• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บ.
 

poker online

ปูนปั้น

บทความ โรคแคงเกอร์ในมะนาว และวิธีแก้ไข

Started by dsmol19, July 04, 2021, 09:30:14 AM

Previous topic - Next topic

dsmol19

ปุ๋ยยา

สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas campestris pv.citri ( Hasse )Dye. ลักษณะอาการ ใบส้มแสดงอาการจุดนูนสีน้ำตาลเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยวงเหลือง พบทั้งสองด้านของใบ จุดเกิดกระจัดกระจายหรืออาจรวมกันทำให้เป็นแผลกว้าง เนื้อเยื่อกลางจุดนูนสีน้ำตาลจะหยาย และมักบุ๋มตรงกลาง อาการที่ผลเห็นจุดสีน้ำตาล เนื้อเยื่อกลางจุดมักแตกเป็นแอ่ง จุดแคงเกอร์บนผลที่เป็นโรคมากจะเชื่อมตัวกันเป็นแผลกว้างบนผล เชื้อแบคทีเรียเข้าทำลายกิ่งและลำต้น ทำให้เป็นจุดแตกนูนสีน้ำตาลบนกิ่ง ต้นส้มที่เป็นโรคแคงเกอร์มากผลผลิตจะลดลง ส้มที่เป็นโรครุนแรงได้แก่ มะนาว มะกรูด ส้มเขียวหวาน และส้มโอ การแพร่ระบาด เชื้อแบคทีเรียกระเซ็นทางน้ำ และลมฝนจากเนื้อเยื่อที่เป็นโรคไปยังส่วนอื่นของลำต้น สภาพที่มีฝนตกชุกทำให้โรคระบาดมาก วิธีการให้น้ำโดยการฉีดเข้าทางทรงพุ่มก็จะแพร่โรคให้ระบาดมาก แหล่งแพร่ระบาดคือ ส่วนของต้นที่เป็นโรคที่ตกค้างภายในสวนและกิ่งพันธุ์ที่เป็นโรค การระบาดของหนอนชอนใบจะช่วยแพร่โรคบนใบด้วย การป้องกันกำจัด ใช้กิ่งพันธุ์ที่ปลอดโรค ตัดแต่งกิ่ง ลำต้น ใบ ผล ที่เป็นโรคเผาทำลายและฉีดพ่นป้องกันด้วยสารชีวภาพกำจัดโรคพืช โคโค-แม็กซ์ อัตรา 5 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร แช่น้ำทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมงแล้วนำมาฉีดพ่นในตอนเย็น ทุก 3-5 วัน *กรณีระบาด หรือ 7-15 วันครั้ง *กรณีป้องกัน ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด


โรคใบด่างจุดวงแหวน
สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อไวรัส Papaya ringspot virus (PRV)

ลักษณะอาการของโรค

เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ

ระยะต้นกล้า

เชื้อ เข้าทำลายจะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอ เรียวเล็กเหมือนหางหนู ถ้าเป็นรุนแรงใบ จะเหลือแค่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโต ในต้นที่โตแล้ว ใบมีอาการด่าง บิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีเขียวเข้ม ดูช้ำตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย

ผล

มะละกอ อาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล เนื้อบริเวณที่เป็นจุดวงแหวนมักจะเป็นไตแข็ง มีรสขม ถ้าเป็น รุนแรงแผลเหล่านี้จะมีลักษณะคล้ายสะเก็ด หรือหูดนูนขึ้นมา บนผิวของผลจะขรุขระ ต้นที่เป็นโรคในระยะออกดอก จะทำให้ติดผลไม่ดี และผลที่ได้จะมีจุดวงแหวนเห็นได้ชัด นอกจากนี้ดอกในรุ่นต่อ ๆ ไปก็จะร่วง ไม่ติดผล

การแพร่ระบาดของโรค โรค นี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ เช่น เพลี้ยอ่อนถั่ว เพลี้ยอ่อนยาสูบ และโดยเฉพาะเพลี้ยอ่อนฝ้ายที่พาหะสำคัญที่แพร่ระบาดของโรคนี้ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นเป็นโรค เชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง และเมื่อบินหรือย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมะละกอที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก โดยดูดจากต้นเป็นโรคประมาณ 10-30 วินาที ก็สามารถถ่ายโรคไปยังต้นอื่นได้ ภายหลังมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรคให้เห็น พืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น แตงป่า ฟักแฟง บวบ แตงต่าง ๆ หรือ ตำลึง
การป้องกันและกำจัด

เป็นการยากมากที่จะหาวิธีป้องกันหรือกำจัดโรคนี้โดยตรงได้

1.สิ่งที่ต้องปฏิบัติคือ ต้องทำลายต้นที่ติดเชื้อโรคนี้ ที่แสดงอาการอย่างแน่ชัดก่อน โดยการเผาหรือฝังในดินให้ลึก

2.ปลูกมะละกอพันธุ์ที่ทนทานต่อโรคนี้ เช่น ปากช่อง 1, แขกดำ,ท่าพระ

3.บริเวณปลูกมะละกอควรกำจัดวัชพืชให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของพวกเพลี้ยอ่อน และควรปลูกห่างจากพืชตระกูลแตง

4.การ ปลูกพืชอาหารเพลี้ยอ่อน เช่น ข้าวโพด ถั่ว กล้วย รอบแปลงปลูกมะละกอ โดยเฉพาะด้านเหนือลม เพื่อเป็นกับดักให้เพลี้ยอ่อนเข้าดูดกิน และสูญเสียการถ่ายเชื้อไวรัสเข้าสู่มะละกอ

5.ควรกำจัดเพลี๊ย พาหะของโรคได้ด้วย ลาเซียน่า ในอัตรา 3 ช้อนแกง/น้ำ 20 ลิตร เติมน้ำยาจับใบ 10-20 ซีซี แล้วนำไปฉีดพ่นในตอนเย็น จะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้