• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

สธ.ไฟเขียวฉีดวัคซีนสูตรไขว้ “แอสตร้าเซนเนก้า-ไฟเซอร์”

Started by Beer625, September 04, 2021, 07:42:54 AM

Previous topic - Next topic

Beer625



วันนี้ (3 ก.ย.) ที่ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ของไทย มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อลดลง จำนวนผู้ป่วยรักษาหายสูงกว่ารายใหม่ต่อเนื่อง วันนี้หายป่วย 18,262 ราย รายใหม่ 14,653 ราย เสียชีวิต 271 ราย ส่วนวัคซีนทั้งแอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค และไฟเซอร์ วานนี้ ฉีดได้เพิ่มขึ้น 865,074 โดส รวมสะสม 34,292,537 โดส เป็นผู้ได้รับเข็ม 1 รวม 24,542,140 ราย คิดเป็นร้อยละ 34.1 ได้รับครบ 2 เข็ม 9,152,799 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.7 และเข็มกระตุ้น 597,598 ราย

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์เดลตา ทำให้วัคซีนทุกตัวที่ใช้ มีประสิทธิภาพลดลง จึงมีการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีนและกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับสายพันธุ์เดลตา โดยการวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ผลสอดคล้องกันว่า การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคตามด้วยแอสตร้าเซนเนก้า ทำให้ภูมิคุ้มกันสูงในเวลารวดเร็ว ต่อสู้กับสายพันธุ์เดลตาได้ ซึ่งหลายประเทศ เช่น เยอรมนี และอิตาลี ก็มีการฉีดสูตรไขว้แอสตร้าเซนเนก้า ตามด้วยไฟเซอร์

สำหรับการฉีดไขว้ในประเทศไทยนั้น วันนี้ ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 หรือ ศบค.สธ. ได้เห็นชอบการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ คือ 1. วัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนก้า ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ เป็นสูตรหลักของประเทศไทย และเพิ่มสูตรไขว้แอสตร้าเซนเนก้าตามด้วยไฟเซอร์ ระยะห่าง 4-12 สัปดาห์ ซึ่งสูตรนี้จะใช้แพร่หลายในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป เนื่องจากจะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ จำนวนมาก 2. การฉีดกระตุ้นในผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ด้วยแอสตร้าเซนเนก้า และ 3. ผู้ที่หายป่วยโควิดในช่วง 1-3 เดือน ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือฉีดวัคซีนยังไม่ครบ 2 เข็ม หรือครบ 2 เข็ม แต่ไม่ถึง 14 วันแล้วติดเชื้อ ให้ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยแอสตร้าเซนเนก้า หรือไฟเซอร์ 1 เข็ม

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ให้ประชาชนในประเทศไทยตามความสมัครใจตามนโยบายรัฐบาลตั้งแต่ปี 2563 ได้ติดต่อกับบริษัทต่างๆ เพื่อสั่งจองซื้อวัคซีน ขณะนั้นยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่ผลิตได้สำเร็จ การจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีการลงนามสัญญาจองซื้อตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีมีวัคซีนออกมา จึงไม่ได้กำหนดเวลาส่งมอบชัดเจน แต่มีการหารือมาเป็นระยะ และจากการที่โรงงานผลิตวัคซีนอยู่ในประเทศไทย เมื่อผลิตสำเร็จจึงมีการส่งมอบให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและได้รับอย่างต่อเนื่องตามที่ตกลงกัน โดยเดือนกันยายนนี้ส่งมอบอย่างน้อย 7.3 ล้านโดส ตุลาคม 10 ล้านโดส และพฤศจิกายน-ธันวาคมเดือนละ 13 ล้านโดส

ส่วนวัคซีนไฟเซอร์นั้น กรมควบคุมโรค และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีการติดต่อประสานงานพูดคุยกับตัวแทนของทางไฟเซอร์เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จนมีการลงนามในสัญญา 2 ฉบับ รวมวัคซีน 30 ล้านโดส ส่งมอบล็อตแรกปลายกันยายน 2 ล้านโดส ตุลาคม ประมาณ 8 ล้านโดส และพฤศจิกายน-ธันวาคม เดือนละ 10 ล้านโดส จนครบ และก่อนหน้านี้ ได้รับบริจาค 1.5 ล้านโดสจากสหรัฐอเมริกาได้กระจายให้กลุ่มเป้าหมายแล้ว ซึ่งทำให้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์จะเป็นวัคซีนที่มีมากที่สุดใน 3-4 เดือนข้างหน้า ทำให้เกิดความมั่นคงของวัคซีนที่มีเพียงพอและคนไทยเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง