจากที่ได้รับเงินจากการระดมทุนในครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯ มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับประเทศและนานาชาติ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันประมูลงานขนาดใหญ่เพิ่มมากขึ้น  โดยเป้าหมายหลักของการใช้เงินราว 85% จะใช้เพื่อลงทุนและสร้างผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งคณะผู้บริหารและพนักงานของ AMR ทุกคนมีความมุ่งมั่นที่จะสร้างผลงานให้โดดเด่นและยั่งยืนในอนาคต และหวังว่า AMR จะเป็นหุ้นปัจจัยพื้นฐานดีและสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุน" นายมารุต กล่าวในที่สุด
#2939




นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบในหลักการมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษา ภาครัฐและเอกชน ดังนี้

1. มาตรการให้ความช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ) กรอบวงเงิน 23,000 ล้านบาท สำหรับนักเรียนในระบบการศึกษาไทย ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2564 ดังนี้


-สนับสนุนค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครอง 2,000 บาท/นักเรียน 1 คน


-จัดสรรค่าใช้จ่ายให้แก่สถานศึกษาเพื่อช่วยจัดการเรียนรู้


-ลดหรือตรึงค่าใช้จ่ายในโรงเรียนเอกชนให้เท่ากับปีการศึกษา 63



2. มาตรการการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ของ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวตกรรม (อว) กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท


กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิต/นักศึกษาชาวไทย ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน ระยะเวลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
แนวทางการดำเนินการ


-สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จะได้รับส่วนลดเป็นลักษณะร่วมจ่ายระหว่างรัฐและสถาบันอุดมศึกษาในอัตรา 6:4 โดยค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษาส่วนที่ไม่เกิน 50,000 บาท ลดร้อยละ 50 / 50,001 - 100,000 บาท ลดร้อยละ 30 และเกิน 100,000 บาท ลดร้อยละ 10 โดยส่วนลดสูงสุดรวมกันไม่เกินร้อยละ 50


-สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน ค่าเล่าเรียน/ค่าธรรมเนียมการศึกษา รัฐสนับสนุนในอัตรา 5,000 บาท/คน


นอกจากนี้ กระทรวง อว. ยังขอให้พิจารณาเพิ่มเติม ทั้งขยายเวลาผ่อนชำระ จัดหาอุปกรณ์/โปรแกรมสำหรับยืมเรียนออนไลน์ รวมทั้งลดค่าหอพักด้วย

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า ศธ. และ อว. จะได้เร่งจัดทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนแหล่งเงิน ตามขั้นตอนของ พ.ร.ก. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รวมทั้ง จะมีการกำหนดกลไกการตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือและการจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือผ่านระบบบัญชีธนาคาร พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจถึงหลักการและแนวทางการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชนต่อไป
#2940




อาเซียนนัดประชุมต้น ส.ค.นี้ ติดตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 พร้อมเดินหน้าเพิ่มบัญชีสินค้าจำเป็นที่ห้ามจำกัดส่งออก นอกเหนือจากยา และเวชภัณฑ์ ลุยเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างสภาพแวดล้อมด้านดิจิทัล และนัดคู่เจรจา 13 ประเทศ หารือเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ติดตามผลอัปเกรดเอฟทีเอ การทำเอฟทีเอกับแคนาดา

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อาเซียนได้กำหนดจัดประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 3/52 ในวันที่ 2-4 ส.ค. 2564 และการประชุมกับประเทศนอกภูมิภาค 13 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง สหรัฐฯ แคนาดา อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย สหภาพยุโรป สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 5, 11 และ 16 ส.ค. 2564 ผ่านระบบประชุมทางไกล เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEM ครั้งที่ 53 ในเดือน ก.ย. 2564

ทั้งนี้ การประชุม SEOM จะมีการติดตามการดำเนินงานสำคัญของอาเซียน โดยเฉพาะการเร่งฟื้นเศรษฐกิจภูมิภาคจากการระบาดของโควิด-19 การอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อรักษาและส่งเสริมความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน โดยพิจารณาขยายบัญชีสินค้าจำเป็นที่อาเซียนจะไม่จำกัดการส่งออกในช่วงโควิดเพิ่มเติมจากยา และเวชภัณฑ์ เช่น อาหาร รวมถึงการเพิ่มบทบาทอาเซียนเชิงรุกในการพัฒนาภูมิภาคให้ตอบรับกับแนวโน้มของโลก ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การพัฒนาสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาว เป็นต้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมจะติดตามเร่งรัดการดำเนินงานตามแผนงานด้านเศรษฐกิจที่บรูไนฯ ในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนดำเนินการให้สำเร็จในปี 2564 ภายใต้แนวคิด "We care, we prepare, we prosper" ภายใต้ยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฟื้นฟู ด้านการเป็นดิจิทัล และด้านความยั่งยืน รวม 13 ประเด็น เช่น การจัดทำเครื่องมือในการประเมินมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศสมาชิกอาเซียน การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวหลังการระบาดใหญ่ของโควิด-19 และการจัดทำกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นต้น

สำหรับการประชุมอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค 13 ประเทศ จะเน้นการหารือเพื่อเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และมีประเด็นที่ต้องติดตาม เช่น การทบทวนความตกลงการค้าสินค้าภายใต้กรอบความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย การเปิดเสรีสินค้าเพิ่มเติมภายใต้พิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการเตรียมการเสนอรัฐมนตรีเศรษฐกิจพิจารณาความเป็นไปได้การเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา เป็นต้น

ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนในปี 2563 มีมูลค่า 94,623.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียน 55,454.28 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน 39,169.54 ล้านเหรียญสหรัฐ เกินดุลการค้า 16,284.74 ล้านเหรียญสหรัฐ และในช่วง 5 เดือนปี 2564 (ม.ค.-พ.ค.) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 45,267.41 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 10.44% โดยไทยส่งออกไปอาเซียน 26,224.69 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน 19,042.71 ล้านเหรียญสหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์