• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

ธปท.ระบุตลาดการเงินไทยพร้อมทำธุรกรรมอ้างอิงอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR

Started by Jenny937, August 28, 2021, 01:30:27 AM

Previous topic - Next topic

Jenny937



นางอลิศรา มหาสันทนะ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ตามที่ ธปท. และคณะทำงานเตรียมความพร้อมของธนาคารพาณิชย์เพื่อรองรับการยุติการใช้ London Interbank Offered Rate (LIBOR) ได้ร่วมมือกันพัฒนาอัตราดอกเบี้ย Thai Overnight Repurchase Rate (THOR) จากธุรกรรมจริงที่สามารถสะท้อนภาวะตลาดการเงินและมีความโปร่งใส เพื่อใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในธุรกรรมทางการเงินทดแทนอัตราดอกเบี้ย Thai Baht Interest Rate Fixing (THBFIX) ที่จะถูกยุติการเผยแพร่หลังจากวันที่ 30 มิถุนายน 2566 พร้อมกับอัตราดอกเบี้ย LIBOR สกุลดอลลาร์สหรัฐฯ (USD LIBOR) นั้น

หลังจากที่ได้เริ่มเผยแพร่อัตราดอกเบี้ย THOR เมื่อเดือนเมษายน 2563 มาเป็นเวลากว่า 1 ปี
ตลาดการเงินไทยปัจจุบันถือว่ามีความพร้อมใช้อัตราดอกเบี้ย THOR เป็นอัตราอ้างอิงในสัญญาทางการเงินมากขึ้นในทุกด้าน ทั้งในแง่ของการมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย เป็นทางเลือกสำหรับการระดมทุนและการลงทุน เช่น การให้สินเชื่อธุรกิจระยะสั้นและระยะยาว การออกหุ้นกู้และหุ้นกู้อนุพันธ์ รวมถึงการมีตลาดอนุพันธ์ Overnight Indexed Swap (OIS) เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงและต้นทุนได้อีกด้วย สำหรับการออกพันธบัตร ธปท. ประเภทอัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย THOR ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากสถาบันการเงินและนักลงทุนสถาบันค่อนข้างมาก ขณะที่สภาพคล่องของตลาดมีพัฒนาการดีขึ้นเป็นลำดับ สะท้อนจาก bid/ask spread ของตลาด OIS ที่แคบลงโดยเฉพาะในอายุที่ไม่เกิน 5 ปี รวมทั้ง เริ่มมีการกำหนดราคา และทำธุรกรรมในระยะที่ยาวขึ้นมากถึง 20 ปี อีกด้วย

ธปท. ขอขอบคุณสถาบันการเงินและผู้ร่วมตลาดทุกฝ่ายที่ให้ความร่วมมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และทำธุรกรรมทางการเงินที่อ้างอิงอัตราดอกเบี้ย THOR ในช่วงที่ผ่านมา และขอแนะนำให้ผู้ร่วมตลาดทุกฝ่ายเร่งสร้างความคุ้นเคยและเริ่มใช้อัตราดอกเบี้ย THOR เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง เพื่อให้มีความพร้อมรองรับการยุติการเผยแพร่อัตราดอกเบี้ย THBFIX ภายในระยะเวลาอีกไม่ถึง 2 ปีข้างหน้านี้ เพราะหาก
ผู้ร่วมตลาดปรับเปลี่ยนมาใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง THOR ได้เร็ว จะทำให้ตลาดมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนผ่านอีกทางหนึ่ง และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของตลาดการเงินไทยในอนาคต